วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

การปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5

การปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5

การปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5

การปฏิรูปสังคมไทยสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ.2411-2453

ในช่วงสมัยการเผชิญหน้ากับลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตก ประเทศไทยได้มีความพยายามที่จะปรับตัวเข้าสู่ความทันสมัยตามแบบตะวันตก เพื่อลดกระแสกดดันจากประเทศแถบตะวันตกที่มุ่งขยายอิทธิพลเข้าครอบงำประเทศไทยให้ลดน้อยลงจนถึงระดับปลอดภัย การปรับตัวที่สำคัญประการหนึ่งของไทย คือ การปฏิรูปสังคมและการศึกษาในสมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ.2411-2453) เพราะการปฏิรูปสังคมและการศึกษาได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ.2475

สภาพการณ์ทั่วไปก่อนการปฏิรูปสังคมและการศึกษาในสมัยรัชกาลที่ 5
1.สภาพการณ์ทางด้านการเมือง
การเมืองภายในก่อนสมัยรัชกาลที่ 5 มีสภาพอยู่ในระบบดั้งเดิม คือมีพระมหากษัตริย์ทรงปกครองราชอาณาจักรโดยอาศัยเสนาบดี ซึ่งมีหน้าที่บริราชการส่วนกลางรวมทั้งหมด 6 กรม คือ กลาโหม มหาดไทย เวียง วัง คลัง นา การปกครองหัวเมืองในส่วนภูมิภาค อยู่ภายใต้การควบคุมของเสนาบดี คือ สมุหพระกลาโหม ปกครองดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ สมุหนายกปกครองดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ โกษาธิบดี ปกครองดูแลหัวเมืองชายทะเลตะวันออก
สมัยรัชกาลที่ 4 (พ.ศ. 2394-2411) ทรงได้รับอิทธิพลทางด้านความคิดแบบเสรีตามอย่างตะวันตก คือ ทรงให้บรรดาขุนนางข้าราชการเลือกบุคคลที่เหมาะสมขึ้นดำรงตำแหน่งพระมหาราชครูปุโรหิตและพระมหาราชครูมหิธรซึ่งว่างลง โดยพระองค์จะทรงเข้าแรกแซงหรือยุ่งเกี่ยว แต่จะทรงเกี่ยวข้องก็เมื่อถึงเวลาที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งตามที่ขุนนางข้าราชการเสนอรายชื่อมาเท่านั้น
ทางด้านการเมืองภายนอก ไทยกำลังถูกคุกคามจากมหาอำนาจตะวันตก ซึ่งเริ่มมีท่าที่เห็นได้ชัดมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 เมื่ออังกฤษรุกรานพม่า และเกิดกระทบกระทั่งกับไทยเกี่ยวกับปัญหาเมืองไทรบุรีในมลายู นอกจากนั้นไทยได้มีการทำสนธิสัญญาเบอร์นีกับอังกฤษใน พ.ศ. 2369 และเมื่ออังกฤษได้ส่งเซอร์ เจมส์ บรู้ค (Sir James Brooke) เข้ามาเจรจาของแก้ไขสนธิสัญญากับไทยใน พ.ศ. 2393 แต่ไทยก็ได้ปฏิเสธที่จะแก้ไข จึงทำให้เกิดความวิกฤตในหมู่ผู้นำไทยบางกลุ่มที่เกรงว่าอังกฤษอาจะเปลี่ยนนโยบายจากการเจรจาด้วนสันติวิธีมาเป็นการเจรจาโดยใช้นโยบายอื่นบังคับไทยต่อไปในอนาคต ถ้ามีการเจรจาเกิดขึ้น
สมัยรัชกาลที่ 4 ไทยได้ทำสนธิสัญญาบาวริงกับอังกฤษใน พ.ศ.2398 เป็นผลทำให้ไทยต้องยกเลิกระบบการแบบผูกขาดโดยพระคลังสินค้า และเปลี่ยนมาเป็นนโยบายการค้าแบบเสรี โดยยอมสูญเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตให้อังกฤษ รวมทั้งการเก็บภาษีขาเข้าในอัตราร้อยละ 3 และอื่นๆ อีกหลายประการ นอกจากนั้นไทยยังต้องตกลงทำสนธิสัญญาในลักษณะเดียวกันที่ทำกับอังกฤษกับประเทศอื่นๆ อีกหลายประเทศ เพิ่มลดกระแสกดดันทางการเมืองและการทหารจากมหาอำนาจตะวันตก
นอกจากนี้ไทยยังไม่สามารถหลีกเลี่ยงการบีบคั้นจากมหาอำนาจตะวันตกได้อย่างสิ้นเชิง เช่น การยอมยกดินแดนเขมรส่วนในและเกาะต่างๆ อีก 6 เกาะ รวมเป็นเนื้อที่ 124,000 ตารางกิโลเมตรให้แก่ฝรั่งเศส โดยฝรั่งเศสยอมรับว่าไทยมีสิทธิเหนือเสียมราฐและพระตะบองเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2410

2.สภาพการณ์ทางด้านเศรษฐกิจ
ก่อนที่ไทยจะทำสนธิสัญญาบาวริงใน พ.ศ. 2398 ระบบเศรษฐกิจของไทยเป็นระบบเศรษฐกิจแบบผูกขาดทางด้านการค้าโดยพระคลังสินค้า การผลิตที่สำคัญเป็นการผลิตทางด้านการเกษตร ธุรกิจการค้าของเอกชนเป็นกาค้าขนาดเล็กที่มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันภายในราชอาณาจักร ส่วนการค้าขายกับต่างประเทศอยู่ในความควบคุมของพระลังสินค้า ที่ผูกขาดการซื้อขายสินค้าที่มีค่าหลายประเภทภายหลังเมื่อรัชกาลที่ 4 ได้ทรงทำสนธิสัญญาบาวริงกับอังกฤษแล้ว ระบบเศรษฐกิจการค้าของไทยได้เปลี่ยนแปลงเป็นระบบการค้าแบบเสรี ซึ่งทำให้ไทยได้มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศอย่างกว้างขวาง จะเห็นได้จากภายใน 19 เดือน นับแต่ลงนามในสนธิสัญญาบาวริง ได้มีเรือสินค้าเข้ามาในกรุงเทพฯถึง 130 ลำ และพ่อค้าในกรุงเทพฯ ก็ส่งเรือออกไปค้าขายต่างประเทศถึง 37 ลำ ซึ่งเรือที่เข้ามาค้าขายในกรุงเทพฯ เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมถึง 10 เท่า หมอบรัดเลย์ได้บันทึกไว้ว่าเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2399 มีเรือต่างประเทศมาทอดสมออยู่ในแม่น้ำถึง 60 ลำ และได้เพิ่มจำนวนเป็น 103 ลำในปลายปีเดียวกัน ส่วนพ่อค้าในกรุงเทพฯได้ส่งเรือออกไปค้าขายถึง 37 ลำ แสดงให้เห็นถึงข้อมูลที่ยืนยันถึงการขยายตัวทางการค้าอย่างแท้จริงผลของการทำสนธิสัญญาบาวริง ระบบการค้าเสรีได้ทำให้เศรษฐกิจแบบพึ่งตัวเองน้อยลง สินค้าเข้าแต่เดิมประกอบด้วยสินค้าประเภทฟุ่มเฟือย ซึ่งเป็นไปเพื่อการบริโภคของชนชั้นสูง เปลี่ยนมาเป็นสินค้าหลายชนิดเพื่อการบริโภคของคนทั่วไป ส่วนสินค้าออกของไทยสมัยก่อนจะเป็นสินค้าหลายๆชนิด ก็เปลี่ยนมาเป็นสินค้าเพียงไม่กี่ชนิด นอกจากนั้นการส่งข้าวออกไปขายยังต่างประเทศขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางตั้งแต่ พ.ศ.2398 เป็นต้นมา และไม่มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจแบบใดที่จะเกี่ยวข้องกับประชาชนจำนวนมากมายเท่ากับการทำนา ชาวนาได้ขยายการผลิตข้าวเพิ่มมากขึ้น ทำให้การปลูกพืชที่จำเป็นในการครองชีพอื่นๆน้อยลง
การขยายตัวในการผลิตข้าวเพื่อการส่งออก ทำให้ชาวนาต้องขยายที่นาออกไปและความจำเป็นในการใช้แรงงานก็มีมากขึ้น แต่ในขณะที่แรงงานคนไทยยังไม่มีความเป็นอิสระเพราะยังติดอยู่กับระบบไพร่และทาส รัชกาลที่ 4 ทรงเห็นความจำเป็นในการผลิตข้าวเพื่อการส่งออก จึงทรงสนับสนุนด้วยการลดหย่อนการเกณฑ์แรงงานตามระบบไพร่ลง เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้เวลาในการทำนามากขึ้น ส่วนงานก่อสร้างของหลวงที่ต้องใช้แรงงานจำนวนมากก็โปรดให้จ้างคนจีนมาทำแทน สำหรับคนไทยก็อาจจะใช้วิธีจ่ายเงินแทนการเกณฑ์แรงงานได้ ดังนั้นความจำเป็นในการใช้แรงงานเสรีภายหลังสนธิสัญญาบาวริงนี้ จึงมีส่วนผลักดันให้เกิดการยกเลิกระบบไพร่ในสมัยต่อมา

3.สภาพการณ์ทางด้านสังคม
สังคมไทยก่อนการปฏิรูปในสมัยรัชกาลที่ 5 ประกอบด้วย
1.พระมหากษัตริย์ ทรงมีฐานะประดุจดังเทวราชา ธรรมราชา และพุทธราชา ผสมผสานกันไป ดังนี้
1) เทวราชา คิตีนี้ถือกันว่าพระมหากษัตริย์ทรงดำรงฐานเป็นสมมติเทพตามคติของศาสนาพราหมณ์ที่ยึดถือกันมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา และถือว่าพระองค์เป็นประดุจดังพระนารายณ์หรือพระอิศวรผู้ทรงไว้ซึ่งมหิทธานุภาพ ซึ่งราษฎรจะต้องให้ความเคารพบูชา ดังนั้นพระมหากษัตริย์จึงทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน และยังคงมีการสืบทอดขนธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์ที่สะท้อนให้เห็นถึงคติของลัทธิเทวราชาที่ยังคงยึดถือปฏิบัติตามอย่างสมัยกรุงศรีอยุธยามาโดยตลอด เช่น การสร้างพระราชวัง การสร้างพระที่นั่ง การประกอบพระราชาพิธีต่างๆ การใช้คำราชาศัพท์ เป็นต้น
2) ธรรมราชา คตินี้ถือกันว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นธรรมราชา โดยได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพุทธ ซึ่งพระพุทธองค์ได้บัญญัติธรรมสำหรับกษัตริย์ผู้ปกครองแคว้นต่างๆ เอาไว้เรียกว่า ทศพิธราชธรรม และจักรวรรดิวัตร ซึ่งถ้ากษัตริย์พระองค์ใดทรงประพฤติปฏิบัติธรรมดังกล่าวได้ครบถ้วนแล้ว อาณาประชาราษฎร์ก็จะดำรงอยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสุข
3) พุทธราชา คตินี้สืบทอดมาจากความเป็นธรรมราชาของพระมหากษัตริย์ ถ้าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดทรงประพฤติปฏิบัติทศพิธรราธรรมและจักรวรรดิวัตรอย่างเคร่งครัดก็เปรียบเสมือนพระองค์ทรงบำเพ็ญพระบารมีในฐานะพระโพธิสัตว์ เพื่อจะได้ไปตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในภพต่อๆไป ดังนั้นพระมหากษัตริย์จึงทรงมีฐานะประดุจดังพุทธราชา
คตินิยมเช่นนี้ เห็นได้จากพระนามของรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2 ซึ่งมีคำว่า พุทธ นำหน้าพระปรมาภิไธย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงถวายพระนามรัชกาลที่ 1 ว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และถวายพระนามรัชกาลที่ 2 ว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นการกล่าวย้ำให้เห็นความเป็นพุทธราชาของพระมหากษัตริย์ทั้ง 2 พระองค์
2. พระบรมวงศานุวงศ์
พระบรมวงศานุวงศ์ล้วนแต่เป็นพระญาติวงศ์ของพระมหากษัตริย์ ซึ่งตำแหน่งของพระบรมวงศานุวงศ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สกุลยศและอิสริยยศ สกุลยศ คือ สิ่งที่แสดงถึงความเป็นผู้สืบสายเลือดของความเป็นเจ้า ได้แก่ เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า และหม่อมเจ้า ส่วนอิสริยยศ คือ พระยศที่พระมหากษัตริย์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนขึ้น เช่น มหาอุปราช กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ กรมสมเด็จพระ เป็นต้น
3. ขุนนาง
บุคคลที่รับราชาการแผ่นดิน มีศักดินา ยศ ราชทินนามและตำแหน่งเป็นเครื่องชี้บอกถึงอำนาจและเกียรติยศ หรือบรรดาข้าราชการของแผ่นดิน แต่ข้าราชการบางคนอาจจะไม่ได้มีฐานเป็นขุนนางก็ได้ เพราะการเป็นขุนนางนั้นจะต้องอยู่กับศักดินาของตน กล่าวคือผู้ที่มีศักดินา 400 ไร่ขึ้นไปก็จะได้เป็นขุนนาง ยกเว้นพวกมหาดเล็ก เพราะว่าเป็นขุนนางอยู่แล้ว ส่วนข้าราชการแผ่นดินที่มีศักดินาต่ำ 400 ไร่ยังมิได้เรียกว่าเป็นขุนนาง แต่จะอนุโลมเรียกว่าข้าราชการ ยศของขุนนางมี 8 ลำดับ จากสูงสุดไปหาต่ำสุด มีดังนี้ สมเด็จเจ้าพระยา เจ้าพระยา พระยา พระ หลวง ขุน หมิ่น และพัน ศักดินาของสมเด็จเจ้าพระจะอยู่ในระดับ 30,000 ไร่ นับว่าสูงสุดในบรรดาขุนนางทั้งหลาย ส่วนพันถือศักดินา 100-400 ไร่ หมื่นถือศักดินา 200-800 ไร่ ขุนนางถือศักดินา 200-1,000 ไร่ สำหรับขุนนางที่มียศเป็นหลวงขึ้นไปมีศักดินาได้ไม่ต่ำกว่า 800 ไร่ขึ้นไป แสดงว่าผู้ที่เป็นพัน หมื่น ขุน อาจไม่ได้เป็นขุนนางถ้าศักดินาไม่ถึง 400 ไร่ ดังนั้นสิทธิ์เป็นขุนนางได้ต้องมีศักดินาถึง 400 ไร่ขึ้นไป
สิทธิ์ตามกฎหมายของขุนนาง มีดังนี้
1.ได้รับการยกเว้นจากการเกณฑ์แรงงาน และต่อเนื่องไปถึงบุตรของขุนนางด้วย
2.ข้าราชการที่มียศต่ำกว่าขุนนาง คือ มีศักดินาไม่ถึง 400 ไร่ จะได้รับเอกสารยกเว้นการสักเป็นรายบุคคล แต่เอกสารนี้ไม่ได้รวมไปถึงลูกของข้าราชการ และการได้มาถึงเอกสารดังกล่าวจะต้องจ่ายเงินให้กับนายของตนเป็นการตอบแทนด้วย
3.ผู้ที่มีศักดินา 400 ไร่ขึ้นไป จะได้รับสิทธิเข้าเฝ้าในการเสด็จออกขุนนาง และถ้ามีคดีขึ้นศาลได้รับอนุญาตให้ผู้อื่นขึ้นศาลแทนตนได้อีกด้วย
4.ก่อน พ.ศ.2367 ขุนนางได้รับการยกเว้นภาษีที่นา ส่วนกฎหมายลักษณะมรดกให้สิทธิ์แก่คนที่ถือศักดินาตั้งแต่ 400 ไร่ขึ้นไปในการแบ่งมรดกเมื่อคนผู้นั้นถึงแก่กรรมแล้ว
5.ได้รับการคุ้มครองในเรื่องเกียรติยศ กล่าวคือผู้ใดใช้ถ้อยคำหยาบคายกับผู้ถือศักดินาตั้งแต่ 400 ไร่ขึ้นไปจะถูกลงโทษอย่างหนัก
6.ขุนนางสามารถมีไพร่จำนวนหนึ่งเป็นเสมียนทนายของตนได้ตามยศของตน และตามกฎหมายแล้วขุนนางจะไปไหนมาไหนโดยไม่มีคนรับใช้ไม่ได้4. ไพร่
คนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นราษฎรสามัญชนหรือไพร่นั้น คือ ชายฉกรรจ์ที่ต้องสังกัดอยู่กับเจ้าขุนมูลนายที่ตนสมัครอยู่ด้วย แบ่งตามสังกัดออกเป็น 2 ประเภท คือ
1) ไพร่สม หมายถึง ไพร่ที่เป็นชายฉกรรจ์ที่มีอายุ 18 ปี จะต้องขึ้นทะเบียนสังกัดมูลนาย( เจ้านายหรือขุนนาง) ตามกฎหมายกำหนด เพื่อรับใช้มูลนายเป็นการส่วนตัว เพื่อว่ามูลนายจะได้รู้สึกเป็นเกียรติ และเป็นกำลังให้มูลนายที่รับใช้งานของพระมหากษัตริย์ให้ดำเนินไปด้วยดีไม่มีอุปสรรค ไพร่สมจึงสมบัติของนายมูลนายและต้องรับใช้มูลนายยังมีชีวิตอยู่ในตำแหน่งราชาการ เนื่องจากสมัยก่อนขุนนางข้าราชการยังไม่มีเงินเดือน ดังนั้นการควบคุมไพร่ของมูลนายจึงหมายถึงผลประโยชน์ เช่น การได้รับส่วนลดจากการเก็บเงินค่าราชการหรือได้รับของกำนัลจากไพร่ แต่เมื่อนายมูลถึงแก่กรรมไพร่สมจะถูกโอนเป็นไพร่หลวง
2) ไพร่หลวง ไพร่สมที่มีอายุ 20 ปี มีหน้าที่รับราชการอยู่ในกรมกองต่าง ๆ มีขุนนางเป็นผู้ดูแลควบคุม ในยามศึกสงครามต้องออกรบป้องกันบ้านเมือง ในยามบ้านเมืองปกติต้องทำงานให้แก่แผ่นดินปีละ 6 เดือน และออกไปประกอบอาชีพ 6 เดือน สลับเดือนไปจนครบ 6 เดือน เรียกว่า การเข้าเดือนออกเดือน หรือการเข้าเวรรับราชการ คือ เข้าเวร 1 เดือน ออกเวร 1 เดือนสลับกันไป จนครบ 6 เดือน ต่อมาสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น(รัชกาลที่ 1) ไพร่หลวงถูกเกณฑ์แรงงานปีละ 4 เดือน คือ เข้าเวร 1 เดือน ออกเวร 2 เดือน สลับกันไป หากบ้านเมืองว่างเว้นจากสงครามเป็นเวลานานจะมีการผ่อนผันให้ไพร่หลวงส่งสิ่งของ ซึ่งเป็นทรัพย์กรในท้องถิ่น หรือ เงิน (เดือนละ 2 บาท หรือปีละ 12 บาท แทนการเข้าเวรรับราชการ ไพร่หลวงที่ส่งสิ่งของหรือเงิน แทนการเข้าเวรรับราชการนี้ เรียกว่า ไพร่ส่วย ฐานะโดยทั่วไปของไพร่นั้นอาจมีอิสระในด้านแรงงานของตนเองอยู่บ้าง แต่ไม่ทั้งหมด เพราะไพร่หลวงนั้นปีหนึ่งจะต้องถูกเกณฑ์แรงงานไปทำงานให้กับทางราชการ 4 เดือนบ้าง 3 เดือนบ้าง ส่วนในเรื่องการฟ้องร้องขึ้นโรงขึ้นศาล ไพร่ไม่มีสิทธิ์ตั้งทนายของตนเอง อีกทั้งไพร่จุถูกจำกัดสิทธิ์ในการเคลื่อนย้ายที่อยู่เพื่อความสะดวกในการเกณฑ์แรงงาน นอกจากนี้ถ้าไพร่เรียกชื่อยศตำแหน่งขุนนางผิดไปจากความเป็นจริงจะต้องถูกปรับโทษ ส่วนในเรืองการปรับไหม ไพร่ก็เสียเปรียบขุนนาง เพราะเมื่อเวลาขุนนางทำผิดต่อไพร่ก็จะใช้ศักดินาขุนนางปรับขุนนาง แต่เมื่อไพร่ทำผิดต่อขุนนาง กลับไม่ใช้ศักดินาไพร่ปรับไพร่ แต่ใช้ศักดินาของขุนนางปรับไพร่ อย่างไรก็ตาม ไพร่ก็ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายถ้าตนเองมีมูลนายต้นสังกัดหรือไพร่ที่มีศักดินาระหว่าง 10-25 ไร่ แล้วแต่ลักษณะและประเภทของไพร่ นอกจากนี้ไพร่สามารถมอบที่ดินให้แก่บุตรหลานของตนเองได้ ถ้าใครบุกรุกจะถูกปรับ แต่ถ้าบุตรหลานปล่อยให้ที่ดินรกร้างว่างเปล่าเป็นเวลา 9-10 ปี ไม่ทำให้ผลผลิตงอกเงย ที่ดินผืนนั้นต้องยกให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์ต่อไป นอกจากนี้ไพร่ยังสามารถเปลี่ยนฐานะตนเองได้เป็น 2 ระดับ คือ ถ้าเลื่อนระดับก็เป็นขุนนาง ถ้าลดระดับก็เป็นทาส
3.5 ทาส
ทาส คือ ราษฎรสามัญชนอีกประเภทหนึ่ง ที่มิได้มีกรรมสิทธิ์ในแรงงานและชีวิตของตนเอง แต่จะตกเป็นของนายจนกว่าจะได้รับการไถ่ตัวพ้นจากความเป็นทาส ซึ่งนายมีสิทธิ์ในการซื้อขายทาสได้ ลงโทษทุบตีทาสได้ แต่จะให้ถึงตายไม่ได้ ทาสมีศักดินาเพียง 5 ไร่เท่านั้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ก่อนจะมีการประกาศเลิกทาสในสมัยรัชกาลที่ 5 แบ่งออกเป็น 7 ประเภท คือ
1) ทาสสินไถ่ คือ ทาสที่ขายตนเองให้เป็นท่าน ต้องหาเงินมาไถ่ถอนตนเองจึงเป็นอิสระได้
2) ทาสในเรือนเบี้ย คือ ลูกทาสที่เกิดมาในเวลาที่พ่อแม่ของตนเป็นทาส
3) ทาสได้มาจากบิดามารดา คือ ทาสที่ได้มาจากบิดามารดให้ยกให้เป็นทาส
4) ทาสท่านให้ คือ ทาสที่ได้มาจากบุคคลฝ่ายหนึ่ง โดยให้บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง
5) ทาสทุพภิกภัย คือ ทาสที่ขายตนเองให้เป็นทาสในยามข้างยากหมากแพง
6) ทาสที่ได้จากการช่วยเหลือให้คนพ้นโทษทัณฑ์
7) ทาสเชลย คือ ทาสที่ได้มาจากศึกสงคราม
สิทธิโดยทั่วไปของเจาของทาสนั้นมีสิทธิ์ที่จะลงโทษทัณฑ์ จำโซ่ตรวน ขื่อคา หวดด้วยหนัง หรือสามารถทำทารุณกรรมต่างๆ กับทาสของตนเองได้ถึงบาดเจ็บสาหัส หรือแม้แต่ตาบอกก็ทำได้ แต่อย่าให้ถึงตายเท่านั้น รวมทั้งนายมีอำนาจสั่งทาสของตนให้ไปรับโทษคดีใดๆแทนบุตรภรรยาและญาติพี่น้องของนายเงินได้ นอกจากนี้นายยังมีอำนาจที่จะสั่งให้ทาสไปราชการแทนได้เช่นกัน แม้ราชการนั้นจะเป็นเหตุให้ทาสต้องตายก็ตาม ถ้านายทาสสั่งให้ทาสดูแลรักษาสิ่งของใดๆ ถ้าหากทรัพย์สินสิ่งของนั้นแตกหักเสียหาย ทาสก็ต้องใช้ราคาแก่นายทาสจนเต็ม นอกจากนั้นนายทาสมีสิทธิ์ที่จะขับทาสออกไปจากบ้านได้หรือสามารถขายทาสได้ เมื่อตนไม่สามารถเลี้ยงดูทาสนั้นต่อไปได้ หรือถ้าหากทาสหลบหนีไปแห่งใด เมื่อเจ้าเบี้ยนายเงินได้จ่ายเงินเป็นค่าบำเหน็จรางวัลแก่ผู้คุมตัวทาสมาได้เท่าได้ เจ้าของทาสมีสิทธิ์คิดเงินจากทาสที่หลบหนี้ได้ทั้งหมด เป็นต้น
จะเห็นได้ว่า อำนาจของนายมที่มีเหนือทาสนั้นมากพอที่จะผลทำให้ทาสหมดอิสรภาพในตนเอง ตราบใดที่ยังไม่หลุดพ้นจากความเป็นทาส ตราบนั้นก็ไม่มีโอกาสที่จะมีกรรมสิทธิ์ในแรงงานของตนเองได้ แต่โอกาสที่ทาสจะได้รับการปลดปล่อยให้หลุดพ้นจากความเป็นทาสก็ต่อเมื่อกรณีต่อไปนี้
1.หาเงินมาไถ่ถอนตัวเอง
2.นายทาสอนุญาตบวชเป็นพระภิกษุ
3.เมื่อเกิดศึกสงครามรับอาสาไปรบ และรอดกลับมา หรือถูกจับเป็นเชลย แต่หนีรอดกลับมาได้ ถือว่าทาสผู้นั้นเป็นอิสระ
4.ได้รับอนุญาตให้แต่งงานกับนายทาส และลูกที่เกิดมาก็พ้นจากความเป็นทาสด้วย
ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นทาสมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จนกระทั่งในตอนปลายรัชกาลที่ 3 คาดว่าผู้ที่เป็นทาสมีจำนวนถึง 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมด นอกจากนี้คนที่ตกเป็นทาสก็เพราะมีหนี้สินเป็นจำนวนมาก ทั้งพวกชาวนาส่วนใหญ่ที่ต้องเป็นหนี้สินก็เนื่องมาจากการเก็บเกี่ยวที่ไม่ได้ผล แต่ก็มีคนอีกเป็นจำนวนมากที่ยอมขายตัวเพื่อจะได้ไม่ต้องถูกเกณฑ์ไปทำงาน นอกจากนี้ในปลายรัชกาลที่ 3 ยังมีทาสอีกพวกหนึ่ง คือ ทาสเชลย ซึ่งมีอยู่ถึง 46,000 คน
ในสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงอนุญาตให้ไพร่เสียเงินแทนการถูกเกณฑ์แรงงาน และโปรดให้จ้างกรรมกรซึ่งส่วนมากเป็นคนจีนทำงานก่อนสร้างที่ต้องใช้เวลาและแรงงานเป็นจำนวนมาก แต่ถึงกระนั้นการเกณฑ์แรงงานไพร่ก็ยังคงมีอยู่ต่อไปมิได้ถูกยกเลิกไป เพราะทรงเกรงว่า ถ้าเปลี่ยนสถานะของไพร่ให้มีกรรมสิทธิ์ในแรงงานจะทำให้ขุนนางไม่พอใจ
ในสมัยรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2410 ทรงประกาศห้ามบิดามารดาหรือสามีขายบุตรภรรยาลงเป็นทาสโดยเจ้าตัวไม่สมัครใจ โดยทรงพิจารณาว่าไม่เป็นการยุติธรรมสำหรับเด็กและสตรี นอกจากนี้ยังทรงประกาศให้เสรีภาพแก่สตรีที่มีอายุบรรลุนิติภาวะแล้ว มีสิทธิ์เลือกสามีได้โดยบิดาจะบังคับมิได้อีกด้วย นับได้ว่าเป็นการเริ่มต้นการปลดปล่อยให้สตรีมีความเป็นอิสระแก่ตนเองมากยิ่งขึ้น

