วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา หรือ วิศาขบูชา เป็น "วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล" ของชาวพุทธทุกนิกายทั่วโลก, วันหยุดราชการ ในหลายประเทศ และ วันสำคัญของโลก ตามมติเอกฉันท์ของที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ เพราะเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา 3 เหตุการณ์ด้วยกัน คือ เป็นวันคล้ายวันประสูติ, ตรัสรู้ และปรินิพพาน แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยทั้งสามเหตุการณ์นั้นได้เกิดตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือในวันเพ็ญแห่ง เดือนวิสาขมาส (ต่างปีกัน) ชาวพุทธจึงถือว่าเป็นวันที่รวมเกิดเหตุการณ์อัศจรรย์ยิ่ง จึงเรียกการบูชาในวันนี้ว่า "วิสาขบูชา" ย่อมาจาก"วิสาขปูรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" อันเป็นเดือนที่สองตามปฏิทินของอินเดีย ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายน โดยในประเทศไทย ถ้าในปีใดมีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 7 หลัง ตามปฏิทินจันทรคติของ ไทย ซึ่งประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทอื่นที่ไม่ได้ถือคติตามปฏิทิน จันทรคติของไทย จะจัดพิธีวิสาขบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 แม้ในปีนั้นจะมีเดือน 8 สองหนตามปฏิทินจันทรคติไทยก็ตาม และในกลุ่มชาวพุทธมหายานบาง นิกาย ที่นับถือว่าเหตุการณ์ทั้ง 3 นั้น เกิดในวันต่างกันไป จะมีการจัดพิธีวิสาขบูชาต่างวันกันตามความเชื่อในนิกายของตน ๆ ซึ่งจะไม่ตรงกับวันวิสาขบูชาตามปฏิทินของชาวพุทธเถรวาท

วันวิสาขบูชานั้น ได้รับการยกย่องจากพุทธศาสนิกชนทั่วโลกให้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล เนื่องจากเป็นวันที่บังเกิดเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าและจุดเริ่มต้นของศาสนาพุทธ ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดได้เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน ณ ดินแดนที่เรียกว่าชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล โดยเหตุการณ์แรก เมื่อ 80 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ" ณ ใต้ร่มสาละพฤกษ์ ในพระราชอุทยานลุมพินีวัน (อยู่ในเขตประเทศเนปาลในปัจจุบัน) และเหตุการณ์ต่อมา เมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันที่เจ้าชายสิทธัตถะได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ใต้ร่มโพธิ์พฤกษ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (อยู่ในเขตประเทศอินเดียใน ปัจจุบัน) และเหตุการณ์สุดท้าย เมื่อ 1 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันเสด็จดับขันธปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ณ ใต้ร่มสาละพฤกษ์ ในสาลวโนทยาน พระราชอุทยานของเจ้ามัลละ เมืองกุสินารา (อยู่ในเขตประเทศอินเดียใน ปัจจุบัน) โดยเหตุการณ์ทั้งหมดล้วนเกิดตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 หรือเดือนวิสาขะนี้ทั้งสิ้น ชาวพุทธจึงนับถือว่าวันเพ็ญเดือน 6 นี้ เป็นวันที่รวมวันคล้ายวันเกิดเหตุการณ์สำคัญ ๆ ของพระพุทธเจ้าไว้มากที่สุด และได้นิยมประกอบพิธีบำเพ็ญบุญกุศลและประกอบพิธีพุทธบูชาต่าง ๆ เพื่อเป็นการถวายสักการะรำลึกถึงแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสืบมาจน ปัจจุบัน

วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การปกครองสมัยกรุงศรีอยุทยา


ลักษณะการปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น


เมื่อสิ้นสุดสมัยสุโขทัย การปกครองของประเทศก็เปลี่ยนไปจากการปกครองพ่อปกครองลูก มาเป็นระบบสมบูรณาญาสิทธิราช ซึ่งไทยได้รับอิทธิพลมาจากขอม และขอมก็ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียอีกต่อหนึ่ง กษัตริย์ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราช นั้น ทรงมีพระราชอำนาจเด็ดขาดและเต็มที่ เมื่อมีพระบรมราชโองการใดๆ ใครจะวิจารณ์หรือโต้แย้งไม่ได้ เพราะฐานะของกษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเปรียบเสมือนสมมติเทพ ไม่ใช่อยู่ในฐานะของพ่อดังเช่นสมัยสุโขทัย การปกครองในระบบสมบูรณาญาสิทธิราช ถือว่า กษัตริย์ทรงเป็นเจ้าของทุกสิ่งทุกอย่าง ในพระราชอาณาจักร ไม่ว่าจะเป็นแผ่นดิน หรือแม้กระทั่งชีวิต พระราชอำนาจของกษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้นมีมากมาย แต่ก็มีขอบเขตภายใต้หลักธรรมของพระพุทธศาสนา