4.การปฏิรูปสังคมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)
1.การยกเลิกระบบไพร่1.1 สาเหตุในการยกเลิกระบบไพร่ ซึ่งเป็นระบบที่มีในสังคมไทยเป็นเวลาช้านาน เพราะอิทธิพลจากโลกตะวันตก ที่ให้ประชาชนมีอิสระในแรงงานของตนหรือที่เรียกว่า เสรีชนความต้องการด้านกำลังคน สำหรับรองรับการปฏิรูประบบราชการสมัยใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตความต้องการแรงงานเสรีสำหรับระบบธุรกิจการค้าแบบเสรี ซึ่งขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางภายหลังสนธิสัญญาบาวริงเป็นต้นมาความจำเป็นที่จะต้องแปลงไพร่ให้กลายเป็นทหารประจำการติดอาวุธสมัยใหม่ตามนโยบายปฏิรูปกิจการทหารของประเทศความจำเป็นในการลดกระแสกดดันจากลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตก
1.2 ขั้นตอนในการยกเลิกระบบไพร่
รัชกาลที่ 5 ทรงเริ่มต้นขึ้นใน พ.ศ.2413 ภายหลังที่ครองราชสมบัติได้เพียง 2 ปี โดยทรงตั้งกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ใน พ.ศ.2413 และทรงคัดเลือกเอาบรรดาราชวงศ์และบุตรหลานขุนนางที่ได้ถวายตัว ทั้งผู้ใหญ่และเด็กเป็นจำนวนมากกว่าพันคน โดยโปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุรศักดิ์มนตรี (แสง)เป็นผู้บังคับการคนแรก ครั้นถึง พ.ศ.2423 ทรงโปรดเกล้าฯให้พระยาสุรศักดิ์มนตรี(เจิม) จัดตั้งกรมทหารหน้า ต่อมาได้พัฒนามาเป็นกรมยุทธนาธิการและกระทรวงกลาโหมตามลำดับ โดยการรับสมัครบรรดาพวกไพร่ที่นายของตนตายหรือสิ้นพระชนม์มารับราชการเป็นทหารสมัครเป็นจำนวนมาก โดยมีการพระราชทานเงินให้คนละ 4 บาท ผ้า 1 สำรับ เพื่อเป็นสินน้ำใจแก่ทหารสมัครทุกคน บรรดาไพร่ที่มาสมัคร ล้วนแต่เป็นไพร่ที่มิได้รับการสักเลกที่ข้อมือเพื่อแสดงสังกัดทั้งสิ้น แสดงให้เห็นถึงการที่บรรดามูลนายเบียดบังไพร่ไว้ใช้ส่วนตัวกันมาก จากการรับสมัครในกรุงเทพฯก็ขยายออกไปยังหัวเมืองชั้นนอก ซึ่งมีคนมาสมัครกันเป็นจำนวนมากขึ้น ทางราชการจึงตอบแทนด้วยการแจกเครื่องแบบสักหลาดสีดำ 1 ชุด เงินเดือนๆละ 10 บาท รวมทั้งอาหาร 2 เวลาด้วย
ต่อมาใน พ.ศ.2431 ได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติทหาร ซึ่งสิทธิหน้าที่ของพลทหาร ทั้งทหารบกและทหารเรือ กล่าวคือ พลทหารสมัครจะต้องรับราชการไปจนครบ 10 ปี จึงจะครบเกษียณอายุ แต่ถ้ายังสมัครรับราชการต่อไปทางราชการก็จะเพิ่มเบี้ยหวัดให้จากเงินเดือนตามอัตราเดิมคือเดือนละ 2 บาท ส่วนเบี้ยหวัดจ่ายปีละครั้งเรียกว่า เงินปี ส่วนในราชการพิเศษถ้ามีความดีความชอบก็จะได้รับรางวัลเป็นครั้งคราว ไม่มีกำหนด เรียกว่า เงินรางวัล
พ.ศ.2434 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้ พระราชบัญญัติจัดการกรมยุทธนาธิการ โดยยกกรมยุทธนาธิการเดิมขึ้นเป็นกระทรวงยุทธนาธิการ มีหน้าที่บังคับบัญชาผู้คนที่เกี่ยวกับการทหารบก ทหารเรือ ตามแบบแผนใหม่ ขณะเดียวกันตามระเบียบเดิมก็เร่งรัดให้กรมพระสุรัสวดีนำตัวไพร่ที่หลบหนีการสักเลกมาสักเลกเป็นไพร่หลวง และเร่งรัดเก็บเงินค่าราชการจากไพร่ที่ไม่ประสงค์จะถูกเกณฑ์แรงงานมาทำงานให้กับทางราชการ
พ.ศ.2439 ได้มีการประกาศยกรมพระสุรัสวดีเข้ามาสังกัดกระทรวงกลาโหม ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2435 และใน พ.ศ.2439 ได้ประกาศให้บรรดาไพร่หลวงที่ไม่มาเข้าเดือนประจำการ ต้องเสียเงินแทนค่าแรงงานปีละ 18 ปี ส่วนไพร่ส่วยถ้าไม่ได้ส่งของต้องส่งเงินแทนตั้งแต่ 6-12 บาท ตามชนิดของสิ่งของที่ต้องเกณฑ์ส่ง และตั้งแต่ พ.ศ.2440 เป็นต้นไป บรรดาไพร่หลวงที่ต้องเสียเงินค่าราชการปีละเกิน 6 บาทขึ้นไป ให้เก็บเงินค่าราชการเพียงปีละ 6 บาทเท่านั้น
พ.ศ.2448 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะการเกณฑ์ทหารรัตนโกสินทร์ศก 124 โดยกำหนดให้ชายฉกรรจ์ที่มีอายุ 18 ปี รับราชการในกองประจำการมีกำหนด 2 ปี แล้วปลดไปเป็นกองหนุน ส่วนผู้ที่ได้รับราชการทหารในกองประจำการแล้ว ทรงโปรดเกล้าฯให้ผู้นั้นพ้นจากการเสียเงินค่าราชการใดๆจนตลอดชีวิต ทุกคนที่เป็นชายยกเว้นคนจีนและคนป่าดอยเท่านั้น จะต้องอยู่ภายใต้พระราชบัญญัตินี้ทั้งสิ้น ดังนั้นพระราชบัญญัติลักษณะการเกณฑ์ทหารรัตนโกสินทร์ศก 124 ฉบับนี้จึงถือได้ว่าเป็นการยกเลิกระบบไพร่ที่มานานในสังคมไทย
1.3 ผลของการยกเลิกระบบไพร่ ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมดังต่อไปนี้คือ
1)ผลกระทบทางตรง คือ ฐานอำนาจของขุนนางที่มีไพร่อยู่ในสังกัด ทั้งอำนาจการควบคุมกำลังคนก็ตกอยู่ในพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์โดยสิ้นเชิง ขุนนางไม่สามารถจะแสวงหาผลประโยชน์จากแรงงานของไพร่อีกต่อไป การมีกำลังคนอยู่ภายใต้การควบคุมของพระมหากษัตริย์โดยตรง จะทำให้พระมหากษัตริย์มีฐานอำนาจทางการเมืองที่มั่นคงยิ่งขึ้น
2)ผลกระทบทางอ้อม คือก่อให้เกิดการขยายตัวทางด้านธุรกิจการลงทุนมากขึ้น เพราะการเลิกระบบไพร่ได้ทำให้เกิดแรงงานเสรี ซึ่งจะสามารถสนองความต้องการแรงงานเสรีของระบบทุนนิยม ซึ่งกำลังเริ่มต้นในสังคมไทยภายหลังสนธิสัญญาบาวริงใน พ.ศ.2398 เป็นต้นมา และแรงงานเสรีจะเป็นแรงงานที่มีคุณภาพเพราะจะได้รับค่าตอบแทนจากนายจ้าง

2. การเลิกทาส2.1 สาเหตุในการเลิกทาส มีสาเหตุที่สำคัญดังต่อไปนี้
1) อิทธิพลของอารยธรรมตะวันตกที่มุ่งปลดปล่อยทาสให้เป็นเสรีชนได้แพร่ขยายเข้ามาในสังคมไทยภายหลังที่ไทยได้ติดต่อค้าขายกับประเทศตะวันตกอย่างกว้างขวาง ภายหลังการทำสนธิสัญญาบาวริง พ.ศ. 2398 เป็นต้นมา ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นแรงกระตุ้นให้รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดำริที่จะยกเลิกการมีทาสในสังคมไทย
2) อิทธิพลของลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตกที่กำลงส่อเค้าว่าจะคุกคามไทย ถ้าสังคมไทยยังมีลักษณะป่าเถื่อนล้าหลัง และพลเมืองส่วนใหญ่ยังตกเป็นทาส โดยที่มหาอำนาจตะวันตกจะถือเป็นข้ออ้างเข้ามาช่วยสร้างความเจริญให้ด้วยการเข้ามายึดครอง ดังนั้น การปรับสังคมด้วยการเลิกทาสย่อมเป็นการลดกระแสกดดันของลัทธิจักรวรรดินิยมได้
3) ความจำเป็นทางด้านเศรษฐกิจที่ต้องการแรงงานเสรีเพิ่มมากขึ้น โดยระบบการค้าเสรีที่เกิดขึ้นภายหลังสนธิสัญญาบาวริง ทำให้ธุรกิจการค้าและการผลิตต่างๆ ขยายตัวออกไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตข้าว ซึ่งการปลดปล่อยทาสให้มีอิสระในแรงงานของตนย่อมสนองตอบต่อความต้องการทางด้านแรงงานเสรีของระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ที่กำลังขยายตัว
4) ความจำเป็นทางด้านการปกครองที่รัชกาลที่ 5 ทรงมีแผนการปฏิรูประบบบริหารราชการให้ทันสมัย ดังนั้นเมื่อทรงมีแผนการเช่นนี้แล้ว การปลดปล่อยทาสให้เป็นเสรีชนย่อมจะสอดคล้องกับความต้องการกำลังคนซึ่งมีอิสระในแรงงานของตนเป็นอย่างมาก เพื่อรองรับการขยายงานของระบบบริหารราชการสมัยใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต
5) เกิดจากพระราชดำริของรัชกาลที่ 5 ซึ่งทรงมีพระราชประสงค์จะให้คนไทยมีความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกันทุกคน จึงมีพระราชดำริจะยกเลิกการมีทาสในสังคมไทย
2.2 ขั้นตอนการเลิกทาส
การปลดปล่อยทาสให้เป็นอิสระแก่ตนเองนั้นจำเป็นจะต้องค่อยเป็นค่อยไป เพราะสังคมไทยมีทาสมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ การยกเลิกทาสโดยฉับพลันย่อมจะกระทบกระเทือนต่อผลประโยชน์ของกลุ่มมูลนายที่มีทาสในครอบครอง ดังนั้นรัชกาลที่ 5 จึงทรงเตรียมแผนการในการเลิกทาสอย่างมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1) การออกประกาศให้ทำการสำรวจจำนวนทาสใน พ.ศ.2417 คือ ได้มีการประกาศให้ผู้ที่มีทาสในครอบครองได้ทำการสำรวจตรวจสอบจำนวนทาสในครอบครองของตนว่ามีอยู่เท่าไร รวมทั้งระยะเวลาที่ทาสจะต้องเป็นทาสจนกว่าจะพ้นค่าตัว ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสะดวกในการวางแผนขั้นต่อไป โดยเฉพาะให้มีการสำรวจและจดทะเบียนทาสที่เกิดตั้งแต่ปีมะโรง พ.ศ.2411 อันเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นมา ทั้งนี้เพื่อเตรียมการเอาไว้สำหรับการวางแผนเลิกทาสต่อไป
2) การประกาศใช้พระราชบัญญัติพิกัดกระเษียรอายุลูกทาสลูกไทย พ.ศ.2417 ซึ่งได้กำหนดแนวทางในการปฏิบัติดังนี้
(1) ถ้าทาสคนใดที่ถูกขายตัวเป็นทาสเกิดใน พ.ศ.2411 และในปีต่อๆ มาจนถึงอายุ 21 ปีให้พ้นค่าตัวเป็นไท ไม่ว่าทาสจะอยู่กับมูลนายเดิม หรือย้ายโอนไปอยู่กับนายมูลใหม่ ส่วนทาสที่เกิดก่อน พ.ศ.2411 ก็คงเป็นทาสต่อไปตามกฎหมายเดิม
(2) ถึงแม้ว่าบุคคลซึ่งเกิดตั้งแต่ พ.ศ.2411 เป็นต้นมานั้น จะได้รับการปลดปล่อยตามเงื่อนไขเวลาที่กล่าวมาแล้ว ต่อเมื่อถึง พ.ศ.2431 เป็นต้นไปก็ตาม แต่ก็สามารถได้รับการไถ่ถอนให้พ้นจากความเป็นทาสได้ในราคาพิเศษซึ่งถูกกว่าทาสที่เกิดก่อน พ.ศ.2411
(3) กำหนดว่าถ้าผู้ใดจะนำบุตรหลานของตนไปขายเป็นทาสซึ่งเกิดตั้งแต่ พ.ศ.2411 และมีอายุต่ำกว่า 15 ปีลงมาไปขายเป็นทาส จะต้องขายในอัตราซึ่งกำหนดไว้ในพิกัดกระเษียรอายุใหม่ในรัชกาลที่ 5
(4) ห้ามผู้ที่เกิดใน พ.ศ.2411 หรือบิดามารดาของตนเองขายตนเป็นทาส โดยที่ตนเองและบิดามารดากล่าวเท็จว่ามิได้เกิดใน พ.ศ.2411 จะต้องถูกลงโทษด้วย
(5) ห้ามมูลนายคิดค่าข้าว ค่าน้ำ กับเด็กชายหญิงที่ติดตามพ่อแม่ พี่น้อง ป้า น้า อา ของตนที่ขายตัวเป็นทาส จนกลายเป็นเจ้าหนี้ของเด็กและเอาเด็กเป็นทาสต่อไปด้วย
พระราชบัญญัติกระเษียรอายุลูกทาสลูกไทย พ.ศ.2417 นี้ มิได้ใช้บังคับในทุกมณฑล มีบางมณฑลมิได้บังคับใช้ คือ มณฑลตะวันตกเฉียงเหนือหรือมณฑลพายัพ มณฑลตะวันออกหรือมณฑลบูรพา มณฑลไทยบุรี กลันตัน ตรังกานู ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าขณะนั้นมณฑลเหล่านี้ยังเป็นประเทศราชอยู่ จึงไม่นับรวมเข้ามาในพระราชอาณาเขตตามความหมายของพระราชบัญญัตินี้
3) การประกาศเลิกทาสในมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ (มณฑลพายัพ) พ.ศ.2443
พ.ศ.2443 ได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติลักษณะทาสมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ โดยมุ่งหมายที่จะให้การเลิกทาสในมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือได้ดำเนินไปอย่างเป็นขั้นตอน ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน 2443 เป็นต้นไป
4) การประกาศแผนการเลิกทาสในมณฑลบูรพาใน พ.ศ.2447
พ.ศ.2447 ได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติลดค่าตัวทาสในมณฑลบูรพา เพื่อเตรียมการเลิกทาสในมณฑลบูรพาอย่างเป็นขั้นตอน แต่ต่อมาใน พ.ศ.2449 ไทยก็เสียมณฑลบูรพาให้แก่ฝรั่งเศส
5) การประกาศใช้พระราชบัญญัติทาสรัตนโกสินทร์ศก 124 ใน พ.ศ. 2448
พ.ศ.2448 รัชกาลที่ 5 ทรงโปรกเกล้าฯให้ตราพระราชบัญญัติทาสรัตนโกสินทร์ศก 124 ซึ่งถือว่าเป็นแผนการเลิกทาสขั้นสุดท้ายในรัชสมัยของพระองค์ ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้มีการกำหนดหลักการและวิธีการในการปลดปล่อยที่สำคัญบางประการ คือ
(1) กำหนดให้บรรดาลูกทาสที่เกิดมาไม่ต้องตกเป็นทาสในเรือนเบี้ยดังแต่ก่อนและห้ามคนที่เป็นไทแก่ตัวและทาสที่หลุดพ้นค่าตัวกลับไปเป็นทาสอีก
(2) ให้มีการลดค่าตัวทาสลงเดือนละ 4 บาท ซึ่งจะทำให้ทาสเป็นไทแก่ตัวเร็วขึ้น ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ทรงโปรดเกล้าฯให้ใช้ พระราชบัญญัติทาสรัตนโกสินทร์ศก 124 กับมณฑลพายัพอีกด้วย
จะเห็นได้ว่าพระบรมราชโองการปลดปล่อยทาสให้เป็นอิสระแก่ตนเองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวดำเนินไปในลักษณะอย่างเป็นขั้นตอน โดยอาศัยเวลาเพื่อให้เกิดการปรับตัวพร้อมที่จะรับต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของบรรดาเจ้าของทาส อันจะทำให้การปลดปล่อยทาสดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย และเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติในระยะต่อมา ทั้งนี้เป็นเพราะความสุขุมคัมภีรภาพของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยแท้