หัวข้อ

ระบบการปกรองของกรุงศรีอยุธยาตอนต้น


ระบบการปกครองของกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ได้รับแบบอย่างมาจากสุโขทัย และจากขอมนำมาปรับปรุงใช้ ลักษณะการปกครองสมัยนั้นแบ่งเป็น
1.
การปกครองส่วนกลาง คือการปกครองภายในราชธานี ซึ่งได้รับอิทธิพลจากขอมแบบแผน
ที่ได้รับมาเรียกว่า จตุสดมภ์ซึ่งประกอบด้วย
1.1
เมืองหรือเวียง มีขุนเมือง เป็นผู้บังคับบัญชา มีหน้าที่ปกครองดูแลท้องที่และราษฎร ดูแลความสงบเรียบร้อย ปราบปรามโจรผู้ร้าย และลงโทษผู้กระทำความผิด
1.2
วัง มีขุนวัง เป็นผู้บังคับบัญชา มีหน้าที่เกี่ยวกับงานในราชสำนักและพระราชพิธีต่างๆ พิจารณาพิพากษาคดีต่าง ของราษฎรด้วย
1.3
คลัง มีขุนคลังเป็นผู้บังคับบัญชา มีหน้าที่เก็บและรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดินอันได้จากอากร นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เกี่ยวกับการต่างประเทศอีกด้วย
1.4
นา มีขุนนา เป็นผู้บังคับบัญชา มีหน้าที่ดูแลการทำไร่นา รักษาเสบียงอาหารสำหรับทหาร ออกสิทธิที่นา และมีหน้าที่เก็บหางข้าวขึ้นฉางหลวง คือใครทำนาได้ก็ต้องแลกเอาเข้ามาส่งฉางหลวง

2.
การปกครองส่วนภูมิภาค คือการปกครองพระราชอาณาเขต กรุงศรีอยุธยาได้แบบแผนมาจากครั้งกรุงสุโขทัย โดยการแบ่งหัวเมืองออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่


2.1 หัวเมืองชั้นใน มีกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี มีเมืองป้อมปราการด่านชั้นในสำหรับป้องกันราชธานีทั้ง 4 ทิศ เรียกว่า เมืองลูกหลวง ซึ่งอยู่ห่างจากราชธานี เป็นระยะทางเดิน 2 วัน
ทิศเหนือ คือ เมืองลพบุรี
ทิศใต้ คือ เมืองพระประแดง
ทิศตะวันออก คือ เมืองนครนายก
ทิศตะวันตก คือ เมืองสุพรรณบุรี
นอกจากนั้น ยังมีหัวเมืองชั้นในตามรายทางที่อยู่ใกล้ๆ กับเมืองลูกหลวง เช่น เมืองปราจีน เมืองพระรถ(เมืองพนัสนิคม) เมืองชลบุรี เมืองเพชรบุรี เมืองราชบุรี เป็นต้น และถ้าเมืองใดเป็นเมืองสำคัญก็จะส่งเจ้านายจากราชวงศ์ออกไปครอง


2.2 เมืองพระยามหานคร หรือหัวเมืองชั้นนอก คือ เมืองใหญ่ที่อยู่ห่างจากหัวเมืองชั้นในออกไป
ทิศตะวันออก คือ เมืองโคราชบุรี(นครราชสีมา) เมืองจันทบุรี
ทิศใต้ คือ เมืองไชยา เมืองนครศรีธรรมราช เมืองพัทลุง เมืองสงขลา และเมืองถลาง
ทิศตะวันตก คือ เมืองตะนาวศรี เมืองทะวาย เมืองเชียงกราน