2.3 ผลกระทบอันเกิดจากการเลิกทาส
1) ทำให้บรรดาเจ้าของทาสต้องสูญเสียประโยชน์อันเกิดจากแรงงานทาสที่เคยได้รับมาเป็นเวลานาน
2) ทำให้เกิดแรงงานเสรี ซึ่งช่วยให้การดำเนินธุรกิจการลงทุนมีความคล่องตัวมากขึ้น เพราะมีแรงงานเสรีซึ่งเกิดจากการปลดปล่อยทาสในตลาดแรงงานมากขึ้น อันจะส่งผลให้การลงทุนทางด้านธุรกิจการค้าและการอุตสาหกรรมขยายตัวออกไปมากขึ้น

ที่ วันศุกร์, สิงหาคม 27

การปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5

การปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5

การปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5

การปฏิรูปสังคมไทยสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ.2411-2453

ในช่วงสมัยการเผชิญหน้ากับลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตก ประเทศไทยได้มีความพยายามที่จะปรับตัวเข้าสู่ความทันสมัยตามแบบตะวันตก เพื่อลดกระแสกดดันจากประเทศแถบตะวันตกที่มุ่งขยายอิทธิพลเข้าครอบงำประเทศไทยให้ลดน้อยลงจนถึงระดับปลอดภัย การปรับตัวที่สำคัญประการหนึ่งของไทย คือ การปฏิรูปสังคมและการศึกษาในสมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ.2411-2453) เพราะการปฏิรูปสังคมและการศึกษาได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ.2475

สภาพการณ์ทั่วไปก่อนการปฏิรูปสังคมและการศึกษาในสมัยรัชกาลที่ 5
1.สภาพการณ์ทางด้านการเมือง
การเมืองภายในก่อนสมัยรัชกาลที่ 5 มีสภาพอยู่ในระบบดั้งเดิม คือมีพระมหากษัตริย์ทรงปกครองราชอาณาจักรโดยอาศัยเสนาบดี ซึ่งมีหน้าที่บริราชการส่วนกลางรวมทั้งหมด 6 กรม คือ กลาโหม มหาดไทย เวียง วัง คลัง นา การปกครองหัวเมืองในส่วนภูมิภาค อยู่ภายใต้การควบคุมของเสนาบดี คือ สมุหพระกลาโหม ปกครองดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ สมุหนายกปกครองดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ โกษาธิบดี ปกครองดูแลหัวเมืองชายทะเลตะวันออก
สมัยรัชกาลที่ 4 (พ.ศ. 2394-2411) ทรงได้รับอิทธิพลทางด้านความคิดแบบเสรีตามอย่างตะวันตก คือ ทรงให้บรรดาขุนนางข้าราชการเลือกบุคคลที่เหมาะสมขึ้นดำรงตำแหน่งพระมหาราชครูปุโรหิตและพระมหาราชครูมหิธรซึ่งว่างลง โดยพระองค์จะทรงเข้าแรกแซงหรือยุ่งเกี่ยว แต่จะทรงเกี่ยวข้องก็เมื่อถึงเวลาที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งตามที่ขุนนางข้าราชการเสนอรายชื่อมาเท่านั้น
ทางด้านการเมืองภายนอก ไทยกำลังถูกคุกคามจากมหาอำนาจตะวันตก ซึ่งเริ่มมีท่าที่เห็นได้ชัดมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 เมื่ออังกฤษรุกรานพม่า และเกิดกระทบกระทั่งกับไทยเกี่ยวกับปัญหาเมืองไทรบุรีในมลายู นอกจากนั้นไทยได้มีการทำสนธิสัญญาเบอร์นีกับอังกฤษใน พ.ศ. 2369 และเมื่ออังกฤษได้ส่งเซอร์ เจมส์ บรู้ค (Sir James Brooke) เข้ามาเจรจาของแก้ไขสนธิสัญญากับไทยใน พ.ศ. 2393 แต่ไทยก็ได้ปฏิเสธที่จะแก้ไข จึงทำให้เกิดความวิกฤตในหมู่ผู้นำไทยบางกลุ่มที่เกรงว่าอังกฤษอาจะเปลี่ยนนโยบายจากการเจรจาด้วนสันติวิธีมาเป็นการเจรจาโดยใช้นโยบายอื่นบังคับไทยต่อไปในอนาคต ถ้ามีการเจรจาเกิดขึ้น
สมัยรัชกาลที่ 4 ไทยได้ทำสนธิสัญญาบาวริงกับอังกฤษใน พ.ศ.2398 เป็นผลทำให้ไทยต้องยกเลิกระบบการแบบผูกขาดโดยพระคลังสินค้า และเปลี่ยนมาเป็นนโยบายการค้าแบบเสรี โดยยอมสูญเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตให้อังกฤษ รวมทั้งการเก็บภาษีขาเข้าในอัตราร้อยละ 3 และอื่นๆ อีกหลายประการ นอกจากนั้นไทยยังต้องตกลงทำสนธิสัญญาในลักษณะเดียวกันที่ทำกับอังกฤษกับประเทศอื่นๆ อีกหลายประเทศ เพิ่มลดกระแสกดดันทางการเมืองและการทหารจากมหาอำนาจตะวันตก
นอกจากนี้ไทยยังไม่สามารถหลีกเลี่ยงการบีบคั้นจากมหาอำนาจตะวันตกได้อย่างสิ้นเชิง เช่น การยอมยกดินแดนเขมรส่วนในและเกาะต่างๆ อีก 6 เกาะ รวมเป็นเนื้อที่ 124,000 ตารางกิโลเมตรให้แก่ฝรั่งเศส โดยฝรั่งเศสยอมรับว่าไทยมีสิทธิเหนือเสียมราฐและพระตะบองเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2410

2.สภาพการณ์ทางด้านเศรษฐกิจ
ก่อนที่ไทยจะทำสนธิสัญญาบาวริงใน พ.ศ. 2398 ระบบเศรษฐกิจของไทยเป็นระบบเศรษฐกิจแบบผูกขาดทางด้านการค้าโดยพระคลังสินค้า การผลิตที่สำคัญเป็นการผลิตทางด้านการเกษตร ธุรกิจการค้าของเอกชนเป็นกาค้าขนาดเล็กที่มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันภายในราชอาณาจักร ส่วนการค้าขายกับต่างประเทศอยู่ในความควบคุมของพระลังสินค้า ที่ผูกขาดการซื้อขายสินค้าที่มีค่าหลายประเภทภายหลังเมื่อรัชกาลที่ 4 ได้ทรงทำสนธิสัญญาบาวริงกับอังกฤษแล้ว ระบบเศรษฐกิจการค้าของไทยได้เปลี่ยนแปลงเป็นระบบการค้าแบบเสรี ซึ่งทำให้ไทยได้มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศอย่างกว้างขวาง จะเห็นได้จากภายใน 19 เดือน นับแต่ลงนามในสนธิสัญญาบาวริง ได้มีเรือสินค้าเข้ามาในกรุงเทพฯถึง 130 ลำ และพ่อค้าในกรุงเทพฯ ก็ส่งเรือออกไปค้าขายต่างประเทศถึง 37 ลำ ซึ่งเรือที่เข้ามาค้าขายในกรุงเทพฯ เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมถึง 10 เท่า หมอบรัดเลย์ได้บันทึกไว้ว่าเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2399 มีเรือต่างประเทศมาทอดสมออยู่ในแม่น้ำถึง 60 ลำ และได้เพิ่มจำนวนเป็น 103 ลำในปลายปีเดียวกัน ส่วนพ่อค้าในกรุงเทพฯได้ส่งเรือออกไปค้าขายถึง 37 ลำ แสดงให้เห็นถึงข้อมูลที่ยืนยันถึงการขยายตัวทางการค้าอย่างแท้จริงผลของการทำสนธิสัญญาบาวริง ระบบการค้าเสรีได้ทำให้เศรษฐกิจแบบพึ่งตัวเองน้อยลง สินค้าเข้าแต่เดิมประกอบด้วยสินค้าประเภทฟุ่มเฟือย ซึ่งเป็นไปเพื่อการบริโภคของชนชั้นสูง เปลี่ยนมาเป็นสินค้าหลายชนิดเพื่อการบริโภคของคนทั่วไป ส่วนสินค้าออกของไทยสมัยก่อนจะเป็นสินค้าหลายๆชนิด ก็เปลี่ยนมาเป็นสินค้าเพียงไม่กี่ชนิด นอกจากนั้นการส่งข้าวออกไปขายยังต่างประเทศขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางตั้งแต่ พ.ศ.2398 เป็นต้นมา และไม่มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจแบบใดที่จะเกี่ยวข้องกับประชาชนจำนวนมากมายเท่ากับการทำนา ชาวนาได้ขยายการผลิตข้าวเพิ่มมากขึ้น ทำให้การปลูกพืชที่จำเป็นในการครองชีพอื่นๆน้อยลง
การขยายตัวในการผลิตข้าวเพื่อการส่งออก ทำให้ชาวนาต้องขยายที่นาออกไปและความจำเป็นในการใช้แรงงานก็มีมากขึ้น แต่ในขณะที่แรงงานคนไทยยังไม่มีความเป็นอิสระเพราะยังติดอยู่กับระบบไพร่และทาส รัชกาลที่ 4 ทรงเห็นความจำเป็นในการผลิตข้าวเพื่อการส่งออก จึงทรงสนับสนุนด้วยการลดหย่อนการเกณฑ์แรงงานตามระบบไพร่ลง เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้เวลาในการทำนามากขึ้น ส่วนงานก่อสร้างของหลวงที่ต้องใช้แรงงานจำนวนมากก็โปรดให้จ้างคนจีนมาทำแทน สำหรับคนไทยก็อาจจะใช้วิธีจ่ายเงินแทนการเกณฑ์แรงงานได้ ดังนั้นความจำเป็นในการใช้แรงงานเสรีภายหลังสนธิสัญญาบาวริงนี้ จึงมีส่วนผลักดันให้เกิดการยกเลิกระบบไพร่ในสมัยต่อมา

3.สภาพการณ์ทางด้านสังคม
สังคมไทยก่อนการปฏิรูปในสมัยรัชกาลที่ 5 ประกอบด้วย
1.พระมหากษัตริย์ ทรงมีฐานะประดุจดังเทวราชา ธรรมราชา และพุทธราชา ผสมผสานกันไป ดังนี้
1) เทวราชา คิตีนี้ถือกันว่าพระมหากษัตริย์ทรงดำรงฐานเป็นสมมติเทพตามคติของศาสนาพราหมณ์ที่ยึดถือกันมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา และถือว่าพระองค์เป็นประดุจดังพระนารายณ์หรือพระอิศวรผู้ทรงไว้ซึ่งมหิทธานุภาพ ซึ่งราษฎรจะต้องให้ความเคารพบูชา ดังนั้นพระมหากษัตริย์จึงทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน และยังคงมีการสืบทอดขนธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์ที่สะท้อนให้เห็นถึงคติของลัทธิเทวราชาที่ยังคงยึดถือปฏิบัติตามอย่างสมัยกรุงศรีอยุธยามาโดยตลอด เช่น การสร้างพระราชวัง การสร้างพระที่นั่ง การประกอบพระราชาพิธีต่างๆ การใช้คำราชาศัพท์ เป็นต้น
2) ธรรมราชา คตินี้ถือกันว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นธรรมราชา โดยได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพุทธ ซึ่งพระพุทธองค์ได้บัญญัติธรรมสำหรับกษัตริย์ผู้ปกครองแคว้นต่างๆ เอาไว้เรียกว่า ทศพิธราชธรรม และจักรวรรดิวัตร ซึ่งถ้ากษัตริย์พระองค์ใดทรงประพฤติปฏิบัติธรรมดังกล่าวได้ครบถ้วนแล้ว อาณาประชาราษฎร์ก็จะดำรงอยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสุข
3) พุทธราชา คตินี้สืบทอดมาจากความเป็นธรรมราชาของพระมหากษัตริย์ ถ้าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดทรงประพฤติปฏิบัติทศพิธรราธรรมและจักรวรรดิวัตรอย่างเคร่งครัดก็เปรียบเสมือนพระองค์ทรงบำเพ็ญพระบารมีในฐานะพระโพธิสัตว์ เพื่อจะได้ไปตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในภพต่อๆไป ดังนั้นพระมหากษัตริย์จึงทรงมีฐานะประดุจดังพุทธราชา
คตินิยมเช่นนี้ เห็นได้จากพระนามของรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2 ซึ่งมีคำว่า พุทธ นำหน้าพระปรมาภิไธย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงถวายพระนามรัชกาลที่ 1 ว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และถวายพระนามรัชกาลที่ 2 ว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นการกล่าวย้ำให้เห็นความเป็นพุทธราชาของพระมหากษัตริย์ทั้ง 2 พระองค์
2. พระบรมวงศานุวงศ์
พระบรมวงศานุวงศ์ล้วนแต่เป็นพระญาติวงศ์ของพระมหากษัตริย์ ซึ่งตำแหน่งของพระบรมวงศานุวงศ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สกุลยศและอิสริยยศ สกุลยศ คือ สิ่งที่แสดงถึงความเป็นผู้สืบสายเลือดของความเป็นเจ้า ได้แก่ เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า และหม่อมเจ้า ส่วนอิสริยยศ คือ พระยศที่พระมหากษัตริย์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนขึ้น เช่น มหาอุปราช กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ กรมสมเด็จพระ เป็นต้น
3. ขุนนาง
บุคคลที่รับราชาการแผ่นดิน มีศักดินา ยศ ราชทินนามและตำแหน่งเป็นเครื่องชี้บอกถึงอำนาจและเกียรติยศ หรือบรรดาข้าราชการของแผ่นดิน แต่ข้าราชการบางคนอาจจะไม่ได้มีฐานเป็นขุนนางก็ได้ เพราะการเป็นขุนนางนั้นจะต้องอยู่กับศักดินาของตน กล่าวคือผู้ที่มีศักดินา 400 ไร่ขึ้นไปก็จะได้เป็นขุนนาง ยกเว้นพวกมหาดเล็ก เพราะว่าเป็นขุนนางอยู่แล้ว ส่วนข้าราชการแผ่นดินที่มีศักดินาต่ำ 400 ไร่ยังมิได้เรียกว่าเป็นขุนนาง แต่จะอนุโลมเรียกว่าข้าราชการ ยศของขุนนางมี 8 ลำดับ จากสูงสุดไปหาต่ำสุด มีดังนี้ สมเด็จเจ้าพระยา เจ้าพระยา พระยา พระ หลวง ขุน หมิ่น และพัน ศักดินาของสมเด็จเจ้าพระจะอยู่ในระดับ 30,000 ไร่ นับว่าสูงสุดในบรรดาขุนนางทั้งหลาย ส่วนพันถือศักดินา 100-400 ไร่ หมื่นถือศักดินา 200-800 ไร่ ขุนนางถือศักดินา 200-1,000 ไร่ สำหรับขุนนางที่มียศเป็นหลวงขึ้นไปมีศักดินาได้ไม่ต่ำกว่า 800 ไร่ขึ้นไป แสดงว่าผู้ที่เป็นพัน หมื่น ขุน อาจไม่ได้เป็นขุนนางถ้าศักดินาไม่ถึง 400 ไร่ ดังนั้นสิทธิ์เป็นขุนนางได้ต้องมีศักดินาถึง 400 ไร่ขึ้นไป
สิทธิ์ตามกฎหมายของขุนนาง มีดังนี้
1.ได้รับการยกเว้นจากการเกณฑ์แรงงาน และต่อเนื่องไปถึงบุตรของขุนนางด้วย
2.ข้าราชการที่มียศต่ำกว่าขุนนาง คือ มีศักดินาไม่ถึง 400 ไร่ จะได้รับเอกสารยกเว้นการสักเป็นรายบุคคล แต่เอกสารนี้ไม่ได้รวมไปถึงลูกของข้าราชการ และการได้มาถึงเอกสารดังกล่าวจะต้องจ่ายเงินให้กับนายของตนเป็นการตอบแทนด้วย
3.ผู้ที่มีศักดินา 400 ไร่ขึ้นไป จะได้รับสิทธิเข้าเฝ้าในการเสด็จออกขุนนาง และถ้ามีคดีขึ้นศาลได้รับอนุญาตให้ผู้อื่นขึ้นศาลแทนตนได้อีกด้วย
4.ก่อน พ.ศ.2367 ขุนนางได้รับการยกเว้นภาษีที่นา ส่วนกฎหมายลักษณะมรดกให้สิทธิ์แก่คนที่ถือศักดินาตั้งแต่ 400 ไร่ขึ้นไปในการแบ่งมรดกเมื่อคนผู้นั้นถึงแก่กรรมแล้ว
5.ได้รับการคุ้มครองในเรื่องเกียรติยศ กล่าวคือผู้ใดใช้ถ้อยคำหยาบคายกับผู้ถือศักดินาตั้งแต่ 400 ไร่ขึ้นไปจะถูกลงโทษอย่างหนัก
6.ขุนนางสามารถมีไพร่จำนวนหนึ่งเป็นเสมียนทนายของตนได้ตามยศของตน และตามกฎหมายแล้วขุนนางจะไปไหนมาไหนโดยไม่มีคนรับใช้ไม่ได้4. ไพร่
คนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นราษฎรสามัญชนหรือไพร่นั้น คือ ชายฉกรรจ์ที่ต้องสังกัดอยู่กับเจ้าขุนมูลนายที่ตนสมัครอยู่ด้วย แบ่งตามสังกัดออกเป็น 2 ประเภท คือ
1) ไพร่สม หมายถึง ไพร่ที่เป็นชายฉกรรจ์ที่มีอายุ 18 ปี จะต้องขึ้นทะเบียนสังกัดมูลนาย( เจ้านายหรือขุนนาง) ตามกฎหมายกำหนด เพื่อรับใช้มูลนายเป็นการส่วนตัว เพื่อว่ามูลนายจะได้รู้สึกเป็นเกียรติ และเป็นกำลังให้มูลนายที่รับใช้งานของพระมหากษัตริย์ให้ดำเนินไปด้วยดีไม่มีอุปสรรค ไพร่สมจึงสมบัติของนายมูลนายและต้องรับใช้มูลนายยังมีชีวิตอยู่ในตำแหน่งราชาการ เนื่องจากสมัยก่อนขุนนางข้าราชการยังไม่มีเงินเดือน ดังนั้นการควบคุมไพร่ของมูลนายจึงหมายถึงผลประโยชน์ เช่น การได้รับส่วนลดจากการเก็บเงินค่าราชการหรือได้รับของกำนัลจากไพร่ แต่เมื่อนายมูลถึงแก่กรรมไพร่สมจะถูกโอนเป็นไพร่หลวง
2) ไพร่หลวง ไพร่สมที่มีอายุ 20 ปี มีหน้าที่รับราชการอยู่ในกรมกองต่าง ๆ มีขุนนางเป็นผู้ดูแลควบคุม ในยามศึกสงครามต้องออกรบป้องกันบ้านเมือง ในยามบ้านเมืองปกติต้องทำงานให้แก่แผ่นดินปีละ 6 เดือน และออกไปประกอบอาชีพ 6 เดือน สลับเดือนไปจนครบ 6 เดือน เรียกว่า การเข้าเดือนออกเดือน หรือการเข้าเวรรับราชการ คือ เข้าเวร 1 เดือน ออกเวร 1 เดือนสลับกันไป จนครบ 6 เดือน ต่อมาสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น(รัชกาลที่ 1) ไพร่หลวงถูกเกณฑ์แรงงานปีละ 4 เดือน คือ เข้าเวร 1 เดือน ออกเวร 2 เดือน สลับกันไป หากบ้านเมืองว่างเว้นจากสงครามเป็นเวลานานจะมีการผ่อนผันให้ไพร่หลวงส่งสิ่งของ ซึ่งเป็นทรัพย์กรในท้องถิ่น หรือ เงิน (เดือนละ 2 บาท หรือปีละ 12 บาท แทนการเข้าเวรรับราชการ ไพร่หลวงที่ส่งสิ่งของหรือเงิน แทนการเข้าเวรรับราชการนี้ เรียกว่า ไพร่ส่วย ฐานะโดยทั่วไปของไพร่นั้นอาจมีอิสระในด้านแรงงานของตนเองอยู่บ้าง แต่ไม่ทั้งหมด เพราะไพร่หลวงนั้นปีหนึ่งจะต้องถูกเกณฑ์แรงงานไปทำงานให้กับทางราชการ 4 เดือนบ้าง 3 เดือนบ้าง ส่วนในเรื่องการฟ้องร้องขึ้นโรงขึ้นศาล ไพร่ไม่มีสิทธิ์ตั้งทนายของตนเอง อีกทั้งไพร่จุถูกจำกัดสิทธิ์ในการเคลื่อนย้ายที่อยู่เพื่อความสะดวกในการเกณฑ์แรงงาน นอกจากนี้ถ้าไพร่เรียกชื่อยศตำแหน่งขุนนางผิดไปจากความเป็นจริงจะต้องถูกปรับโทษ ส่วนในเรืองการปรับไหม ไพร่ก็เสียเปรียบขุนนาง เพราะเมื่อเวลาขุนนางทำผิดต่อไพร่ก็จะใช้ศักดินาขุนนางปรับขุนนาง แต่เมื่อไพร่ทำผิดต่อขุนนาง กลับไม่ใช้ศักดินาไพร่ปรับไพร่ แต่ใช้ศักดินาของขุนนางปรับไพร่ อย่างไรก็ตาม ไพร่ก็ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายถ้าตนเองมีมูลนายต้นสังกัดหรือไพร่ที่มีศักดินาระหว่าง 10-25 ไร่ แล้วแต่ลักษณะและประเภทของไพร่ นอกจากนี้ไพร่สามารถมอบที่ดินให้แก่บุตรหลานของตนเองได้ ถ้าใครบุกรุกจะถูกปรับ แต่ถ้าบุตรหลานปล่อยให้ที่ดินรกร้างว่างเปล่าเป็นเวลา 9-10 ปี ไม่ทำให้ผลผลิตงอกเงย ที่ดินผืนนั้นต้องยกให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์ต่อไป นอกจากนี้ไพร่ยังสามารถเปลี่ยนฐานะตนเองได้เป็น 2 ระดับ คือ ถ้าเลื่อนระดับก็เป็นขุนนาง ถ้าลดระดับก็เป็นทาส
3.5 ทาส
ทาส คือ ราษฎรสามัญชนอีกประเภทหนึ่ง ที่มิได้มีกรรมสิทธิ์ในแรงงานและชีวิตของตนเอง แต่จะตกเป็นของนายจนกว่าจะได้รับการไถ่ตัวพ้นจากความเป็นทาส ซึ่งนายมีสิทธิ์ในการซื้อขายทาสได้ ลงโทษทุบตีทาสได้ แต่จะให้ถึงตายไม่ได้ ทาสมีศักดินาเพียง 5 ไร่เท่านั้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ก่อนจะมีการประกาศเลิกทาสในสมัยรัชกาลที่ 5 แบ่งออกเป็น 7 ประเภท คือ
1) ทาสสินไถ่ คือ ทาสที่ขายตนเองให้เป็นท่าน ต้องหาเงินมาไถ่ถอนตนเองจึงเป็นอิสระได้
2) ทาสในเรือนเบี้ย คือ ลูกทาสที่เกิดมาในเวลาที่พ่อแม่ของตนเป็นทาส
3) ทาสได้มาจากบิดามารดา คือ ทาสที่ได้มาจากบิดามารดให้ยกให้เป็นทาส
4) ทาสท่านให้ คือ ทาสที่ได้มาจากบุคคลฝ่ายหนึ่ง โดยให้บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง
5) ทาสทุพภิกภัย คือ ทาสที่ขายตนเองให้เป็นทาสในยามข้างยากหมากแพง
6) ทาสที่ได้จากการช่วยเหลือให้คนพ้นโทษทัณฑ์
7) ทาสเชลย คือ ทาสที่ได้มาจากศึกสงคราม
สิทธิโดยทั่วไปของเจาของทาสนั้นมีสิทธิ์ที่จะลงโทษทัณฑ์ จำโซ่ตรวน ขื่อคา หวดด้วยหนัง หรือสามารถทำทารุณกรรมต่างๆ กับทาสของตนเองได้ถึงบาดเจ็บสาหัส หรือแม้แต่ตาบอกก็ทำได้ แต่อย่าให้ถึงตายเท่านั้น รวมทั้งนายมีอำนาจสั่งทาสของตนให้ไปรับโทษคดีใดๆแทนบุตรภรรยาและญาติพี่น้องของนายเงินได้ นอกจากนี้นายยังมีอำนาจที่จะสั่งให้ทาสไปราชการแทนได้เช่นกัน แม้ราชการนั้นจะเป็นเหตุให้ทาสต้องตายก็ตาม ถ้านายทาสสั่งให้ทาสดูแลรักษาสิ่งของใดๆ ถ้าหากทรัพย์สินสิ่งของนั้นแตกหักเสียหาย ทาสก็ต้องใช้ราคาแก่นายทาสจนเต็ม นอกจากนั้นนายทาสมีสิทธิ์ที่จะขับทาสออกไปจากบ้านได้หรือสามารถขายทาสได้ เมื่อตนไม่สามารถเลี้ยงดูทาสนั้นต่อไปได้ หรือถ้าหากทาสหลบหนีไปแห่งใด เมื่อเจ้าเบี้ยนายเงินได้จ่ายเงินเป็นค่าบำเหน็จรางวัลแก่ผู้คุมตัวทาสมาได้เท่าได้ เจ้าของทาสมีสิทธิ์คิดเงินจากทาสที่หลบหนี้ได้ทั้งหมด เป็นต้น
จะเห็นได้ว่า อำนาจของนายมที่มีเหนือทาสนั้นมากพอที่จะผลทำให้ทาสหมดอิสรภาพในตนเอง ตราบใดที่ยังไม่หลุดพ้นจากความเป็นทาส ตราบนั้นก็ไม่มีโอกาสที่จะมีกรรมสิทธิ์ในแรงงานของตนเองได้ แต่โอกาสที่ทาสจะได้รับการปลดปล่อยให้หลุดพ้นจากความเป็นทาสก็ต่อเมื่อกรณีต่อไปนี้
1.หาเงินมาไถ่ถอนตัวเอง
2.นายทาสอนุญาตบวชเป็นพระภิกษุ
3.เมื่อเกิดศึกสงครามรับอาสาไปรบ และรอดกลับมา หรือถูกจับเป็นเชลย แต่หนีรอดกลับมาได้ ถือว่าทาสผู้นั้นเป็นอิสระ
4.ได้รับอนุญาตให้แต่งงานกับนายทาส และลูกที่เกิดมาก็พ้นจากความเป็นทาสด้วย
ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นทาสมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จนกระทั่งในตอนปลายรัชกาลที่ 3 คาดว่าผู้ที่เป็นทาสมีจำนวนถึง 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมด นอกจากนี้คนที่ตกเป็นทาสก็เพราะมีหนี้สินเป็นจำนวนมาก ทั้งพวกชาวนาส่วนใหญ่ที่ต้องเป็นหนี้สินก็เนื่องมาจากการเก็บเกี่ยวที่ไม่ได้ผล แต่ก็มีคนอีกเป็นจำนวนมากที่ยอมขายตัวเพื่อจะได้ไม่ต้องถูกเกณฑ์ไปทำงาน นอกจากนี้ในปลายรัชกาลที่ 3 ยังมีทาสอีกพวกหนึ่ง คือ ทาสเชลย ซึ่งมีอยู่ถึง 46,000 คน
ในสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงอนุญาตให้ไพร่เสียเงินแทนการถูกเกณฑ์แรงงาน และโปรดให้จ้างกรรมกรซึ่งส่วนมากเป็นคนจีนทำงานก่อนสร้างที่ต้องใช้เวลาและแรงงานเป็นจำนวนมาก แต่ถึงกระนั้นการเกณฑ์แรงงานไพร่ก็ยังคงมีอยู่ต่อไปมิได้ถูกยกเลิกไป เพราะทรงเกรงว่า ถ้าเปลี่ยนสถานะของไพร่ให้มีกรรมสิทธิ์ในแรงงานจะทำให้ขุนนางไม่พอใจ
ในสมัยรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2410 ทรงประกาศห้ามบิดามารดาหรือสามีขายบุตรภรรยาลงเป็นทาสโดยเจ้าตัวไม่สมัครใจ โดยทรงพิจารณาว่าไม่เป็นการยุติธรรมสำหรับเด็กและสตรี นอกจากนี้ยังทรงประกาศให้เสรีภาพแก่สตรีที่มีอายุบรรลุนิติภาวะแล้ว มีสิทธิ์เลือกสามีได้โดยบิดาจะบังคับมิได้อีกด้วย นับได้ว่าเป็นการเริ่มต้นการปลดปล่อยให้สตรีมีความเป็นอิสระแก่ตนเองมากยิ่งขึ้น

4.การปฏิรูปสังคมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)
1.การยกเลิกระบบไพร่1.1 สาเหตุในการยกเลิกระบบไพร่ ซึ่งเป็นระบบที่มีในสังคมไทยเป็นเวลาช้านาน เพราะอิทธิพลจากโลกตะวันตก ที่ให้ประชาชนมีอิสระในแรงงานของตนหรือที่เรียกว่า เสรีชนความต้องการด้านกำลังคน สำหรับรองรับการปฏิรูประบบราชการสมัยใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตความต้องการแรงงานเสรีสำหรับระบบธุรกิจการค้าแบบเสรี ซึ่งขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางภายหลังสนธิสัญญาบาวริงเป็นต้นมาความจำเป็นที่จะต้องแปลงไพร่ให้กลายเป็นทหารประจำการติดอาวุธสมัยใหม่ตามนโยบายปฏิรูปกิจการทหารของประเทศความจำเป็นในการลดกระแสกดดันจากลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตก
1.2 ขั้นตอนในการยกเลิกระบบไพร่
รัชกาลที่ 5 ทรงเริ่มต้นขึ้นใน พ.ศ.2413 ภายหลังที่ครองราชสมบัติได้เพียง 2 ปี โดยทรงตั้งกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ใน พ.ศ.2413 และทรงคัดเลือกเอาบรรดาราชวงศ์และบุตรหลานขุนนางที่ได้ถวายตัว ทั้งผู้ใหญ่และเด็กเป็นจำนวนมากกว่าพันคน โดยโปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุรศักดิ์มนตรี (แสง)เป็นผู้บังคับการคนแรก ครั้นถึง พ.ศ.2423 ทรงโปรดเกล้าฯให้พระยาสุรศักดิ์มนตรี(เจิม) จัดตั้งกรมทหารหน้า ต่อมาได้พัฒนามาเป็นกรมยุทธนาธิการและกระทรวงกลาโหมตามลำดับ โดยการรับสมัครบรรดาพวกไพร่ที่นายของตนตายหรือสิ้นพระชนม์มารับราชการเป็นทหารสมัครเป็นจำนวนมาก โดยมีการพระราชทานเงินให้คนละ 4 บาท ผ้า 1 สำรับ เพื่อเป็นสินน้ำใจแก่ทหารสมัครทุกคน บรรดาไพร่ที่มาสมัคร ล้วนแต่เป็นไพร่ที่มิได้รับการสักเลกที่ข้อมือเพื่อแสดงสังกัดทั้งสิ้น แสดงให้เห็นถึงการที่บรรดามูลนายเบียดบังไพร่ไว้ใช้ส่วนตัวกันมาก จากการรับสมัครในกรุงเทพฯก็ขยายออกไปยังหัวเมืองชั้นนอก ซึ่งมีคนมาสมัครกันเป็นจำนวนมากขึ้น ทางราชการจึงตอบแทนด้วยการแจกเครื่องแบบสักหลาดสีดำ 1 ชุด เงินเดือนๆละ 10 บาท รวมทั้งอาหาร 2 เวลาด้วย
ต่อมาใน พ.ศ.2431 ได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติทหาร ซึ่งสิทธิหน้าที่ของพลทหาร ทั้งทหารบกและทหารเรือ กล่าวคือ พลทหารสมัครจะต้องรับราชการไปจนครบ 10 ปี จึงจะครบเกษียณอายุ แต่ถ้ายังสมัครรับราชการต่อไปทางราชการก็จะเพิ่มเบี้ยหวัดให้จากเงินเดือนตามอัตราเดิมคือเดือนละ 2 บาท ส่วนเบี้ยหวัดจ่ายปีละครั้งเรียกว่า เงินปี ส่วนในราชการพิเศษถ้ามีความดีความชอบก็จะได้รับรางวัลเป็นครั้งคราว ไม่มีกำหนด เรียกว่า เงินรางวัล
พ.ศ.2434 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้ พระราชบัญญัติจัดการกรมยุทธนาธิการ โดยยกกรมยุทธนาธิการเดิมขึ้นเป็นกระทรวงยุทธนาธิการ มีหน้าที่บังคับบัญชาผู้คนที่เกี่ยวกับการทหารบก ทหารเรือ ตามแบบแผนใหม่ ขณะเดียวกันตามระเบียบเดิมก็เร่งรัดให้กรมพระสุรัสวดีนำตัวไพร่ที่หลบหนีการสักเลกมาสักเลกเป็นไพร่หลวง และเร่งรัดเก็บเงินค่าราชการจากไพร่ที่ไม่ประสงค์จะถูกเกณฑ์แรงงานมาทำงานให้กับทางราชการ
พ.ศ.2439 ได้มีการประกาศยกรมพระสุรัสวดีเข้ามาสังกัดกระทรวงกลาโหม ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2435 และใน พ.ศ.2439 ได้ประกาศให้บรรดาไพร่หลวงที่ไม่มาเข้าเดือนประจำการ ต้องเสียเงินแทนค่าแรงงานปีละ 18 ปี ส่วนไพร่ส่วยถ้าไม่ได้ส่งของต้องส่งเงินแทนตั้งแต่ 6-12 บาท ตามชนิดของสิ่งของที่ต้องเกณฑ์ส่ง และตั้งแต่ พ.ศ.2440 เป็นต้นไป บรรดาไพร่หลวงที่ต้องเสียเงินค่าราชการปีละเกิน 6 บาทขึ้นไป ให้เก็บเงินค่าราชการเพียงปีละ 6 บาทเท่านั้น
พ.ศ.2448 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะการเกณฑ์ทหารรัตนโกสินทร์ศก 124 โดยกำหนดให้ชายฉกรรจ์ที่มีอายุ 18 ปี รับราชการในกองประจำการมีกำหนด 2 ปี แล้วปลดไปเป็นกองหนุน ส่วนผู้ที่ได้รับราชการทหารในกองประจำการแล้ว ทรงโปรดเกล้าฯให้ผู้นั้นพ้นจากการเสียเงินค่าราชการใดๆจนตลอดชีวิต ทุกคนที่เป็นชายยกเว้นคนจีนและคนป่าดอยเท่านั้น จะต้องอยู่ภายใต้พระราชบัญญัตินี้ทั้งสิ้น ดังนั้นพระราชบัญญัติลักษณะการเกณฑ์ทหารรัตนโกสินทร์ศก 124 ฉบับนี้จึงถือได้ว่าเป็นการยกเลิกระบบไพร่ที่มานานในสังคมไทย
1.3 ผลของการยกเลิกระบบไพร่ ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมดังต่อไปนี้คือ
1)ผลกระทบทางตรง คือ ฐานอำนาจของขุนนางที่มีไพร่อยู่ในสังกัด ทั้งอำนาจการควบคุมกำลังคนก็ตกอยู่ในพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์โดยสิ้นเชิง ขุนนางไม่สามารถจะแสวงหาผลประโยชน์จากแรงงานของไพร่อีกต่อไป การมีกำลังคนอยู่ภายใต้การควบคุมของพระมหากษัตริย์โดยตรง จะทำให้พระมหากษัตริย์มีฐานอำนาจทางการเมืองที่มั่นคงยิ่งขึ้น
2)ผลกระทบทางอ้อม คือก่อให้เกิดการขยายตัวทางด้านธุรกิจการลงทุนมากขึ้น เพราะการเลิกระบบไพร่ได้ทำให้เกิดแรงงานเสรี ซึ่งจะสามารถสนองความต้องการแรงงานเสรีของระบบทุนนิยม ซึ่งกำลังเริ่มต้นในสังคมไทยภายหลังสนธิสัญญาบาวริงใน พ.ศ.2398 เป็นต้นมา และแรงงานเสรีจะเป็นแรงงานที่มีคุณภาพเพราะจะได้รับค่าตอบแทนจากนายจ้าง