2.3 เมืองประเทศราช หรือเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา เมื่อครั้งรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) สันนิษฐานว่า คงจะมีแต่เมืองมะละกากับเมืองยะโฮร์ทางเแหลมมลายูเท่านั้น ส่วนกัมพูชานั้นต้องปราบกันอีกหลายครั้ง จึงจะได้ไว้ในครอบครอง และในระยะหลังต่อมาสุโขทัยก็ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาด้วย
เมืองประเทศราช มีเจ้านายของตนปกครองตามจารีตประเพณีของตน แต่ต้องกราบบังคมทูลให้กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาแต่งตั้ง

ระบบกฎหมายสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น
ลักษณะการตั้งกฎหมายในตอนแรกๆ นั้นทำเป็นหมายประกาศอย่างละเอียด ขึ้นต้นบอกวัน เดือน ปี ที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดิน ใครเป็นผู้กราบบังคมทูลคดีอันเป็นเหตุให้ตรากฎหมาย พระเจ้าแผ่นดินยืดยาวเกินไป จึงตัดข้อความที่ไม่ต้องการออก แต่ต่อๆ มา กฎหมายมีมากขึ้น ก็ยากแก่การค้นห้า จึงตัดข้อความลงอีก ซึ่งพราหมณ์ชาวอินเดียเป็นผู้นำมาสอนให้ทำ อนุโลมตามแบบพระมนูธรรมศาสตร์ อันเป็นหลักกฎหมายของอินเดีย เช่น ลักษณะโจร ลักษณะผัวเมีย

กฎหมายสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)
ในระหว่าง พ.ศ. 1894-1910 ได้มีการพิจารณาตรากฎหมายขึ้นทั้งหมด 10 ฉบับ คือ
1.
กฎหมายลักษณะพยาน พ.ศ. 1894
2.
กฎหมายลักษณะอาญาหลวง พ.ศ. 1895
3.
กฎหมายลักษณะรับฟ้อง พ.ศ. 1899
4.
กฎหมายลักษณะลักพา พ.ศ. 1899
5.
กฎหมายลักษณะอาญาราษฎร์ พ.ศ. 1901
6.
กฎหมายลักษณะโจร พ.ศ. 1903
7.
กฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จว่าด้วยที่ดิน พ.ศ. 1903
8.
กฎหมายลักษณะผัวเมีย พ.ศ. 1904
9.
กฎหมายลักษณะผัวเมีย(เพิ่มเติม) พ.ศ. 1905
10.
กฎหมายลักษณะโจรว่าด้วยสมโจร พ.ศ. 1910



การศาลสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น
เกี่ยวกับการพิจารณาคดีในสมัยพระจ้าอู่ทองนั้น ได้อยู่ในอำนาจของเสนาบดีจตุสดมภ์ดังนี้
1. เสนาบดีกรมเมือง พิจารณาพิพากษาคดีอุกฉกรรจ์ที่จะทำให้เกิดความไม่สงบขึ้นภายในแผ่นดิน
2. เสนาบดีกรมวัง พิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับข้อพิพาทของราษฎร
3. เสนาบดีกรมคลัง พิจารณาพิพากษาเกี่ยวกับพระราชทรัพย์
4. เสนาบดีกรมนา พิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับ ที่นา โคกระบือ เพื่อระงับข้อพิพากของชาวนา

ลักษณะการปกครองสมัยพระรามาธิบดีที่ 2 ถึงสิ้นกรุงศรีอยุธยา


ลักษณะการปกครองกรุงศรีอยุธยาใน ระยะนี้ ยังคงใช้ระบบการปกครองสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเป็นหลัก จนกระทั่งถึงสมัยพระเพทราชา ซึ่งเป็นสมัยที่บ้านเมืองไม่สงบเกิดกบฎขึ้นบ่อยครั้ง เพราะทหารมีอำนาจมากในขณะนั้น และอำนาจทางทหารตกอยู่ในความควบคุมของสมุหกลาโหมแต่เพียงผู้เดียว ดังเช่นในสมัยสมเด็จพระเชษฐาธิราช สมุหกลาโหมเป็นกบฎแย่งชิงราชสมบัติและตั้งตัวเป็นกษัตริย์คือ พระเจ้าปราสาททอง เป็นต้น จึงทำให้สมเด็จพระเทพราชาหวาดระแวงพระทัย เกรงว่าจะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีกในสมัยของพระองค์ เพื่อเป็นการถ่วงดุลแห่งอำนาจ พระองค์ตัดสินใจจัดระบบการปกครองใหม่เป็นบางส่วนดังนี้