2. การเลิกทาส2.1 สาเหตุในการเลิกทาส มีสาเหตุที่สำคัญดังต่อไปนี้
1) อิทธิพลของอารยธรรมตะวันตกที่มุ่งปลดปล่อยทาสให้เป็นเสรีชนได้แพร่ขยายเข้ามาในสังคมไทยภายหลังที่ไทยได้ติดต่อค้าขายกับประเทศตะวันตกอย่างกว้างขวาง ภายหลังการทำสนธิสัญญาบาวริง พ.ศ. 2398 เป็นต้นมา ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นแรงกระตุ้นให้รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดำริที่จะยกเลิกการมีทาสในสังคมไทย
2) อิทธิพลของลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตกที่กำลงส่อเค้าว่าจะคุกคามไทย ถ้าสังคมไทยยังมีลักษณะป่าเถื่อนล้าหลัง และพลเมืองส่วนใหญ่ยังตกเป็นทาส โดยที่มหาอำนาจตะวันตกจะถือเป็นข้ออ้างเข้ามาช่วยสร้างความเจริญให้ด้วยการเข้ามายึดครอง ดังนั้น การปรับสังคมด้วยการเลิกทาสย่อมเป็นการลดกระแสกดดันของลัทธิจักรวรรดินิยมได้
3) ความจำเป็นทางด้านเศรษฐกิจที่ต้องการแรงงานเสรีเพิ่มมากขึ้น โดยระบบการค้าเสรีที่เกิดขึ้นภายหลังสนธิสัญญาบาวริง ทำให้ธุรกิจการค้าและการผลิตต่างๆ ขยายตัวออกไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตข้าว ซึ่งการปลดปล่อยทาสให้มีอิสระในแรงงานของตนย่อมสนองตอบต่อความต้องการทางด้านแรงงานเสรีของระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ที่กำลังขยายตัว
4) ความจำเป็นทางด้านการปกครองที่รัชกาลที่ 5 ทรงมีแผนการปฏิรูประบบบริหารราชการให้ทันสมัย ดังนั้นเมื่อทรงมีแผนการเช่นนี้แล้ว การปลดปล่อยทาสให้เป็นเสรีชนย่อมจะสอดคล้องกับความต้องการกำลังคนซึ่งมีอิสระในแรงงานของตนเป็นอย่างมาก เพื่อรองรับการขยายงานของระบบบริหารราชการสมัยใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต
5) เกิดจากพระราชดำริของรัชกาลที่ 5 ซึ่งทรงมีพระราชประสงค์จะให้คนไทยมีความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกันทุกคน จึงมีพระราชดำริจะยกเลิกการมีทาสในสังคมไทย
2.2 ขั้นตอนการเลิกทาส
การปลดปล่อยทาสให้เป็นอิสระแก่ตนเองนั้นจำเป็นจะต้องค่อยเป็นค่อยไป เพราะสังคมไทยมีทาสมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ การยกเลิกทาสโดยฉับพลันย่อมจะกระทบกระเทือนต่อผลประโยชน์ของกลุ่มมูลนายที่มีทาสในครอบครอง ดังนั้นรัชกาลที่ 5 จึงทรงเตรียมแผนการในการเลิกทาสอย่างมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1) การออกประกาศให้ทำการสำรวจจำนวนทาสใน พ.ศ.2417 คือ ได้มีการประกาศให้ผู้ที่มีทาสในครอบครองได้ทำการสำรวจตรวจสอบจำนวนทาสในครอบครองของตนว่ามีอยู่เท่าไร รวมทั้งระยะเวลาที่ทาสจะต้องเป็นทาสจนกว่าจะพ้นค่าตัว ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสะดวกในการวางแผนขั้นต่อไป โดยเฉพาะให้มีการสำรวจและจดทะเบียนทาสที่เกิดตั้งแต่ปีมะโรง พ.ศ.2411 อันเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นมา ทั้งนี้เพื่อเตรียมการเอาไว้สำหรับการวางแผนเลิกทาสต่อไป
2) การประกาศใช้พระราชบัญญัติพิกัดกระเษียรอายุลูกทาสลูกไทย พ.ศ.2417 ซึ่งได้กำหนดแนวทางในการปฏิบัติดังนี้
(1) ถ้าทาสคนใดที่ถูกขายตัวเป็นทาสเกิดใน พ.ศ.2411 และในปีต่อๆ มาจนถึงอายุ 21 ปีให้พ้นค่าตัวเป็นไท ไม่ว่าทาสจะอยู่กับมูลนายเดิม หรือย้ายโอนไปอยู่กับนายมูลใหม่ ส่วนทาสที่เกิดก่อน พ.ศ.2411 ก็คงเป็นทาสต่อไปตามกฎหมายเดิม
(2) ถึงแม้ว่าบุคคลซึ่งเกิดตั้งแต่ พ.ศ.2411 เป็นต้นมานั้น จะได้รับการปลดปล่อยตามเงื่อนไขเวลาที่กล่าวมาแล้ว ต่อเมื่อถึง พ.ศ.2431 เป็นต้นไปก็ตาม แต่ก็สามารถได้รับการไถ่ถอนให้พ้นจากความเป็นทาสได้ในราคาพิเศษซึ่งถูกกว่าทาสที่เกิดก่อน พ.ศ.2411
(3) กำหนดว่าถ้าผู้ใดจะนำบุตรหลานของตนไปขายเป็นทาสซึ่งเกิดตั้งแต่ พ.ศ.2411 และมีอายุต่ำกว่า 15 ปีลงมาไปขายเป็นทาส จะต้องขายในอัตราซึ่งกำหนดไว้ในพิกัดกระเษียรอายุใหม่ในรัชกาลที่ 5
(4) ห้ามผู้ที่เกิดใน พ.ศ.2411 หรือบิดามารดาของตนเองขายตนเป็นทาส โดยที่ตนเองและบิดามารดากล่าวเท็จว่ามิได้เกิดใน พ.ศ.2411 จะต้องถูกลงโทษด้วย
(5) ห้ามมูลนายคิดค่าข้าว ค่าน้ำ กับเด็กชายหญิงที่ติดตามพ่อแม่ พี่น้อง ป้า น้า อา ของตนที่ขายตัวเป็นทาส จนกลายเป็นเจ้าหนี้ของเด็กและเอาเด็กเป็นทาสต่อไปด้วย
พระราชบัญญัติกระเษียรอายุลูกทาสลูกไทย พ.ศ.2417 นี้ มิได้ใช้บังคับในทุกมณฑล มีบางมณฑลมิได้บังคับใช้ คือ มณฑลตะวันตกเฉียงเหนือหรือมณฑลพายัพ มณฑลตะวันออกหรือมณฑลบูรพา มณฑลไทยบุรี กลันตัน ตรังกานู ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าขณะนั้นมณฑลเหล่านี้ยังเป็นประเทศราชอยู่ จึงไม่นับรวมเข้ามาในพระราชอาณาเขตตามความหมายของพระราชบัญญัตินี้
3) การประกาศเลิกทาสในมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ (มณฑลพายัพ) พ.ศ.2443
พ.ศ.2443 ได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติลักษณะทาสมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ โดยมุ่งหมายที่จะให้การเลิกทาสในมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือได้ดำเนินไปอย่างเป็นขั้นตอน ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน 2443 เป็นต้นไป
4) การประกาศแผนการเลิกทาสในมณฑลบูรพาใน พ.ศ.2447
พ.ศ.2447 ได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติลดค่าตัวทาสในมณฑลบูรพา เพื่อเตรียมการเลิกทาสในมณฑลบูรพาอย่างเป็นขั้นตอน แต่ต่อมาใน พ.ศ.2449 ไทยก็เสียมณฑลบูรพาให้แก่ฝรั่งเศส
5) การประกาศใช้พระราชบัญญัติทาสรัตนโกสินทร์ศก 124 ใน พ.ศ. 2448
พ.ศ.2448 รัชกาลที่ 5 ทรงโปรกเกล้าฯให้ตราพระราชบัญญัติทาสรัตนโกสินทร์ศก 124 ซึ่งถือว่าเป็นแผนการเลิกทาสขั้นสุดท้ายในรัชสมัยของพระองค์ ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้มีการกำหนดหลักการและวิธีการในการปลดปล่อยที่สำคัญบางประการ คือ
(1) กำหนดให้บรรดาลูกทาสที่เกิดมาไม่ต้องตกเป็นทาสในเรือนเบี้ยดังแต่ก่อนและห้ามคนที่เป็นไทแก่ตัวและทาสที่หลุดพ้นค่าตัวกลับไปเป็นทาสอีก
(2) ให้มีการลดค่าตัวทาสลงเดือนละ 4 บาท ซึ่งจะทำให้ทาสเป็นไทแก่ตัวเร็วขึ้น ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ทรงโปรดเกล้าฯให้ใช้ พระราชบัญญัติทาสรัตนโกสินทร์ศก 124 กับมณฑลพายัพอีกด้วย
จะเห็นได้ว่าพระบรมราชโองการปลดปล่อยทาสให้เป็นอิสระแก่ตนเองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวดำเนินไปในลักษณะอย่างเป็นขั้นตอน โดยอาศัยเวลาเพื่อให้เกิดการปรับตัวพร้อมที่จะรับต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของบรรดาเจ้าของทาส อันจะทำให้การปลดปล่อยทาสดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย และเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติในระยะต่อมา ทั้งนี้เป็นเพราะความสุขุมคัมภีรภาพของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยแท้

2.3 ผลกระทบอันเกิดจากการเลิกทาส
1) ทำให้บรรดาเจ้าของทาสต้องสูญเสียประโยชน์อันเกิดจากแรงงานทาสที่เคยได้รับมาเป็นเวลานาน
2) ทำให้เกิดแรงงานเสรี ซึ่งช่วยให้การดำเนินธุรกิจการลงทุนมีความคล่องตัวมากขึ้น เพราะมีแรงงานเสรีซึ่งเกิดจากการปลดปล่อยทาสในตลาดแรงงานมากขึ้น อันจะส่งผลให้การลงทุนทางด้านธุรกิจการค้าและการอุตสาหกรรมขยายตัวออกไปมากขึ้น

ที่ วันศุกร์, สิงหาคม 27

การปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5

การปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5

การปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5

การปฏิรูปสังคมไทยสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ.2411-2453

ในช่วงสมัยการเผชิญหน้ากับลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตก ประเทศไทยได้มีความพยายามที่จะปรับตัวเข้าสู่ความทันสมัยตามแบบตะวันตก เพื่อลดกระแสกดดันจากประเทศแถบตะวันตกที่มุ่งขยายอิทธิพลเข้าครอบงำประเทศไทยให้ลดน้อยลงจนถึงระดับปลอดภัย การปรับตัวที่สำคัญประการหนึ่งของไทย คือ การปฏิรูปสังคมและการศึกษาในสมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ.2411-2453) เพราะการปฏิรูปสังคมและการศึกษาได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ.2475

สภาพการณ์ทั่วไปก่อนการปฏิรูปสังคมและการศึกษาในสมัยรัชกาลที่ 5
1.สภาพการณ์ทางด้านการเมือง
การเมืองภายในก่อนสมัยรัชกาลที่ 5 มีสภาพอยู่ในระบบดั้งเดิม คือมีพระมหากษัตริย์ทรงปกครองราชอาณาจักรโดยอาศัยเสนาบดี ซึ่งมีหน้าที่บริราชการส่วนกลางรวมทั้งหมด 6 กรม คือ กลาโหม มหาดไทย เวียง วัง คลัง นา การปกครองหัวเมืองในส่วนภูมิภาค อยู่ภายใต้การควบคุมของเสนาบดี คือ สมุหพระกลาโหม ปกครองดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ สมุหนายกปกครองดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ โกษาธิบดี ปกครองดูแลหัวเมืองชายทะเลตะวันออก
สมัยรัชกาลที่ 4 (พ.ศ. 2394-2411) ทรงได้รับอิทธิพลทางด้านความคิดแบบเสรีตามอย่างตะวันตก คือ ทรงให้บรรดาขุนนางข้าราชการเลือกบุคคลที่เหมาะสมขึ้นดำรงตำแหน่งพระมหาราชครูปุโรหิตและพระมหาราชครูมหิธรซึ่งว่างลง โดยพระองค์จะทรงเข้าแรกแซงหรือยุ่งเกี่ยว แต่จะทรงเกี่ยวข้องก็เมื่อถึงเวลาที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งตามที่ขุนนางข้าราชการเสนอรายชื่อมาเท่านั้น
ทางด้านการเมืองภายนอก ไทยกำลังถูกคุกคามจากมหาอำนาจตะวันตก ซึ่งเริ่มมีท่าที่เห็นได้ชัดมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 เมื่ออังกฤษรุกรานพม่า และเกิดกระทบกระทั่งกับไทยเกี่ยวกับปัญหาเมืองไทรบุรีในมลายู นอกจากนั้นไทยได้มีการทำสนธิสัญญาเบอร์นีกับอังกฤษใน พ.ศ. 2369 และเมื่ออังกฤษได้ส่งเซอร์ เจมส์ บรู้ค (Sir James Brooke) เข้ามาเจรจาของแก้ไขสนธิสัญญากับไทยใน พ.ศ. 2393 แต่ไทยก็ได้ปฏิเสธที่จะแก้ไข จึงทำให้เกิดความวิกฤตในหมู่ผู้นำไทยบางกลุ่มที่เกรงว่าอังกฤษอาจะเปลี่ยนนโยบายจากการเจรจาด้วนสันติวิธีมาเป็นการเจรจาโดยใช้นโยบายอื่นบังคับไทยต่อไปในอนาคต ถ้ามีการเจรจาเกิดขึ้น
สมัยรัชกาลที่ 4 ไทยได้ทำสนธิสัญญาบาวริงกับอังกฤษใน พ.ศ.2398 เป็นผลทำให้ไทยต้องยกเลิกระบบการแบบผูกขาดโดยพระคลังสินค้า และเปลี่ยนมาเป็นนโยบายการค้าแบบเสรี โดยยอมสูญเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตให้อังกฤษ รวมทั้งการเก็บภาษีขาเข้าในอัตราร้อยละ 3 และอื่นๆ อีกหลายประการ นอกจากนั้นไทยยังต้องตกลงทำสนธิสัญญาในลักษณะเดียวกันที่ทำกับอังกฤษกับประเทศอื่นๆ อีกหลายประเทศ เพิ่มลดกระแสกดดันทางการเมืองและการทหารจากมหาอำนาจตะวันตก
นอกจากนี้ไทยยังไม่สามารถหลีกเลี่ยงการบีบคั้นจากมหาอำนาจตะวันตกได้อย่างสิ้นเชิง เช่น การยอมยกดินแดนเขมรส่วนในและเกาะต่างๆ อีก 6 เกาะ รวมเป็นเนื้อที่ 124,000 ตารางกิโลเมตรให้แก่ฝรั่งเศส โดยฝรั่งเศสยอมรับว่าไทยมีสิทธิเหนือเสียมราฐและพระตะบองเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2410

2.สภาพการณ์ทางด้านเศรษฐกิจ
ก่อนที่ไทยจะทำสนธิสัญญาบาวริงใน พ.ศ. 2398 ระบบเศรษฐกิจของไทยเป็นระบบเศรษฐกิจแบบผูกขาดทางด้านการค้าโดยพระคลังสินค้า การผลิตที่สำคัญเป็นการผลิตทางด้านการเกษตร ธุรกิจการค้าของเอกชนเป็นกาค้าขนาดเล็กที่มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันภายในราชอาณาจักร ส่วนการค้าขายกับต่างประเทศอยู่ในความควบคุมของพระลังสินค้า ที่ผูกขาดการซื้อขายสินค้าที่มีค่าหลายประเภทภายหลังเมื่อรัชกาลที่ 4 ได้ทรงทำสนธิสัญญาบาวริงกับอังกฤษแล้ว ระบบเศรษฐกิจการค้าของไทยได้เปลี่ยนแปลงเป็นระบบการค้าแบบเสรี ซึ่งทำให้ไทยได้มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศอย่างกว้างขวาง จะเห็นได้จากภายใน 19 เดือน นับแต่ลงนามในสนธิสัญญาบาวริง ได้มีเรือสินค้าเข้ามาในกรุงเทพฯถึง 130 ลำ และพ่อค้าในกรุงเทพฯ ก็ส่งเรือออกไปค้าขายต่างประเทศถึง 37 ลำ ซึ่งเรือที่เข้ามาค้าขายในกรุงเทพฯ เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมถึง 10 เท่า หมอบรัดเลย์ได้บันทึกไว้ว่าเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2399 มีเรือต่างประเทศมาทอดสมออยู่ในแม่น้ำถึง 60 ลำ และได้เพิ่มจำนวนเป็น 103 ลำในปลายปีเดียวกัน ส่วนพ่อค้าในกรุงเทพฯได้ส่งเรือออกไปค้าขายถึง 37 ลำ แสดงให้เห็นถึงข้อมูลที่ยืนยันถึงการขยายตัวทางการค้าอย่างแท้จริงผลของการทำสนธิสัญญาบาวริง ระบบการค้าเสรีได้ทำให้เศรษฐกิจแบบพึ่งตัวเองน้อยลง สินค้าเข้าแต่เดิมประกอบด้วยสินค้าประเภทฟุ่มเฟือย ซึ่งเป็นไปเพื่อการบริโภคของชนชั้นสูง เปลี่ยนมาเป็นสินค้าหลายชนิดเพื่อการบริโภคของคนทั่วไป ส่วนสินค้าออกของไทยสมัยก่อนจะเป็นสินค้าหลายๆชนิด ก็เปลี่ยนมาเป็นสินค้าเพียงไม่กี่ชนิด นอกจากนั้นการส่งข้าวออกไปขายยังต่างประเทศขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางตั้งแต่ พ.ศ.2398 เป็นต้นมา และไม่มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจแบบใดที่จะเกี่ยวข้องกับประชาชนจำนวนมากมายเท่ากับการทำนา ชาวนาได้ขยายการผลิตข้าวเพิ่มมากขึ้น ทำให้การปลูกพืชที่จำเป็นในการครองชีพอื่นๆน้อยลง
การขยายตัวในการผลิตข้าวเพื่อการส่งออก ทำให้ชาวนาต้องขยายที่นาออกไปและความจำเป็นในการใช้แรงงานก็มีมากขึ้น แต่ในขณะที่แรงงานคนไทยยังไม่มีความเป็นอิสระเพราะยังติดอยู่กับระบบไพร่และทาส รัชกาลที่ 4 ทรงเห็นความจำเป็นในการผลิตข้าวเพื่อการส่งออก จึงทรงสนับสนุนด้วยการลดหย่อนการเกณฑ์แรงงานตามระบบไพร่ลง เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้เวลาในการทำนามากขึ้น ส่วนงานก่อสร้างของหลวงที่ต้องใช้แรงงานจำนวนมากก็โปรดให้จ้างคนจีนมาทำแทน สำหรับคนไทยก็อาจจะใช้วิธีจ่ายเงินแทนการเกณฑ์แรงงานได้ ดังนั้นความจำเป็นในการใช้แรงงานเสรีภายหลังสนธิสัญญาบาวริงนี้ จึงมีส่วนผลักดันให้เกิดการยกเลิกระบบไพร่ในสมัยต่อมา

3.สภาพการณ์ทางด้านสังคม
สังคมไทยก่อนการปฏิรูปในสมัยรัชกาลที่ 5 ประกอบด้วย
1.พระมหากษัตริย์ ทรงมีฐานะประดุจดังเทวราชา ธรรมราชา และพุทธราชา ผสมผสานกันไป ดังนี้
1) เทวราชา คิตีนี้ถือกันว่าพระมหากษัตริย์ทรงดำรงฐานเป็นสมมติเทพตามคติของศาสนาพราหมณ์ที่ยึดถือกันมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา และถือว่าพระองค์เป็นประดุจดังพระนารายณ์หรือพระอิศวรผู้ทรงไว้ซึ่งมหิทธานุภาพ ซึ่งราษฎรจะต้องให้ความเคารพบูชา ดังนั้นพระมหากษัตริย์จึงทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน และยังคงมีการสืบทอดขนธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์ที่สะท้อนให้เห็นถึงคติของลัทธิเทวราชาที่ยังคงยึดถือปฏิบัติตามอย่างสมัยกรุงศรีอยุธยามาโดยตลอด เช่น การสร้างพระราชวัง การสร้างพระที่นั่ง การประกอบพระราชาพิธีต่างๆ การใช้คำราชาศัพท์ เป็นต้น
2) ธรรมราชา คตินี้ถือกันว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นธรรมราชา โดยได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพุทธ ซึ่งพระพุทธองค์ได้บัญญัติธรรมสำหรับกษัตริย์ผู้ปกครองแคว้นต่างๆ เอาไว้เรียกว่า ทศพิธราชธรรม และจักรวรรดิวัตร ซึ่งถ้ากษัตริย์พระองค์ใดทรงประพฤติปฏิบัติธรรมดังกล่าวได้ครบถ้วนแล้ว อาณาประชาราษฎร์ก็จะดำรงอยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสุข
3) พุทธราชา คตินี้สืบทอดมาจากความเป็นธรรมราชาของพระมหากษัตริย์ ถ้าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดทรงประพฤติปฏิบัติทศพิธรราธรรมและจักรวรรดิวัตรอย่างเคร่งครัดก็เปรียบเสมือนพระองค์ทรงบำเพ็ญพระบารมีในฐานะพระโพธิสัตว์ เพื่อจะได้ไปตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในภพต่อๆไป ดังนั้นพระมหากษัตริย์จึงทรงมีฐานะประดุจดังพุทธราชา
คตินิยมเช่นนี้ เห็นได้จากพระนามของรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2 ซึ่งมีคำว่า พุทธ นำหน้าพระปรมาภิไธย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงถวายพระนามรัชกาลที่ 1 ว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และถวายพระนามรัชกาลที่ 2 ว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นการกล่าวย้ำให้เห็นความเป็นพุทธราชาของพระมหากษัตริย์ทั้ง 2 พระองค์
2. พระบรมวงศานุวงศ์
พระบรมวงศานุวงศ์ล้วนแต่เป็นพระญาติวงศ์ของพระมหากษัตริย์ ซึ่งตำแหน่งของพระบรมวงศานุวงศ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สกุลยศและอิสริยยศ สกุลยศ คือ สิ่งที่แสดงถึงความเป็นผู้สืบสายเลือดของความเป็นเจ้า ได้แก่ เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า และหม่อมเจ้า ส่วนอิสริยยศ คือ พระยศที่พระมหากษัตริย์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนขึ้น เช่น มหาอุปราช กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ กรมสมเด็จพระ เป็นต้น
3. ขุนนาง
บุคคลที่รับราชาการแผ่นดิน มีศักดินา ยศ ราชทินนามและตำแหน่งเป็นเครื่องชี้บอกถึงอำนาจและเกียรติยศ หรือบรรดาข้าราชการของแผ่นดิน แต่ข้าราชการบางคนอาจจะไม่ได้มีฐานเป็นขุนนางก็ได้ เพราะการเป็นขุนนางนั้นจะต้องอยู่กับศักดินาของตน กล่าวคือผู้ที่มีศักดินา 400 ไร่ขึ้นไปก็จะได้เป็นขุนนาง ยกเว้นพวกมหาดเล็ก เพราะว่าเป็นขุนนางอยู่แล้ว ส่วนข้าราชการแผ่นดินที่มีศักดินาต่ำ 400 ไร่ยังมิได้เรียกว่าเป็นขุนนาง แต่จะอนุโลมเรียกว่าข้าราชการ ยศของขุนนางมี 8 ลำดับ จากสูงสุดไปหาต่ำสุด มีดังนี้ สมเด็จเจ้าพระยา เจ้าพระยา พระยา พระ หลวง ขุน หมิ่น และพัน ศักดินาของสมเด็จเจ้าพระจะอยู่ในระดับ 30,000 ไร่ นับว่าสูงสุดในบรรดาขุนนางทั้งหลาย ส่วนพันถือศักดินา 100-400 ไร่ หมื่นถือศักดินา 200-800 ไร่ ขุนนางถือศักดินา 200-1,000 ไร่ สำหรับขุนนางที่มียศเป็นหลวงขึ้นไปมีศักดินาได้ไม่ต่ำกว่า 800 ไร่ขึ้นไป แสดงว่าผู้ที่เป็นพัน หมื่น ขุน อาจไม่ได้เป็นขุนนางถ้าศักดินาไม่ถึง 400 ไร่ ดังนั้นสิทธิ์เป็นขุนนางได้ต้องมีศักดินาถึง 400 ไร่ขึ้นไป
สิทธิ์ตามกฎหมายของขุนนาง มีดังนี้
1.ได้รับการยกเว้นจากการเกณฑ์แรงงาน และต่อเนื่องไปถึงบุตรของขุนนางด้วย
2.ข้าราชการที่มียศต่ำกว่าขุนนาง คือ มีศักดินาไม่ถึง 400 ไร่ จะได้รับเอกสารยกเว้นการสักเป็นรายบุคคล แต่เอกสารนี้ไม่ได้รวมไปถึงลูกของข้าราชการ และการได้มาถึงเอกสารดังกล่าวจะต้องจ่ายเงินให้กับนายของตนเป็นการตอบแทนด้วย
3.ผู้ที่มีศักดินา 400 ไร่ขึ้นไป จะได้รับสิทธิเข้าเฝ้าในการเสด็จออกขุนนาง และถ้ามีคดีขึ้นศาลได้รับอนุญาตให้ผู้อื่นขึ้นศาลแทนตนได้อีกด้วย
4.ก่อน พ.ศ.2367 ขุนนางได้รับการยกเว้นภาษีที่นา ส่วนกฎหมายลักษณะมรดกให้สิทธิ์แก่คนที่ถือศักดินาตั้งแต่ 400 ไร่ขึ้นไปในการแบ่งมรดกเมื่อคนผู้นั้นถึงแก่กรรมแล้ว
5.ได้รับการคุ้มครองในเรื่องเกียรติยศ กล่าวคือผู้ใดใช้ถ้อยคำหยาบคายกับผู้ถือศักดินาตั้งแต่ 400 ไร่ขึ้นไปจะถูกลงโทษอย่างหนัก
6.ขุนนางสามารถมีไพร่จำนวนหนึ่งเป็นเสมียนทนายของตนได้ตามยศของตน และตามกฎหมายแล้วขุนนางจะไปไหนมาไหนโดยไม่มีคนรับใช้ไม่ได้4. ไพร่
คนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นราษฎรสามัญชนหรือไพร่นั้น คือ ชายฉกรรจ์ที่ต้องสังกัดอยู่กับเจ้าขุนมูลนายที่ตนสมัครอยู่ด้วย แบ่งตามสังกัดออกเป็น 2 ประเภท คือ
1) ไพร่สม หมายถึง ไพร่ที่เป็นชายฉกรรจ์ที่มีอายุ 18 ปี จะต้องขึ้นทะเบียนสังกัดมูลนาย( เจ้านายหรือขุนนาง) ตามกฎหมายกำหนด เพื่อรับใช้มูลนายเป็นการส่วนตัว เพื่อว่ามูลนายจะได้รู้สึกเป็นเกียรติ และเป็นกำลังให้มูลนายที่รับใช้งานของพระมหากษัตริย์ให้ดำเนินไปด้วยดีไม่มีอุปสรรค ไพร่สมจึงสมบัติของนายมูลนายและต้องรับใช้มูลนายยังมีชีวิตอยู่ในตำแหน่งราชาการ เนื่องจากสมัยก่อนขุนนางข้าราชการยังไม่มีเงินเดือน ดังนั้นการควบคุมไพร่ของมูลนายจึงหมายถึงผลประโยชน์ เช่น การได้รับส่วนลดจากการเก็บเงินค่าราชการหรือได้รับของกำนัลจากไพร่ แต่เมื่อนายมูลถึงแก่กรรมไพร่สมจะถูกโอนเป็นไพร่หลวง
2) ไพร่หลวง ไพร่สมที่มีอายุ 20 ปี มีหน้าที่รับราชการอยู่ในกรมกองต่าง ๆ มีขุนนางเป็นผู้ดูแลควบคุม ในยามศึกสงครามต้องออกรบป้องกันบ้านเมือง ในยามบ้านเมืองปกติต้องทำงานให้แก่แผ่นดินปีละ 6 เดือน และออกไปประกอบอาชีพ 6 เดือน สลับเดือนไปจนครบ 6 เดือน เรียกว่า การเข้าเดือนออกเดือน หรือการเข้าเวรรับราชการ คือ เข้าเวร 1 เดือน ออกเวร 1 เดือนสลับกันไป จนครบ 6 เดือน ต่อมาสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น(รัชกาลที่ 1) ไพร่หลวงถูกเกณฑ์แรงงานปีละ 4 เดือน คือ เข้าเวร 1 เดือน ออกเวร 2 เดือน สลับกันไป หากบ้านเมืองว่างเว้นจากสงครามเป็นเวลานานจะมีการผ่อนผันให้ไพร่หลวงส่งสิ่งของ ซึ่งเป็นทรัพย์กรในท้องถิ่น หรือ เงิน (เดือนละ 2 บาท หรือปีละ 12 บาท แทนการเข้าเวรรับราชการ ไพร่หลวงที่ส่งสิ่งของหรือเงิน แทนการเข้าเวรรับราชการนี้ เรียกว่า ไพร่ส่วย ฐานะโดยทั่วไปของไพร่นั้นอาจมีอิสระในด้านแรงงานของตนเองอยู่บ้าง แต่ไม่ทั้งหมด เพราะไพร่หลวงนั้นปีหนึ่งจะต้องถูกเกณฑ์แรงงานไปทำงานให้กับทางราชการ 4 เดือนบ้าง 3 เดือนบ้าง ส่วนในเรื่องการฟ้องร้องขึ้นโรงขึ้นศาล ไพร่ไม่มีสิทธิ์ตั้งทนายของตนเอง อีกทั้งไพร่จุถูกจำกัดสิทธิ์ในการเคลื่อนย้ายที่อยู่เพื่อความสะดวกในการเกณฑ์แรงงาน นอกจากนี้ถ้าไพร่เรียกชื่อยศตำแหน่งขุนนางผิดไปจากความเป็นจริงจะต้องถูกปรับโทษ ส่วนในเรืองการปรับไหม ไพร่ก็เสียเปรียบขุนนาง เพราะเมื่อเวลาขุนนางทำผิดต่อไพร่ก็จะใช้ศักดินาขุนนางปรับขุนนาง แต่เมื่อไพร่ทำผิดต่อขุนนาง กลับไม่ใช้ศักดินาไพร่ปรับไพร่ แต่ใช้ศักดินาของขุนนางปรับไพร่ อย่างไรก็ตาม ไพร่ก็ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายถ้าตนเองมีมูลนายต้นสังกัดหรือไพร่ที่มีศักดินาระหว่าง 10-25 ไร่ แล้วแต่ลักษณะและประเภทของไพร่ นอกจากนี้ไพร่สามารถมอบที่ดินให้แก่บุตรหลานของตนเองได้ ถ้าใครบุกรุกจะถูกปรับ แต่ถ้าบุตรหลานปล่อยให้ที่ดินรกร้างว่างเปล่าเป็นเวลา 9-10 ปี ไม่ทำให้ผลผลิตงอกเงย ที่ดินผืนนั้นต้องยกให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์ต่อไป นอกจากนี้ไพร่ยังสามารถเปลี่ยนฐานะตนเองได้เป็น 2 ระดับ คือ ถ้าเลื่อนระดับก็เป็นขุนนาง ถ้าลดระดับก็เป็นทาส
3.5 ทาส
ทาส คือ ราษฎรสามัญชนอีกประเภทหนึ่ง ที่มิได้มีกรรมสิทธิ์ในแรงงานและชีวิตของตนเอง แต่จะตกเป็นของนายจนกว่าจะได้รับการไถ่ตัวพ้นจากความเป็นทาส ซึ่งนายมีสิทธิ์ในการซื้อขายทาสได้ ลงโทษทุบตีทาสได้ แต่จะให้ถึงตายไม่ได้ ทาสมีศักดินาเพียง 5 ไร่เท่านั้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ก่อนจะมีการประกาศเลิกทาสในสมัยรัชกาลที่ 5 แบ่งออกเป็น 7 ประเภท คือ
1) ทาสสินไถ่ คือ ทาสที่ขายตนเองให้เป็นท่าน ต้องหาเงินมาไถ่ถอนตนเองจึงเป็นอิสระได้
2) ทาสในเรือนเบี้ย คือ ลูกทาสที่เกิดมาในเวลาที่พ่อแม่ของตนเป็นทาส
3) ทาสได้มาจากบิดามารดา คือ ทาสที่ได้มาจากบิดามารดให้ยกให้เป็นทาส
4) ทาสท่านให้ คือ ทาสที่ได้มาจากบุคคลฝ่ายหนึ่ง โดยให้บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง
5) ทาสทุพภิกภัย คือ ทาสที่ขายตนเองให้เป็นทาสในยามข้างยากหมากแพง
6) ทาสที่ได้จากการช่วยเหลือให้คนพ้นโทษทัณฑ์
7) ทาสเชลย คือ ทาสที่ได้มาจากศึกสงคราม
สิทธิโดยทั่วไปของเจาของทาสนั้นมีสิทธิ์ที่จะลงโทษทัณฑ์ จำโซ่ตรวน ขื่อคา หวดด้วยหนัง หรือสามารถทำทารุณกรรมต่างๆ กับทาสของตนเองได้ถึงบาดเจ็บสาหัส หรือแม้แต่ตาบอกก็ทำได้ แต่อย่าให้ถึงตายเท่านั้น รวมทั้งนายมีอำนาจสั่งทาสของตนให้ไปรับโทษคดีใดๆแทนบุตรภรรยาและญาติพี่น้องของนายเงินได้ นอกจากนี้นายยังมีอำนาจที่จะสั่งให้ทาสไปราชการแทนได้เช่นกัน แม้ราชการนั้นจะเป็นเหตุให้ทาสต้องตายก็ตาม ถ้านายทาสสั่งให้ทาสดูแลรักษาสิ่งของใดๆ ถ้าหากทรัพย์สินสิ่งของนั้นแตกหักเสียหาย ทาสก็ต้องใช้ราคาแก่นายทาสจนเต็ม นอกจากนั้นนายทาสมีสิทธิ์ที่จะขับทาสออกไปจากบ้านได้หรือสามารถขายทาสได้ เมื่อตนไม่สามารถเลี้ยงดูทาสนั้นต่อไปได้ หรือถ้าหากทาสหลบหนีไปแห่งใด เมื่อเจ้าเบี้ยนายเงินได้จ่ายเงินเป็นค่าบำเหน็จรางวัลแก่ผู้คุมตัวทาสมาได้เท่าได้ เจ้าของทาสมีสิทธิ์คิดเงินจากทาสที่หลบหนี้ได้ทั้งหมด เป็นต้น
จะเห็นได้ว่า อำนาจของนายมที่มีเหนือทาสนั้นมากพอที่จะผลทำให้ทาสหมดอิสรภาพในตนเอง ตราบใดที่ยังไม่หลุดพ้นจากความเป็นทาส ตราบนั้นก็ไม่มีโอกาสที่จะมีกรรมสิทธิ์ในแรงงานของตนเองได้ แต่โอกาสที่ทาสจะได้รับการปลดปล่อยให้หลุดพ้นจากความเป็นทาสก็ต่อเมื่อกรณีต่อไปนี้
1.หาเงินมาไถ่ถอนตัวเอง
2.นายทาสอนุญาตบวชเป็นพระภิกษุ
3.เมื่อเกิดศึกสงครามรับอาสาไปรบ และรอดกลับมา หรือถูกจับเป็นเชลย แต่หนีรอดกลับมาได้ ถือว่าทาสผู้นั้นเป็นอิสระ
4.ได้รับอนุญาตให้แต่งงานกับนายทาส และลูกที่เกิดมาก็พ้นจากความเป็นทาสด้วย
ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นทาสมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จนกระทั่งในตอนปลายรัชกาลที่ 3 คาดว่าผู้ที่เป็นทาสมีจำนวนถึง 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมด นอกจากนี้คนที่ตกเป็นทาสก็เพราะมีหนี้สินเป็นจำนวนมาก ทั้งพวกชาวนาส่วนใหญ่ที่ต้องเป็นหนี้สินก็เนื่องมาจากการเก็บเกี่ยวที่ไม่ได้ผล แต่ก็มีคนอีกเป็นจำนวนมากที่ยอมขายตัวเพื่อจะได้ไม่ต้องถูกเกณฑ์ไปทำงาน นอกจากนี้ในปลายรัชกาลที่ 3 ยังมีทาสอีกพวกหนึ่ง คือ ทาสเชลย ซึ่งมีอยู่ถึง 46,000 คน
ในสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงอนุญาตให้ไพร่เสียเงินแทนการถูกเกณฑ์แรงงาน และโปรดให้จ้างกรรมกรซึ่งส่วนมากเป็นคนจีนทำงานก่อนสร้างที่ต้องใช้เวลาและแรงงานเป็นจำนวนมาก แต่ถึงกระนั้นการเกณฑ์แรงงานไพร่ก็ยังคงมีอยู่ต่อไปมิได้ถูกยกเลิกไป เพราะทรงเกรงว่า ถ้าเปลี่ยนสถานะของไพร่ให้มีกรรมสิทธิ์ในแรงงานจะทำให้ขุนนางไม่พอใจ
ในสมัยรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2410 ทรงประกาศห้ามบิดามารดาหรือสามีขายบุตรภรรยาลงเป็นทาสโดยเจ้าตัวไม่สมัครใจ โดยทรงพิจารณาว่าไม่เป็นการยุติธรรมสำหรับเด็กและสตรี นอกจากนี้ยังทรงประกาศให้เสรีภาพแก่สตรีที่มีอายุบรรลุนิติภาวะแล้ว มีสิทธิ์เลือกสามีได้โดยบิดาจะบังคับมิได้อีกด้วย นับได้ว่าเป็นการเริ่มต้นการปลดปล่อยให้สตรีมีความเป็นอิสระแก่ตนเองมากยิ่งขึ้น

4.การปฏิรูปสังคมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)
1.การยกเลิกระบบไพร่1.1 สาเหตุในการยกเลิกระบบไพร่ ซึ่งเป็นระบบที่มีในสังคมไทยเป็นเวลาช้านาน เพราะอิทธิพลจากโลกตะวันตก ที่ให้ประชาชนมีอิสระในแรงงานของตนหรือที่เรียกว่า เสรีชนความต้องการด้านกำลังคน สำหรับรองรับการปฏิรูประบบราชการสมัยใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตความต้องการแรงงานเสรีสำหรับระบบธุรกิจการค้าแบบเสรี ซึ่งขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางภายหลังสนธิสัญญาบาวริงเป็นต้นมาความจำเป็นที่จะต้องแปลงไพร่ให้กลายเป็นทหารประจำการติดอาวุธสมัยใหม่ตามนโยบายปฏิรูปกิจการทหารของประเทศความจำเป็นในการลดกระแสกดดันจากลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตก
1.2 ขั้นตอนในการยกเลิกระบบไพร่
รัชกาลที่ 5 ทรงเริ่มต้นขึ้นใน พ.ศ.2413 ภายหลังที่ครองราชสมบัติได้เพียง 2 ปี โดยทรงตั้งกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ใน พ.ศ.2413 และทรงคัดเลือกเอาบรรดาราชวงศ์และบุตรหลานขุนนางที่ได้ถวายตัว ทั้งผู้ใหญ่และเด็กเป็นจำนวนมากกว่าพันคน โดยโปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุรศักดิ์มนตรี (แสง)เป็นผู้บังคับการคนแรก ครั้นถึง พ.ศ.2423 ทรงโปรดเกล้าฯให้พระยาสุรศักดิ์มนตรี(เจิม) จัดตั้งกรมทหารหน้า ต่อมาได้พัฒนามาเป็นกรมยุทธนาธิการและกระทรวงกลาโหมตามลำดับ โดยการรับสมัครบรรดาพวกไพร่ที่นายของตนตายหรือสิ้นพระชนม์มารับราชการเป็นทหารสมัครเป็นจำนวนมาก โดยมีการพระราชทานเงินให้คนละ 4 บาท ผ้า 1 สำรับ เพื่อเป็นสินน้ำใจแก่ทหารสมัครทุกคน บรรดาไพร่ที่มาสมัคร ล้วนแต่เป็นไพร่ที่มิได้รับการสักเลกที่ข้อมือเพื่อแสดงสังกัดทั้งสิ้น แสดงให้เห็นถึงการที่บรรดามูลนายเบียดบังไพร่ไว้ใช้ส่วนตัวกันมาก จากการรับสมัครในกรุงเทพฯก็ขยายออกไปยังหัวเมืองชั้นนอก ซึ่งมีคนมาสมัครกันเป็นจำนวนมากขึ้น ทางราชการจึงตอบแทนด้วยการแจกเครื่องแบบสักหลาดสีดำ 1 ชุด เงินเดือนๆละ 10 บาท รวมทั้งอาหาร 2 เวลาด้วย
ต่อมาใน พ.ศ.2431 ได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติทหาร ซึ่งสิทธิหน้าที่ของพลทหาร ทั้งทหารบกและทหารเรือ กล่าวคือ พลทหารสมัครจะต้องรับราชการไปจนครบ 10 ปี จึงจะครบเกษียณอายุ แต่ถ้ายังสมัครรับราชการต่อไปทางราชการก็จะเพิ่มเบี้ยหวัดให้จากเงินเดือนตามอัตราเดิมคือเดือนละ 2 บาท ส่วนเบี้ยหวัดจ่ายปีละครั้งเรียกว่า เงินปี ส่วนในราชการพิเศษถ้ามีความดีความชอบก็จะได้รับรางวัลเป็นครั้งคราว ไม่มีกำหนด เรียกว่า เงินรางวัล
พ.ศ.2434 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้ พระราชบัญญัติจัดการกรมยุทธนาธิการ โดยยกกรมยุทธนาธิการเดิมขึ้นเป็นกระทรวงยุทธนาธิการ มีหน้าที่บังคับบัญชาผู้คนที่เกี่ยวกับการทหารบก ทหารเรือ ตามแบบแผนใหม่ ขณะเดียวกันตามระเบียบเดิมก็เร่งรัดให้กรมพระสุรัสวดีนำตัวไพร่ที่หลบหนีการสักเลกมาสักเลกเป็นไพร่หลวง และเร่งรัดเก็บเงินค่าราชการจากไพร่ที่ไม่ประสงค์จะถูกเกณฑ์แรงงานมาทำงานให้กับทางราชการ
พ.ศ.2439 ได้มีการประกาศยกรมพระสุรัสวดีเข้ามาสังกัดกระทรวงกลาโหม ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2435 และใน พ.ศ.2439 ได้ประกาศให้บรรดาไพร่หลวงที่ไม่มาเข้าเดือนประจำการ ต้องเสียเงินแทนค่าแรงงานปีละ 18 ปี ส่วนไพร่ส่วยถ้าไม่ได้ส่งของต้องส่งเงินแทนตั้งแต่ 6-12 บาท ตามชนิดของสิ่งของที่ต้องเกณฑ์ส่ง และตั้งแต่ พ.ศ.2440 เป็นต้นไป บรรดาไพร่หลวงที่ต้องเสียเงินค่าราชการปีละเกิน 6 บาทขึ้นไป ให้เก็บเงินค่าราชการเพียงปีละ 6 บาทเท่านั้น
พ.ศ.2448 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะการเกณฑ์ทหารรัตนโกสินทร์ศก 124 โดยกำหนดให้ชายฉกรรจ์ที่มีอายุ 18 ปี รับราชการในกองประจำการมีกำหนด 2 ปี แล้วปลดไปเป็นกองหนุน ส่วนผู้ที่ได้รับราชการทหารในกองประจำการแล้ว ทรงโปรดเกล้าฯให้ผู้นั้นพ้นจากการเสียเงินค่าราชการใดๆจนตลอดชีวิต ทุกคนที่เป็นชายยกเว้นคนจีนและคนป่าดอยเท่านั้น จะต้องอยู่ภายใต้พระราชบัญญัตินี้ทั้งสิ้น ดังนั้นพระราชบัญญัติลักษณะการเกณฑ์ทหารรัตนโกสินทร์ศก 124 ฉบับนี้จึงถือได้ว่าเป็นการยกเลิกระบบไพร่ที่มานานในสังคมไทย
1.3 ผลของการยกเลิกระบบไพร่ ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมดังต่อไปนี้คือ
1)ผลกระทบทางตรง คือ ฐานอำนาจของขุนนางที่มีไพร่อยู่ในสังกัด ทั้งอำนาจการควบคุมกำลังคนก็ตกอยู่ในพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์โดยสิ้นเชิง ขุนนางไม่สามารถจะแสวงหาผลประโยชน์จากแรงงานของไพร่อีกต่อไป การมีกำลังคนอยู่ภายใต้การควบคุมของพระมหากษัตริย์โดยตรง จะทำให้พระมหากษัตริย์มีฐานอำนาจทางการเมืองที่มั่นคงยิ่งขึ้น
2)ผลกระทบทางอ้อม คือก่อให้เกิดการขยายตัวทางด้านธุรกิจการลงทุนมากขึ้น เพราะการเลิกระบบไพร่ได้ทำให้เกิดแรงงานเสรี ซึ่งจะสามารถสนองความต้องการแรงงานเสรีของระบบทุนนิยม ซึ่งกำลังเริ่มต้นในสังคมไทยภายหลังสนธิสัญญาบาวริงใน พ.ศ.2398 เป็นต้นมา และแรงงานเสรีจะเป็นแรงงานที่มีคุณภาพเพราะจะได้รับค่าตอบแทนจากนายจ้าง