สมุหกลาโหม แต่เติมเคยควบคุมเกี่ยวกับทางทหารทั่วประเทศ ให้เปลี่ยนมาเป็นควบคุมผู้บังคับบัญชาทหารและพลเรือนในแถบหัวเมืองฝ่ายใต้

สมุหนายก เดิมเคยควบคุมเกี่ยวกับข้าราชการพลเรือน ให้เปลี่ยนมาควบคุมผู้บังคับบัญชาทั้งทางทหารและพลเรือนในแถบหัวเมืองฝ่ายเหนือ

ในกรณีที่เกิดสงคราม ในหัวเมืองฝ่ายใด ผู้บังคับบัญชาการหัวเมืองฝ่ายนั้นต้องเป็นแม่ทัพใหญ่ ดำเนินการต่อสู้ โดยเป็นผู้บังคับบัญชากองทัพเตรียมทหารและเสบียงอาหาร เป็นต้น


การที่เปลี่ยนจากระบบมีอำนาจเต็มทางทหารแต่ฝ่ายเดียว ของสมุหกลาโหม มาเป็นระบบแบ่งอำนาจทั้ง 2 ฝ่าย ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ทำให้สมุหนายกและสมุหกลาโหมควบคุมและแข่งขันกันทำราชการไปในตัว


การปกครองของเมืองหลวงยังคงใช้ระบบการปกครองในสมัยสมเด็จ พระบรมไตรโลกนาถ แต่มีการเปลี่ยนแปลงบ้างก็เฉพาะหัวเมืองต่างๆ เพิ่มขึ้นหรือลดลงเท่านั้น เช่น ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ได้ทรงสร้างหัวเมืองชั้นในขึ้นอีกหลายเมือง ได้แก่ นนทบุรี นครชัยศรี ฉะเชิงเทรา สาครบุรี และสระบุรี ทำให้อาณาเขตราชธานีขยายกว้างออกไปอีก ส่วนหัวเมืองประเทศราชนั้นไม่แน่นอน ถ้าสมัยใดพระมหากษัตริย์มีอำนาจก็จะมีเมืองขึ้นหลายเมือง ถ้าอ่อนแอเมืองขึ้นต่างๆ ก็จะแข็งเมืองไม่อยู่ในอำนาจต่อไป
การปกครองท้องถิ่นก็ยังคงใช้แบบเดียวกับสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

การทหาร
ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ พระองค์ทรงเห็นข้อบกพร่องในทางการทหาร จึงจัดระเบียบและปรับปรุงแก้ไขส่วนที่บกพร่องให้ดียิ่งขึ้น โดยพระองค์ทรงดำเนินการปรับปรุง ดังนี้

๑. ทำสารบัญชี โดยการตั้งเป็นกรม แบ่งงานออกเป็น
๑.๑ สุรัสวดีกลาง
๑.๒ สุรัสวดีขวา
๑.๓ สุรัสวดีซ้าย

๒. มีการแต่งตำรายุทธพิชัยสงคราม เพื่อใช้เป็นหลักในการทำสงครามให้ถูกยุทธวิธี ซึ่งเป็นตำราที่ใช้ยึดเป็นหลักปฏิบัติกันมาจนสิ้นกรุงศรีอยุธยา

ชายฉกรรจ์ ที่มีสัญชาติไทย มีหน้าที่ดังนี้

1.
เมื่ออายุได้ 18 ปี ต้องขึ้นทะเบียนเป็นไพร่สม ต่อเมื่ออายุ 20 ปี จึงจะรับราชการเป็นไพร่หลวง และอยู่ในราชการจนกว่าจะอายุครบ 60 ปี จึงจะถูกปลด แต่ถ้ามีบุตรชายและส่งเข้ารับราชการ 3 คน ให้บิดาพ้นราชการได้

2.
ชายฉกรรจ์ทุกคนต้องมีสังกัดอยู่ในกรมใดกรมหนึ่ง ลูกหลานผู้สืบสกุลต้องอยู่ในสังกัดเดียวกัน ถ้าจะย้ายสังกัดต้องขออนุญาตก่อน

3.
ในเวลาที่บ้านเมืองสงบเรียบร้อย ไพร่หลวงจะต้องเข้าประจำการปีละ 6 เดือน เรียกว่า เข้าเวร และจะต้องหาเสบียงของตนเองมาด้วย การเข้าเวรนี้จะเข้าเวร 1 เดือน แล้วออกเวรไปทำมาหากิน 1 เดือนแล้วจึงกลับมาเข้าเวรใหม่ สลับกันจนครบกำหนด

4.
หัวเมืองชั้นนอก ที่อยู่ห่างไกลในยามปกติ ไม่ต้องการคนเข้ารับราชการมากเหมือนในราชธานี จึงใช้วิธีเกณฑ์ส่วนแทนการเข้าเวร โดยการนำของที่ทางราชการต้องการ เช่น ดินประสิว แร่ดีบุก ฯลฯ มาให้กับทางราชการแทนการเข้าเวร

http://guru.sanook.com

ประวัติศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยา

ยุคสมัยกรุงศรีอยุธยา

ยุธยา ในช่วงแรกนั้นมิได้เป็นศูนย์กลางของชาวไทยในดินแดนคาบสมุทรอินโดจีนทั้งปวง แต่ด้วยความเข้มแข็งที่ทวีเพิ่มขึ้นประกอบกับวิธีการทางการสร้างความ สัมพันธ์กับชาวไทยกลุ่มต่าง ๆ ในที่สุดอยุธยาก็สามารถรวบรวมกลุ่มชาวไทยต่างๆ ในดินแดนแถบนี้ให้เข้ามาอยู่ภายใต้อำนาจอย่างหลวม ๆ ได้ กระทั่งเมื่อพม่าได้เข้ามารุกรานและสามารถครอบครองอยุธยาได้ช่วงระยะเวลา หนึ่ง อยุธยาจึงได้หล่อหลอมเป็นอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างแท้จริง ซึ่งก็ได้สร้างความมั่นคงเข้มแข็งให้กับอยุธยาเป็นอย่างมาก แต่ด้วยปัญหาความขัดแย้งภายในที่มีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ในที่สุดอยุธยาก็ไม่สามารถเป็นศูนย์รวมความสามัคคีของชาวไทยทั้งมวลได้ ทำให้ต้องถูกทำลายลงโดยกองทัพของพม่าอย่างง่ายดายเกินความคาดหมาย การล่มสลายลงของอาณาจักรอยุธยาทำให้ระบบระเบียบที่กลายเป็นอุปสรรคต่อการ บริหารนั้นถูกทำลายลง ความเข้มแข็งของอยุธยาจึงถูกแสดงออกภายหลังจากการล่มสลายลงของตัวมันเอง การประกาศเอกราชจากพม่าในเวลาอันสั้นในขณะที่ฝ่ายพม่าก็มีปัญหาเช่นกันอาจมิ ใช่ตัวอย่างที่ดีที่จะยกมาอ้างอิง แต่การก่อร่างสร้างอาณาจักรของชาวไทยขึ้นมาใหม่ ท่ามกลางสภาพความแตกแยกและความพยายามที่จะเข้ามารุกรานจากกลุ่มชาวต่างๆ รายรอบนั้นย่อมแทบที่จะเป็นไปไม่ได้หากอาณาจักรอยุธยามิได้ฟูมฟักความเข้ม แข็งนี้ไว้ให้ อาณาจักรใหม่ของชาวไทยยังต้องเผชิญกับความขัดแย้งภายในอีกรอบหนึ่งระหว่าง กลุ่มขุนนางระดับล่างและกลุ่มขุนนางระดับสูงจาก อาณาจักรอยุธยาเดิม ซึ่งในที่สุดกลุ่มขุนนางระดับสูงจากอาณาจักรอยุธยาเดิมก็ได้รับชัยชนะ เนื่องจากเมื่ออาณาจักรเริ่มมีความมั่นคงเป็นปึกแผ่น ความสามารถในเชิงรัฐศาสตร์และการเมืองอันลึกซึ้ง ย่อมทวีความสำคัญมากกว่าความสามารถในการสงครามประการเดียว

วันอาทิตย์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

แบบทดสอบหลังเรียน

แบบทดสอบหลังเรียน

ประวัติกรุงสุโขทัย

ประวัติศาสตร์กรุงสุโขทัย

ราชวงศ์สุโขทัยมีประวัติปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ ๒ (จารึกวัดศรีชุม)

ใจความว่า ผู้ตั้งราชวงศ์มี ๒ คน ด้วยกัน คือ พ่อขุนผาเมือง และพ่อขุนบางกลางหาว

ได้ช่วยกันตั้งราชวงศ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๘๐๐ พ่อขุนผาเมืองเป็นลูกพ่อขุนศรีนาวนำถม

ซึ่งเป็นเจ้าเมืองสุโขทัยในครั้งนั้นเมืองสุโขทัยยังเป็นเมืองประเทศราชของขอมอยู่

พ่อขุนผาเมืองนั้น พระเจ้ากรุงกัมพูชาพระราชทานนามว่า กมรเตงอัญศรี

อินทรปตินทราทิตย์ และได้พระราชทานพระราชธิดาองค์หนึ่งทรงพระนามว่า

พระนางสิงขรมหาเทวี พ่อขุนผาเมืองเป็นเจ้าเมืองราด ส่วนพ่อขุนบางกลางหาวนั้น

เป็นเจ้าเมืองบางยาง (แต่เดิมนั้น เรียกชื่อพ่อขุนบางกลางหาวว่า บางกลางทาว หรือ

บางกลางท่าว ต่อมา ดร.ประเสริฐ ณ นคร ตรวจสอบอักษรที่จารึกใหม่พบว่า

แท้ที่จริง จารึกเขียนว่า บางกลางหาว เพราะที่อ่านกันแต่เดิมนั้น เข้าใจผิดไปว่าเป็น

"ท ทหาร" ที่แท้คือ " ห หีบ" และ"ไม้เอก" ก็ไม่มี) ครั้งนั้นเมืองสุโขทัยมีข้าหลวง

เขมรชื่อ โขลญลำพง เป็นผู้รักษาเมืองหรือสำเร็จราชการอยู่ พ่อขุนบางกลางหาว

เป็นมิตรสหายของพ่อขุนผาเมือง ทั้งสองได้ตั้งใจตีเมืองสุโขทัย พ่อขุนบางกลางหาว

ได้เมืองศรีสัชนาลัย ส่วนพ่อขุนผาเมืองเมื่อได้เมืองบางขลังแล้วก็นำพลมาทาง

เมืองราด เมืองศรีสัชนาลัยถึงเมืองสุโขทัย ข้าหลวงขอมไม่อาจสู้ได้ ต้องยอมแพ้

และทิ้งเมืองสุโขทัยไป

เมื่อได้เมืองสุโขทัยแล้ว พ่อขุนผาเมืองได้นำพลออก และได้อภิเษก

พ่อขุนบางกลางหาวให้เป็นเจ้าเมืองสุโขทัย ถวายพระนามตามพระนามของตนที่ได้รับ

พระราชทานจากพระเจ้ากรุงกัมพูชาว่า "กมรเดงอัญศรีอินทรปตินทราทิตย์"

(ในตอนต้นศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง เรียกโดยย่อว่า ศรีอินทราทิตย์

เป็นพระนามพระราชบิดาของพ่อขุนรามคำแหง) พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ซึ่งเป็น

ปฐมกษัตริย์ในราชวงศ์สุโขทัยนั้น ในหนังสือชินกาลมาลินี และสิหิงคนิทาน เรียกว่า

โรจนราช หรือสุรางคราช คือ พระร่วง (สำหรับพระนามพระร่วงนี้มีหลักฐานไม่แน่

ชัดว่า หมายจำเพาะเจาะจงว่าเป็นองค์ใด บ้างก็ว่าหมายถึงพระเจ้าศรีอินทราทิตย์

บ้างก็ว่า หมายถึงพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และบ้างก็ว่าหมายถึงกษัตริย์ทุกพระองค์

ในราชวงศ์พระร่วง)

พระราชประวัติพ่อขุนรามคำแหงมหาราชตามความปรากฏในจารึก

หลักที่ ๑ มีใจความว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์มีพระโอรสด้วยพระชายาพระนามว่า นางเสือง

๓ องค์ พระองค์ใหญ่สิ้นพระชนม์เสียตั้งแต่ยังเยาว์ พระองค์กลางทรงพระนามว่า

บาลเมือง (ในหนังสือชินกาลมาลินีและสิงคนิทาน เรียกว่า ปาลราช) องค์ที่สามได้

เสวยราชย์ต่อมาทรงพระนามว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราช (ศิลาจารึกของพ่อขุน

รามคำแหงด้านที่ 2-3-4 และในคำนำไตรภูมิพระร่วงเรียกว่า รามราช)

พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงพระราชสมภพปีใด ไม่ปรากฏหลักฐาน

แน่นอน ตามหลักฐานพงศาวดารเมืองเหนือ คือ พงศาวดารเมืองโยนก กล่าวว่า

พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงเป็นพระสหายสนิทและรุ่นราวคราวเดียวกับ

พญาเม็งรายเจ้าเมืองเชียงใหม่และพญางำเมืองเจ้าเมืองพะเยา ทรงศึกษาเล่าเรียน

อยู่ในสำนักสุกกทันตฤาษี ณ เมือง ละโว้ (ลพบุรี) เป็นศิษย์ร่วมอาจารย์เดียวกับ

พญางำเมือง ในขณะที่ทรงเล่าเรียนศิลปวิทยาอยู่ร่วมกันนั้นพญางำเมืองเจริญ

พระชันษาได้ ๑๖ ปี

เมื่อพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ประกาศตั้งกรุงสุโขทัยเป็นอิสระแล้ว ขุนสามชน

เจ้าเมืองฉอด ได้ยกกองทัพมาตีเมืองตากอันเป็นเมืองหน้าด่านทางทิศตะวันตกของ

กรุงสุโขทัย พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ยกกองทัพออกไปสู้รบกับขุนสามชน และพระราช-

โอรสองค์ที่สามซึ่งเจริญพระชันษาย่างเข้า ๑๙ ปี ทรงเป็นนักรบที่เข้มแข็งในการ

สงครามเข้าชนช้างชนะขุนสามชน พวกเมืองฉอดจึงได้แตกพ่ายไป เมื่อชนช้าง

ชนะขุนสามชนคราวนั้นแล้ว พ่อขุนศรีอินทราทิตย์พระราชบิดาจึงพระราชทานเจ้า

รามเป็น "พระรามคำแหง" ซึ่งคงจะหมายความว่าพระรามผู้เข้มแข็ง หรือ เจ้ารามผู้

เข้มแข็ง

พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นกษัตริย์องค์ที่สาม

แห่งราชวงศ์พระร่วง ศักราชที่ปรากฏในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง (ศิลาจารึก

สุโขทัยหลักที่ ๑) คือ มหาศักราช ๑๒๐๕ (พ.ศ. ๑๘๒๖) นั้นเป็นปีที่พระองค์ได้

ประดิษฐ์อักษรไทยขึ้น มหาศักราช ๑๒๐๗ (พ.ศ. ๑๘๒๘) ทรงสร้างพระมหาธาตุ

เมืองศรีสัชนาลัย (เข้าใจว่า คือ พระเจดีย์ที่วัดช้างล้อม ในปัจจุบัน) มหาศักราช

๑๒๑๔ (พ.ศ. ๑๘๓๕) โปรดให้สร้างแท่นหิน ชื่อ พระแท่นมนังศิลาบาตร และ

สร้างศาลา ๒ หลัง ชื่อ ศาลาพระมาสและพุทธศาลา ประดิษฐานไว้กลางดงตาล

เพื่อเป็นที่ประทับว่าราชการ และทรงสั่งสอนข้าราชการ และประชาชนใน

วันธรรมดา ส่วนวันอุโบสถโปรดให้พระสงฆ์นั่งสวดพระปาติโมกข์และแสดงธรรม

รัชสมัยของพระองค์รุ่งเรืองยิ่งกว่ารัชกาลใด ๆ ราชอาณาเขตแผ่ขยายไปกว้างขวาง

ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข อย่างที่เรียกกันว่า "ไพร่ฟ้าหน้าใส" การพาณิชย์เจริญ

ก้าวหน้า ศิลปวิทยาเจริญรุ่งเรืองหลายประการ

วันเสาร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การปกครองสมัยกรุงสุโขทัย

ลักษณะการปกครองสมัยสุโขทัยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
เขตการปกครองแบบ เมืองราชธานี (หัวเมืองชั้นใน)
คือเมืองที่ตั้งนครหลวงอันได้แก่กรุงสุโขทัยมีตัวเมืองชั้นในรายรอบเป็นปริมณฑล
เรียกว่า เมืองลูกหลวงซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านล้อมรอบราชธานีไว้ทั้ง4ด้านระยะทางระหว่างเมืองลูกหลวง
กับราชธานี นั้นมีหลักว่าจะต้องไม่เกินระยะที่จะเดินติดต่อถึงกันได้ภายในเวลา 2 วันทั้งนี้เพื่อให้การ
คมนาคมระหว่างเมืองหลวงและเมืองลูกหลวงได้เป็นไปโดยสะดวกด้วยเหตุนี้วงเขตของราชธานีจึงไม่สู้
กว้างใหญ่นักแต่การจัดระเบียบราชธานี ดังว่านี้มีประโยชน์มากในทางยุทธศาสตร์สมัยนั้น เพราะทำให้
รวมกำลังป้องกันราชธานีได้สะดวกและรวดเร็วเวลามีสงครามกำลังทั้งราชธานีและเมืองที่รายรอบก็รวม
กันเป็นกองทัพหลวง

เมืองที่อยู่ในวงราชธานีสมัยกรุงสุโขทัย ถ้าระบุเมืองในครั้งนั้น ก็คือ
ก. เมืองสุโขทัย เป็นตัวราชธานี
ข. หัวเมืองชั้นในรอบเมืองสุโขทัยทั้ง 4 ด้าน คือ
ด้านเหนือ มีเมืองศรีสัชชนาลัย(สวรรคโลก)เป็นเมืองที่พระมหาอุปราชหรือเรียกง่ายๆว่าเมือง
อุปราชซึ่งมีอยู่เมืองเดียวในสมัยกรุงสุโขทัยและชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ซึ่งเป็นระยะที่ขุนบาลเมืองเป็น
พระมหากษัตริย์ และแต่งตั้งพระอนุชาสมเด็จพระเจ้ารามคำแหงมหาราช เป็นอุปราชไปครองเมือง
ศรีสัชชนาลัยมีฐานะสูงเกือบเท่าราชธานี
ด้านตะวันออก เมืองสองแคว (พิษณุโลก)
ด้านใต้ เมืองสระหลวง (พิจิตร)
ด้านตะวันตก เมืองกำแพงเพชร

เขตการปกครองแบบ เมืองพระยามหานคร (หัวเมืองชั้นนอก)คือ เมืองใหญ่ ๆ นอกราชธานีออกไปเรียกว่า เมืองพระยามหานคร เป็นหัวเมืองชั้นนอก เมืองหนึ่งๆ
มีเมืองเล็กๆขึ้นอยู่มากบ้างน้อยบ้างทำนองเดียวกับมณฑลในสมัยต่อมาซึ่งมีเมืองรวมอยู่ หลายเมือง
เจ้าเมืองเป็นเจ้าหรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เวลาเกิดศึกสงครามราษฎรในเมืองพระยามหานคร เมือง
หนึ่งๆ ก็รวมกันเข้าเป็นกองพลหนึ่ง เมืองพระยามหานครสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี ครั้งสมัยพระเจ้า
รามคำแหงมหาราช มีดังนี้

ทิศใต้ เมืองแพรก(สรรค์บุรี) เมืองสุพรรณบุรี(อู่ทอง) เมืองราชบุรี เมืองเพชรบูรณ์
เมืองตะนาวศรี
ทิศเหนือ เมืองแพร่
ทิศตะวันออก เมืองหล่ม เมืองเพชรบูรณ์ เมืองศรีเทพ
เมืองในราชอาณาจักรแบ่งออกเป็นราชธานีและเมืองพระยามหานครโดยมีคนไทยเป็น
เจ้าเมืองปกครองทั้งสิ้น

เขตการปกครองแบบ เมืองประเทศราชคือ เมืองที่อยู่นอกราชอาณาจักร อันชาวเมืองเป็นชนต่างชาติมีเจ้าเป็นชาวพื้นเมืองนั้นซึ่ง
พระมหากษัตริย์ไทยทรงแต่งตั้งปกครองอย่างสิทธิ์ขาดเหมือนอย่างเจ้าแผ่นดินในเมืองของตนเองแต่
ต้องถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองและเครื่องราชบรรณาการต่อพระมหากษัตริย์ไทยตามกำหนดและเวลา
เกิดสงครามก็เกณฑ์กองทัพออกมาช่วยเท่านั้น

เมืองที่เป็นประเทศราชครั้งสมเด็จพระเจ้ารามคำแหงมหาราชสันนิฐานตามประวัติศาสตร์ มีดังนี้
ทางทิศใต้ เมืองนครศรีธรรมราช เมืองมะละกา และเมืองยะโฮร์
ทางทิศตะวันตก เมืองทะวาย เมืองเมาะตะมะ เมืองหงสาวดี
ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เมืองน่าน เมืองเซ่า(คือเมืองหลวงพระบาง) เวียงจันทร์ เวียงคำ