2. การเลิกทาส2.1 สาเหตุในการเลิกทาส มีสาเหตุที่สำคัญดังต่อไปนี้
1) อิทธิพลของอารยธรรมตะวันตกที่มุ่งปลดปล่อยทาสให้เป็นเสรีชนได้แพร่ขยายเข้ามาในสังคมไทยภายหลังที่ไทยได้ติดต่อค้าขายกับประเทศตะวันตกอย่างกว้างขวาง ภายหลังการทำสนธิสัญญาบาวริง พ.ศ. 2398 เป็นต้นมา ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นแรงกระตุ้นให้รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดำริที่จะยกเลิกการมีทาสในสังคมไทย
2) อิทธิพลของลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตกที่กำลงส่อเค้าว่าจะคุกคามไทย ถ้าสังคมไทยยังมีลักษณะป่าเถื่อนล้าหลัง และพลเมืองส่วนใหญ่ยังตกเป็นทาส โดยที่มหาอำนาจตะวันตกจะถือเป็นข้ออ้างเข้ามาช่วยสร้างความเจริญให้ด้วยการเข้ามายึดครอง ดังนั้น การปรับสังคมด้วยการเลิกทาสย่อมเป็นการลดกระแสกดดันของลัทธิจักรวรรดินิยมได้
3) ความจำเป็นทางด้านเศรษฐกิจที่ต้องการแรงงานเสรีเพิ่มมากขึ้น โดยระบบการค้าเสรีที่เกิดขึ้นภายหลังสนธิสัญญาบาวริง ทำให้ธุรกิจการค้าและการผลิตต่างๆ ขยายตัวออกไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตข้าว ซึ่งการปลดปล่อยทาสให้มีอิสระในแรงงานของตนย่อมสนองตอบต่อความต้องการทางด้านแรงงานเสรีของระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ที่กำลังขยายตัว
4) ความจำเป็นทางด้านการปกครองที่รัชกาลที่ 5 ทรงมีแผนการปฏิรูประบบบริหารราชการให้ทันสมัย ดังนั้นเมื่อทรงมีแผนการเช่นนี้แล้ว การปลดปล่อยทาสให้เป็นเสรีชนย่อมจะสอดคล้องกับความต้องการกำลังคนซึ่งมีอิสระในแรงงานของตนเป็นอย่างมาก เพื่อรองรับการขยายงานของระบบบริหารราชการสมัยใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต
5) เกิดจากพระราชดำริของรัชกาลที่ 5 ซึ่งทรงมีพระราชประสงค์จะให้คนไทยมีความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกันทุกคน จึงมีพระราชดำริจะยกเลิกการมีทาสในสังคมไทย
2.2 ขั้นตอนการเลิกทาส
การปลดปล่อยทาสให้เป็นอิสระแก่ตนเองนั้นจำเป็นจะต้องค่อยเป็นค่อยไป เพราะสังคมไทยมีทาสมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ การยกเลิกทาสโดยฉับพลันย่อมจะกระทบกระเทือนต่อผลประโยชน์ของกลุ่มมูลนายที่มีทาสในครอบครอง ดังนั้นรัชกาลที่ 5 จึงทรงเตรียมแผนการในการเลิกทาสอย่างมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1) การออกประกาศให้ทำการสำรวจจำนวนทาสใน พ.ศ.2417 คือ ได้มีการประกาศให้ผู้ที่มีทาสในครอบครองได้ทำการสำรวจตรวจสอบจำนวนทาสในครอบครองของตนว่ามีอยู่เท่าไร รวมทั้งระยะเวลาที่ทาสจะต้องเป็นทาสจนกว่าจะพ้นค่าตัว ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสะดวกในการวางแผนขั้นต่อไป โดยเฉพาะให้มีการสำรวจและจดทะเบียนทาสที่เกิดตั้งแต่ปีมะโรง พ.ศ.2411 อันเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นมา ทั้งนี้เพื่อเตรียมการเอาไว้สำหรับการวางแผนเลิกทาสต่อไป
2) การประกาศใช้พระราชบัญญัติพิกัดกระเษียรอายุลูกทาสลูกไทย พ.ศ.2417 ซึ่งได้กำหนดแนวทางในการปฏิบัติดังนี้
(1) ถ้าทาสคนใดที่ถูกขายตัวเป็นทาสเกิดใน พ.ศ.2411 และในปีต่อๆ มาจนถึงอายุ 21 ปีให้พ้นค่าตัวเป็นไท ไม่ว่าทาสจะอยู่กับมูลนายเดิม หรือย้ายโอนไปอยู่กับนายมูลใหม่ ส่วนทาสที่เกิดก่อน พ.ศ.2411 ก็คงเป็นทาสต่อไปตามกฎหมายเดิม
(2) ถึงแม้ว่าบุคคลซึ่งเกิดตั้งแต่ พ.ศ.2411 เป็นต้นมานั้น จะได้รับการปลดปล่อยตามเงื่อนไขเวลาที่กล่าวมาแล้ว ต่อเมื่อถึง พ.ศ.2431 เป็นต้นไปก็ตาม แต่ก็สามารถได้รับการไถ่ถอนให้พ้นจากความเป็นทาสได้ในราคาพิเศษซึ่งถูกกว่าทาสที่เกิดก่อน พ.ศ.2411
(3) กำหนดว่าถ้าผู้ใดจะนำบุตรหลานของตนไปขายเป็นทาสซึ่งเกิดตั้งแต่ พ.ศ.2411 และมีอายุต่ำกว่า 15 ปีลงมาไปขายเป็นทาส จะต้องขายในอัตราซึ่งกำหนดไว้ในพิกัดกระเษียรอายุใหม่ในรัชกาลที่ 5
(4) ห้ามผู้ที่เกิดใน พ.ศ.2411 หรือบิดามารดาของตนเองขายตนเป็นทาส โดยที่ตนเองและบิดามารดากล่าวเท็จว่ามิได้เกิดใน พ.ศ.2411 จะต้องถูกลงโทษด้วย
(5) ห้ามมูลนายคิดค่าข้าว ค่าน้ำ กับเด็กชายหญิงที่ติดตามพ่อแม่ พี่น้อง ป้า น้า อา ของตนที่ขายตัวเป็นทาส จนกลายเป็นเจ้าหนี้ของเด็กและเอาเด็กเป็นทาสต่อไปด้วย
พระราชบัญญัติกระเษียรอายุลูกทาสลูกไทย พ.ศ.2417 นี้ มิได้ใช้บังคับในทุกมณฑล มีบางมณฑลมิได้บังคับใช้ คือ มณฑลตะวันตกเฉียงเหนือหรือมณฑลพายัพ มณฑลตะวันออกหรือมณฑลบูรพา มณฑลไทยบุรี กลันตัน ตรังกานู ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าขณะนั้นมณฑลเหล่านี้ยังเป็นประเทศราชอยู่ จึงไม่นับรวมเข้ามาในพระราชอาณาเขตตามความหมายของพระราชบัญญัตินี้
3) การประกาศเลิกทาสในมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ (มณฑลพายัพ) พ.ศ.2443
พ.ศ.2443 ได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติลักษณะทาสมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ โดยมุ่งหมายที่จะให้การเลิกทาสในมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือได้ดำเนินไปอย่างเป็นขั้นตอน ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน 2443 เป็นต้นไป
4) การประกาศแผนการเลิกทาสในมณฑลบูรพาใน พ.ศ.2447
พ.ศ.2447 ได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติลดค่าตัวทาสในมณฑลบูรพา เพื่อเตรียมการเลิกทาสในมณฑลบูรพาอย่างเป็นขั้นตอน แต่ต่อมาใน พ.ศ.2449 ไทยก็เสียมณฑลบูรพาให้แก่ฝรั่งเศส
5) การประกาศใช้พระราชบัญญัติทาสรัตนโกสินทร์ศก 124 ใน พ.ศ. 2448
พ.ศ.2448 รัชกาลที่ 5 ทรงโปรกเกล้าฯให้ตราพระราชบัญญัติทาสรัตนโกสินทร์ศก 124 ซึ่งถือว่าเป็นแผนการเลิกทาสขั้นสุดท้ายในรัชสมัยของพระองค์ ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้มีการกำหนดหลักการและวิธีการในการปลดปล่อยที่สำคัญบางประการ คือ
(1) กำหนดให้บรรดาลูกทาสที่เกิดมาไม่ต้องตกเป็นทาสในเรือนเบี้ยดังแต่ก่อนและห้ามคนที่เป็นไทแก่ตัวและทาสที่หลุดพ้นค่าตัวกลับไปเป็นทาสอีก
(2) ให้มีการลดค่าตัวทาสลงเดือนละ 4 บาท ซึ่งจะทำให้ทาสเป็นไทแก่ตัวเร็วขึ้น ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ทรงโปรดเกล้าฯให้ใช้ พระราชบัญญัติทาสรัตนโกสินทร์ศก 124 กับมณฑลพายัพอีกด้วย
จะเห็นได้ว่าพระบรมราชโองการปลดปล่อยทาสให้เป็นอิสระแก่ตนเองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวดำเนินไปในลักษณะอย่างเป็นขั้นตอน โดยอาศัยเวลาเพื่อให้เกิดการปรับตัวพร้อมที่จะรับต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของบรรดาเจ้าของทาส อันจะทำให้การปลดปล่อยทาสดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย และเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติในระยะต่อมา ทั้งนี้เป็นเพราะความสุขุมคัมภีรภาพของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยแท้

2.3 ผลกระทบอันเกิดจากการเลิกทาส
1) ทำให้บรรดาเจ้าของทาสต้องสูญเสียประโยชน์อันเกิดจากแรงงานทาสที่เคยได้รับมาเป็นเวลานาน
2) ทำให้เกิดแรงงานเสรี ซึ่งช่วยให้การดำเนินธุรกิจการลงทุนมีความคล่องตัวมากขึ้น เพราะมีแรงงานเสรีซึ่งเกิดจากการปลดปล่อยทาสในตลาดแรงงานมากขึ้น อันจะส่งผลให้การลงทุนทางด้านธุรกิจการค้าและการอุตสาหกรรมขยายตัวออกไปมากขึ้น

ที่ วันศุกร์, สิงหาคม 27

ศาลยุติธรรม

ศาลยุติธรรม

นางสาวณัชชา วรวัฒนเมธีกุล
ผู้อำนวยการสำนักคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม

ศาลยุติธรรม (The Court of Justice) เป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น

ศาลยุติธรรมมี 3 ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา เว้นแต่ที่มีบัญญัติเป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญหรือตามกฎหมายอื่น

ศาลชั้นต้น ได้แก่ ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี ศาลจังหวัด ศาลแขวง และศาลยุติธรรมอื่นที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดให้เป็นศาลชั้นต้น เช่น ศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาลล้มละลาย

ศาลอุทธรณ์ ได้แก่ ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาค

สำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักงานศาลยุติธรรม เป็นองค์กรอิสระที่ดูแลงานธุรการของศาลยุติธรรม มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีอิสระในการบริหารงานบุคคลการงบประมาณและการดำเนินการอื่น ตามที่กฎหมายบัญญัติ โดยมีเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อประธานศาลฎีกา

การแต่งตั้งเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมต้องได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม

ประวัติศาลยุติธรรม

ปัจจุบันนี้ศาลและกระทรวงยุติธรรมได้พัฒนาเจริญก้าวหน้าในทุก ๆ ด้าน ทางด้าน การพัฒนาบุคลากรและการขยายศาลยุติธรรมให้กว้างขวางครอบคลุมคดีความทุกด้านตามความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมือง เพื่อประสิทธิ์ประสาทความยุติธรรมโดยเสมอหน้าและเท่าเทียมกันทุกเพศ ทุกวัย ทุกฐานะอาชีพ และทุกท้องที่แม้ว่าจะอยู่ห่างไกลเพียงใดก็ตาม การที่ศาลและกระทรวงยุติธรรมพัฒนาก้าวหน้ามาเช่นนี้ก็ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ในยุคสมัยต่าง ๆ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับสถาบันยุติธรรมอย่างแน่นแฟ้นตลอดมาโดยทรงเป็นองค์ตุลาการตั้งแต่สมัยโบราณกาลมา แม้ปัจจุบันศาลก็ดำเนินการภายใต้พระปรมาภิไธยขององค์พระมหากษัตริย์ ในโอกาสที่กระทรวงยุติธรรมได้สถาปนามาครบ 100 ปี (พ.ศ. 2535) ได้มีการจัดงานที่ระลึกขึ้นและถือเป็นโอกาสอันดีที่จะย้อนรอยไปสู่อดีต เพื่อให้ประชาชนชาวไทยทั้งหลายได้ทราบถึงความเป็นมาของศาลไทยและกระทรวงยุติธรรมตลอดจนความสัมพันธ์ของพระมหากษัตริย์ไทยกับกระบวนการยุติธรรม ย้อนร้อยอดีตไป 700 ปี เริ่มที่

กรุงสุโขทัย

ในสมัยนี้บ้านเมืองมีความอุดมสมบูรณ์ดังคำพังเพยที่ว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” ประชาชนพลเมืองมีน้อย อยู่ในศีลในธรรมคดีความจึงมีไม่มาก พระมหากษัตริย์กับประชาชนมีความใกล้ชิดกัน พระมหากษัตริย์จึงทรงตัดสินคดีความด้วยพระองค์เองเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มี หลักฐานจากศิลาจารึกว่า พระมหากษัตริย์ได้ทรงมอบให้ขุนนางตัดสินคดีแทนด้วย ในสมัยนี้พอมีหลักฐานเกี่ยวกับการพิจารณาคดีจากหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง “ในปากประตูมีกระดิ่งอันหนึ่งแขวนไว้หั้น ไพร่ฟ้าหน้าปก กลางบ้านกลางเมืองมีถ้อยมีความ เจ็บท้องข้องใจมันจักกล่าวถึงเจ้าถึงขุนบ่ไร้ ไปลั่นกระดิ่งอันท่านแขวนไว้ พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองได้ยินเรียก เมื่อถามสวนความแก่มันด้วยซื่อ ไพร่ในเมืองสุโขทัยนี้จึงชม ไพร่ฟ้า ลูกเจ้า ลูกขุนผิแลผิแผกแสกว้างกัน สวนดูแท้แล้วจึงแล่งความแก่ข้าด้วยซื่อ บ่อเข้าผู้ลักมักผู้ซ่อนเห็นข้าวท่านบ่อใคร่พิน เห็นสินท่านบ่อใคร่เดือด” จากศิลาจารึกนี้ทำให้ทราบว่า การร้องทุกข์ในสมัยนั้นร้องทุกข์ต่อพระมหากษัตริย์โดยตรง และพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ไต่สวนพิจารณาคดีด้วยพระองค์เอง หรือให้ขุนนางเป็นผู้ไต่สวนให้ถ่องแท้และตัดสินคดีด้วยความเป็นธรรม ไม่ลำเอียงและไม่รับสินบน ซึ่งเป็นหลักการสำคัญใน การพิจารณาคดีในสมัยนั้น สำหรับสถานที่พิจารณาคดีที่เรียกว่า ศาลยุติธรรมนั้นในสมัยสุโขทัยไม่ปรากฏว่ามีศาล ตัดสินคดีเหมือนในสมัยนี้ แต่ก็มีหลักฐานจากหลักศิลาจารึกว่า ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงทรงใช้ ป่าตาลเป็นที่พิจารณาคดี ซึ่งพอเทียบเคียงได้ว่าเป็นศาลยุติธรรมในสมัยนั้น “1214 ศก ปีมะโรง พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัยนี้ ปลูกไม้ตาลนี้ได้ 14 เท่า จึงให้ช่างฟันกระดาษเขียนตั้งหว่างกลางไม้ตาลนี้ วันเดือนดับเดือนหก 8 วัน วันเดือนเต็มเดือนบั้ง ฝูงปู่ครูเถร มหาเถรขึ้นนั่งเหนือกระดานหินสวดธรรมแก่อุบาสก ฝูงถ้วยจำศีล ผิใช่วันสวดธรรม พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัยขึ้นนั่งเหนือกระดาษหิน ให้ฝูงถ้วยลูกเจ้า ลูกขุน ฝูงถ้วยถือบ้านถือเมือง ในกลางป่าตาลมีศาลา 2 อัน อันหนึ่งชื่อศาลพระมาส อันหนึ่งชื่อพุทธศาลา กระดานหินนี้ชื่อมนังคศิลาบาท” จากศิลาจารึกนี้พอเทียงเคียงได้ว่า ป่าตาลเป็นศาลยุติธรรม สมัยสุโขทัย และพระแท่นมนังคศิลาบาทเป็นเสมือนบัลลังก์ศาลในสมัยนั้น สำหรับกฎหมายที่ใช้ในสมัยสุโขทัยซึ่งปรากฎในศิลาจารึกหลักที่หนึ่งนั้น มีลักษณะคล้ายกฎหมายในปัจจุบัน เช่น กฎหมายกรรมสิทธิ์ที่ดิน “หมากม่วงก็หลายในเมืองนี้ หมากขามก็หลายในเมืองนี้ ใครสร้างได้ไว้แก่มัน” กฎหมายพาณิชย์ “ใครจะใคร่ค้าม้าค้า ใครจะใคร่ค้าเงินค้า ค้าทองค้า ไพร่ฟ้าหน้าใส” นอกจากนั้นแล้วในหลักศิลาจารึกยังกล่าวถึงกฎหมายลักษณะโจรและการลงโทษ เช่น ขโมยข้าทาสของผู้อื่น “ผิผู้ใดหากละเมิน และไว้ข้าท่านพ้น 3 วัน คนผู้นั้นไซร้ท่านจะให้ไหมแลวันแลหมื่นพัน” นอกจากกฎหมายต่าง ๆ ที่มีลักษณะเหมือนกฎหมายปัจจุบันแล้ว ยังใช้กฎหมายคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ของอินเดียด้วย สำหรับการลงโทษในสมัยสุโขทัยตามหลักศิลาจารึก กฎหมายลักษณะโจรมีโทษเพียง ปรับเท่านั้น ไม่มีหลักฐานการลงโทษที่รุนแรงถึงตาย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะบ้านเมืองอุดมสมบูรณ์ ประชาชนมีไม่มากและเป็นผู้ที่เคร่งครัดอยู่ในศีลในธรรมตามหลักพุทธศาสนา ประชาชนจึงอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข

สมัยกรุงศรีอยุธยา

ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทองทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี บ้านเมืองก็เจริญขึ้นตามลำดับ ราษฎรก็เพิ่มมากขึ้น ทำให้พระราชภารกิจของพระมหากษัตริย์มีมากขึ้น จึงมิอาจทรงพระวินิจฉัยคดีความด้วยพระองค์เองได้อย่างทั่วถึงเช่นกาลก่อน จึงทรงมอบอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวินิจฉัยอรรถคดีของอาณาประชาราษฎร์ให้แก่ ราชครู ปุโรหิตา พฤฒาจารย์ ซึ่งเป็นมหาอำมาตย์พราหมณ์ในราชสำนักและเสนาบดีต่าง ๆ เป็นผู้ว่าการยุติธรรมต่างพระเนตรพระกรรณ ทำให้พระมหากษัตริย์ไม่อาจใกล้ชิดกับราษฎรเหมือนสมัยสุโขทัย แม้ว่าพระมหากษัตริย์จะดูเหมือนห่างไกลจากราษฎร แต่ว่าบทบาททางด้านการยุติธรรมนั้นกลับดูใกล้ชิดกับราษฎรอย่างยิ่ง โดยทรงเป็นที่พึงสุดท้ายของราษฎร ถ้าราษฎรเห็นว่าตนไม่ได้รับความยุติธรรมในการพิจารณาคดีก็มีสิทธิที่จะถวายฎีกา เพื่อขอให้พระมหากษัตริย์พระราชทานความเป็นธรรมแก่ตนได้ ซึ่งเป็นประเพณีสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน และเมื่อพระมหากษัตริย์ทรง พระวิจารณญาณวินิจฉัยอรรถคดีใดด้วยพระองค์เอง พระบรมราชวินิจฉัยในคดีนั้นก็เป็นบรรทัดฐานที่ศาลสถิตย์ยุติธรรมพึงถือปฏิบัติสืบต่อมา ผู้ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการยุติธรรมแทนพระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีมี 3 กลุ่มได้แก่ ลูกขุน ณ ศาลหลวง ตระลาการ ผู้ปรับ การพิจารณาคดีในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผู้กล่าวหาหรือผู้ที่จะร้องทุกข์ต้องร้องทุกข์ต่อจ่าศาลว่าจะฟ้องความอย่างไรบ้าง จ่าศาลจะจดถ้อยคำลงในหนังสือแล้วส่งให้ลูกขุน ณ ศาลหลวงพิจารณาว่า เป็นการฟ้องร้องตามกฎหมายควรรับไว้พิจารณาหรือไม่ ถ้าเห็นควรรับไว้พิจารณาจะพิจารณาต่อไปว่า เป็นหน้าที่ของศาลกรมไหนแล้วส่งคำฟ้องและตัวโจทก์ไปยังศาลนั้น เช่น ถ้าเป็นหน้าที่กรมนา จะส่งคำฟ้องและโจทก์ไปที่ศาลกรมนา ตระลาการศาลกรมนาก็จะออกหมายเรียกตัวจำเลยมาถามคำให้การไต่สวนเสร็จแล้วส่งคำให้การไปปรึกษาลูกขุน ณ ศาลหลวงว่ามีข้อใดต้องสืบพยานบ้าง เมื่อลูกขุนส่งกลับมาแล้ว ตระลาการก็จะทำการสืบพยานเสร็จแล้วก็ทำสำนวนให้โจทก์และจำเลยหยิกเล็บมือที่ดินประจำผูกสำนวน เพื่อเป็นพยานหลักฐานว่าเป็นสำนวนของโจทก์ จำเลย แล้วส่งสำนวนคดีไปให้ลูกขุน ณ ศาลหลวง ลูกขุน ณ ศาลหลวงจะพิจารณาคดีแล้วชี้ว่าฝ่ายใดแพ้คดี เพราะเหตุใดแล้วส่งคำพิพากษาไปให้ผู้ปรับ ผู้ปรับจะพลิกกฎหมายและกำหนดว่าจะลงโทษอย่างไรตามมาตราใด เสร็จแล้วส่งคืนให้กรมนา ตระลาการกรมนาจะทำการปรับไหมหรือลงโทษตามคำพิพากษา หากคู่ความไม่พอใจตามคำพิพากษา ก็สามารถอุทธรณ์ต่อผู้บังคับบัญชาหัวเมืองนั้น ๆ ถ้ายังไม่พอใจก็สามารถถวายฎีกาต่อพระมหากษัตริย์ได้อีก ศาลในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นมี 4 ศาลตามการปกครองแบบจตุสดมภ์ โดยเริ่มที่กรมวังก่อนแล้วจึงขยายไปยังที่กรมอื่น ๆ ในตองกลางกรุงศรีอยุธยามีการตั้งกรมต่าง ๆ ขึ้นจึงมีศาลมากมายกระจายอยู่ตามกรมต่าง ๆ ทำหน้าที่พิจารณาคดีที่เกี่ยวกับกรมของตน ในช่วงกลางสมัยกรุงศรีอยุธยามีการรวมรวบกรมต่าง ๆ ขึ้นเป็นกระทรวงจึงแบ่งศาลออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ศาลความอาญา ศาลความแพ่ง สองศาลนี้ขึ้นอยู่กับกระทรวงวัง ชำระความคดีอาญาและคดีความแพ่งทั้งปวง ศาลนครบาล ขึ้นอยู่กับกระทรวงนครบาล ชำระความคดีโจรผู้ร้าย เสี้ยนหนามแผ่นดิน ทั่วไป ศาลการกระทรวง ขึ้นอยู่กับกระทรวงอื่น ๆ ชำระคดีที่อยู่ในหน้าที่ของกระทรวงนั้น ๆ ส่วนสถานที่พิจารณาคดีหรือที่ทำการของศาลในสมัยกรุงศรีอยุธยา นอกจากศาลหลวงที่ ตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวังแล้ว ศาลอื่น ๆ ไม่มีที่ทำการโดยเฉพาะ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า ที่ทำการของศาลหรือที่พิจารณาคดีคงใช้บ้านของตระลาการของศาลแต่ละคนเป็นที่ทำการ สำหรับที่ตั้งของศาลหลวงนั้นมีหลักฐานตามหนังสือประชุมพงศาวดารภาค 63ว่าด้วยตำนานกรุงเก่ากล่าวว่า ศาลาลูกขุนนอก คือศาลหลวงคงอยู่ภายในกำแพงชั้นนอกไม่สู้ห่างนัก คงจะอยู่มาทางใกล้กำแพงริมน้ำ เนื่องจากเมื่อขุดวังได้พบดินประจำผูกสำนวนมีตราเป็นรูปต่าง ๆ และบางก้อนก็มีรอยหยิกเล็บมือ ศาลหลวงคงถูกไฟไหม้เมือเสียกรุง ดินประจำผูกสำนวนจึงสุกเหมือนดินเผา มีสระน้ำอยู่ในศาลาลูกขุนใน สระน้ำนี้ในจดหมายเหตุซึ่งอ้างว่าเป็นคำให้การของขุนหลวงหาวัด ว่าเป็นที่สำหรับพิสูจน์คู่ความให้ดำน้ำในสระนั้น เพื่อพิสูจน์ว่ากล่าวจริงหรือกล่าวเท็จ

กฎหมายในสมัยกรุงศรีอยุธยา แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

พระธรรมศาสตร์ เป็นกฎหมายดั้งเดิมของไทยตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย เป็นหลักกฎหมายที่ลูกขุนฝ่ายในศาลหลวงจะต้องยึดถือปฏิบัติ และใช้ในการวินิจฉัยคดี มีบทกำหนดลักษณะของตุลาการ ข้อพึงปฏิบัติของตุลาการ คำสั่งสอนตุลาการ

พระราชศาสตร์ เป็นพระบรมราชวินิจฉัยในอรรถคดีของพระมหากษัตริย์ เช่น การวินิจฉัยคดีที่ราษฎรฎีกา เป็นต้น ซึ่งต้องยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติต่อมาจนกลายเป็นกฎหมาย

พระราชกฎหมาย กำหนดกฎหมายอื่น ๆ เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์พระองค์ต่าง ๆ ทรงตราขึ้นตามความเหมาะสม และความจำเป็นของแต่ละสมัยที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก

การลงโทษผู้กระทำผิดในสมัยกรุงศรีอยุธยามีความรุนแรงมากถึงขั้นประหารชีวิต การประหารชีวิตโดยทั่วไป ใช้วิธีตัดศีรษะด้วยดาบ แต่ถ้าเป็นคดีกบฎประหารชีวิตด้วยวิธีที่ทารุณมาก การลงโทษหนักที่ไม่ถึงขั้นประหารชีวิตจะเป็นการลงโทษทางร่างกายให้เจ็บปวดทรมานโดยวิธีต่าง ๆ เพื่อให้เข็ดหลาบ

สมัยกรุงธนบุรี

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงมีพระราชภารกิจในการสงคราม เพื่อกอบกู้เอกราชจากพม่าและการรวบรวมบ้านเมืองให้เป็นบึกแผ่น ประกอบกับพระองค์ทรงครองราชย์เพียง 15 ปี จึงมิได้เปลี่ยนแปลงระบบการยุติธรรมคงใช้กฎหมายและระบบศาลของกรุงศรีอยุธยาสืบเนื่องมา

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

พระมหากษัตริย์ไทยทรงแสดงให้เห็นเป็นประจักษ์ชัดแจ้งอีกครั้งว่าพระองค์ท่านทรงตั้งพระทัยที่จะประสิทธิ์ประสาทความยุติธรรม ให้แก่อาณาประชาราษฎร์อย่างแท้จริง เมื่อนายบุญศรีช่างเหล็กหลวงได้ถวายฎีกาต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรมในการพิจารณาคดีโดยอำแดงป้อมผู้เป็นภรรยาได้นอกใจทำชู้กับนายราชาอรรถและมาฟ้องหย่านายบุญศรีไม่ยอมหย่าให้ แต่ลูกขุนตัดสินให้หย่าได้ นายบุญศรีเห็นว่าตัดสินไม่เป็นธรรมจึงร้องทุกข์ถวายฎีกา สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสอบสวน พบว่าลูกขุนตัดสินต้องตรงความกฎหมายซึ่งบัญญัติว่า “ชายหาผิดมิได้หญิงขอหย่า ท่านว่าให้หญิงหย่าชายได้” พระองค์ทรงพระราชดำริว่า หลังจากเสียกรุงแก่พม่าแล้ว มีการดัดแปลงแต่งเติมกฎหมายให้ฟั่นเฟือนวิปริต ขาดความยุติธรรม สมควรที่จะชำระสะสางใหม่เพื่อให้ทรงไว้ ซึ่งความยุติธรรม จึงทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตรวจสอบกฎหมายต่าง ๆ ให้ตรงตามพระธรรมศาสตร์ แล้วจัดเป็นหมวดหมู่ และเพื่อป้องกันการดัดแปลงแก้ไขจึงทรงโปรดให้จัดทำเป็น 3 ฉบับมีข้อความตรงกันแยกเก็บไว้ที่ห้องเครื่อง หอหลวง และศาลหลวง แห่งละ 1 ฉบับแต่ละฉบับประทับตราเป็นสัญลักษณ์ 3 ดวง คือ ตราพระราชสีห์ ตราพระคชสีห์ และตราบัวแก้ว เรียกว่า กฎหมายตราสามดวงในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเอาพระทัยใส่ในการพิจารณาคดีกับทรงห่วงใยในการดำเนินคดีต่ออาณาประชาราษฎร์ จึงทรงให้ขุนศาลตุลาการพิจารณาคดีโดยรวดเร็ว โดยการกำหนดขั้นตอนให้ปฏิบัติหากมีปัญหาให้นำความกราบบังคมทูล พระมหากรุณาห้ามกดความของราษฎรให้เนิ่นช้าเป็นอันขาดพระมหากษัตริย์พระองค์อื่น ๆ ทรงมีพระราชกรณียกิจอันสำคัญยิ่งต่องานศาล และกระทรวงยุติธรรมดังจะกล่าวต่อไป ในด้านการพิจารณาคดีสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ก่อนตั้งกระทรวงยุติธรรมนั้น หลักใหญ่ยังคงใช้วิธีเดียวกับสมัยกรุงศรีอยุธยา กฎหมายที่ใช้บังคับในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นนี้ เป็นกฎหมายในสมัยกรุงศรีอยุธยาแต่รวบรวมใหม่เรียกว่า กฎหมายตราสามดวง ซึ่งต่อมาเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมและบัญญัติใหม่เพื่อให้เหมาะแก่กาลสมัยการบังคับใช้กฎหมายและระบบพิจารณาคดีแบบกรุงศรีอยุธยา ในระยะแรกไม่มีปัญหา แต่นานเข้ากรุงรัตนโกสินทร์มีการติดต่อสัมพันธ์กับชาวต่างประเทศ สภาพบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไปทำให้ระบบศาลในการพิจารณาคดีกับกฎหมายต่าง ๆ ที่ใช้บังคับมาแต่โบราณไม่เหมาะสม เนื่องจากการพิจารณาไต่สวนคดีล้าสมัย เช่น การทรมานให้รับสารภาพ และการลงโทษที่รุนแรงและทารุณต่าง ๆ ปัญหานี้เริ่มชัดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อชาวต่างประเทศขอทำสนธิสัญญาสภาพนอกอาณาเขตไม่ยอมขึ้นศาลไทย เริ่มจากประเทศอังกฤษขอตั้งศาลกงสุลประเทศแรก เพื่อพิจารณาคดีคนในบังคับของอังกฤษตกเป็นจำเลย ต่อมาชาติอื่น ๆ ก็ขอตั้งศาลกงสุลของตนบ้าง เช่น ฝรั่งเศส เดนมาร์ก โปรตุเกส ทำให้คนไทยต้องเสียเอกราชทางศาลบางส่วนไปเมื่อมีกรณีพิพาทกับชาวต่างประเทศ มีผู้พิพากษาเป็นชาวต่างประเทศ ดังนั้นจึงจำต้องปรับปรุงการศาลให้ทันสมัย โดยเริ่มต้นจากการรวบรวมศาลต่าง ๆ ที่กระจัดกระจายมารวมอยู่ในที่แห่งเดียวกัน จัดตั้งศาลสถิตย์ยุติธรรมขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2425 (ร.ศ. 101) โปรดเกล้าให้จารึกเรื่องที่ทรงพระราชดำริให้สร้างศาลหลวงนี้ไว้ในหิรัญบัตรบรรจุหีบไว้ในแท่งศิลาใหญ่ ซึ่งเป็นศิลาปฐมฤกษ์ เพื่อให้เป็นสิ่งสำคัญประจำศาลสืบไปภายหน้า ขอให้ธรรมเนียมยุติธรรมนี้จงเจริญรุ่งเรืองแผ่ไพศาลสมดังพระบรมราชประสงค์โดยสุจริตศาลสถิตย์ยุติธรรมนี้เป็นที่ประชุมของลูกขุนตระลาการ ขุนศาลทุกกระทรวง และกำหนดให้ผู้พิพากษาทำหน้าที่พิจารณาคดี ีและศาลยุติธรรมอยู่ฝ่ายเดียวมิให้เกี่ยวกับราชการอื่น เพื่อให้เกิดความยุติธรรมอย่างแท้จริง อีกทั้งยังเป็นที่เก็บรักษากฎหมายต่าง ๆ ทั้งเก่าและใหม่ทุกประเภทให้อยู่ในที่เดียวกัน เพื่อจะให้สอบสวนง่ายทำให้คดีเสร็จเร็วขึ้น

ต่อมา 1 ปีประเทศอังกฤษยอมผ่อนปรนเอกราชทางการศาลกับไทย โดยยอมให้ตั้งศาลต่างประเทศที่จังหวัดเชียงใหม่ขึ้นเป็นแห่งแรก ศาลนี้ประกอบด้วย ผู้พิพากษาไทย และกงสุลอังกฤษนั่งร่วมกันพิจารณาคดีที่คนในบังคับอังกฤษเป็นคู่ความกันเอง หรือคนในบังคับอังกฤษเป็นคู่ความ ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แต่อังกฤษก็ยังสงวนสิทธิที่จะถอนคดีไปให้ศาลกงสุลอังกฤษพิจารณาคดีเอง

ต่อมาปี พ.ศ. 2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงจัดตั้งกระทรวงยุติธรรมขึ้น เพื่อรวบรวมศาลที่กระจายอยู่ตามกระทรวงต่าง ๆ ให้มารวมอยู่ในกระทรวงเดียวกันคือกระทรวงยุติธรรม โดยใช้อาคารศาลสถิตย์ยุติธรรมเป็นที่ทำการ โดยเริ่มจากการรวบรวมศาลในกรุงเทพฯ ก่อนทำให้ศาลในกรุงเทพฯ ซึ่งเคยมีถึง 16 ศาลเหลือเพียง 7 ศาล ครั้นรวบรวมศาลในกรุงเทพฯ ให้สังกัดกระทรวงยุติธรรมแล้ว ในปี พ.ศ. 2439 ได้รวบรวมศาลหัวเมืองต่าง ๆ ตั้งเป็นศาลมณฑลสังกัดกระทรวงยุติธรรม โดยเริ่มจากตั้งศาลมณฑลกรุงเก่าเป็นแห่งแรกที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยใช้พระที่นั่งพิมานรัถยาในพระราชวังจันทร์เกษมเป็นที่ทำการ หลังจากนั้นได้ตั้งศาลมณฑลอื่น ๆ ตลอดราชอาณาจักร ศาลหัวเมืองในขณะนั้นมี 3 ประเภท คือ ศาลมณฑล ศาลเมือง และศาลแขวง เมื่อสถาปนากระทรวงยุติธรรมและจัดระเบียบการตั้งศาลหัวเมืองแล้ว ได้มีการปฏิรูปศาลให้ทันสมัยมากมาย เช่น ดำเนินการแยกอำนาจบริหารและอำนาจตุลาการออกจากกัน โดยให้เสนาบดีกระทรวงยุติธรรมรับผิดชอบทำให้การพิจารณาพิพากษาคดีเป็นไปโดยสะดวก ส่วนหน้าที่ในการพิจารณาและพิพากษาคดีเป็นหน้าที่ของผู้พิพากษา ปรับปรุงระบบการพิจารณาคดี การสืบพยานให้รวดเร็วและทันสมัย เปลี่ยนโทษเฆี่ยนตีมาเป็นโทษจำขังแทน เลิกวิธีพิจารณาคดีโจรผู้ร้ายตามจารีตนครบาล ร.ศ. 115 โดยยกเลิกวิธีทรมานต่าง ๆ ให้รับสารภาพ นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงกฎหมายและระบบศาลต่าง ๆ อีกหลายประการ นับว่าการจัดตั้งกระทรวงยุติธรรมก่อให้เกิดการพัฒนาทางศาลอย่างมากมาย ภายหลังจากการตั้งกระทรวงยุติธรรม 1 ปีก็ยกเลิกศาลกรมกองตระเวน ตั้งใหม่เป็นศาลโปริสภา ซึ่งเป็นต้นกำเนิดศาลแขวงต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ สำหรับพิจารณาคดีเล็ก ๆ น้อยสำหรับประชาชน 4 จังหวัดภาคใต้ที่นับถือศาสนาอิสลามเป็นส่วนใหญ่ คือจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ใช้กฎหมายอิสลามบังคับในคดีครอบครับและมรดก สำหรับอิสลามศาสนิกที่มีภูมิลำเนาใน 4 จังหวัดดังกล่าว มีดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้พิพากษาร่วมด้วยซึ่งเป็นการขยายความยุติธรรมให้ทั่วถึงยิ่งขึ้นและยังถือเปฏิบัติมาตราบเท่าทุกวันนี้

พ.ศ. 2447 ประเทศฝรั่งเศส เดนมาร์ก และอิตาลี ยินยอมให้คนในบังคับของตนที่อยู่ในภาคเหนือขึ้นศาลต่างประเทศที่จังหวัดเชียงใหม่ทำนองเดียวกับ ประเทศอังกฤษ

พ.ศ. 2450 ฝรั่งเศสได้ทำสนธิสัญญายินยอมให้คนในบังคับของฝรั่งเศสที่เป็นชาวเอเชียขึ้นศาลต่างประเทศทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา เมื่อประเทศไทยใช้กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 เมื่อ พ.ศ. 2451 อันเป็นประมวลกฎหมายระบบสากลฉบับแรกของไทย หลังจากนั้นประเทศต่าง ๆ ได้ทยอยทำสนธิสัญญาคืนอำนาจศาลให้ไทยโดยให้คนในบังคับของตนขึ้นศาลไทย

ต่อมาปี พ.ศ. 2455 จึงมีการแยกอำนาจตุลาการออกจากกระทรวงยุติธรรมตามระเบียบจัดราชการกระทรวงยุติธรรม ร.ศ. 131 ซึ่งกำหนดให้เสนาบดีกระทรวงยุติธรรมมีอำนาจบังคับบัญชาฝ่ายธุรการของกระทรวงยุติธรรมอย่างเดียว ส่วนอธิบดีศาลฎีกามีอำนาจหน้าที่วางระเบียบราชการฝ่ายตุลาการ การโยกย้าย และเลื่อนตำแหน่งผู้พิพากษา และวินิจฉัยข้อกฎหมายอันเป็นหลักที่ยึดถือจนถึงปัจจุบัน

พ.ศ. 2459 มีการเปลี่ยนศาลเมืองเป็นศาลจังหวัด เพื่อให้สอดคล้องกับการปกครองกระทรวงมหาดไทยที่เปลี่ยนเมืองเป็นจังหวัด ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ไทยได้ร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรประเทศสงครามกับฝ่ายเยอรมัน ออสเตรีย ฮังการี

ในปี พ.ศ. 2457 เมื่อฝ่ายสัมพันธมิตรชนะสงคราม ไทยได้รับเอกราชทางการศาลคืนจากเยอรมัน ออสเตรีย ฮังการี ในปี พ.ศ. 2462 ส่วนประเทศพันธมิตรที่ร่วมชนะสงคราม ก็ได้รับรองเอกราชทางการศาลไทยด้วย ในช่วงนี้นับว่าไทยได้รับเอกราชทางการศาลเกือบสมบูรณ์ นอกจากนั้นประเทศสัมพันธมิตรก็ยังให้สนธิสัญญาว่า หากประเทศไทยประกาศใช้ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายว่าด้วยการพิจารณาคดี และกฎหมายว่าด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมครบถ้วนแล้วจะให้เอกราชทางการศาลไทยโดยสมบูรณ์ภายใน 5 ปี ในขณะนั้นประเทศไทยได้ประกาศใช้กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 อยู่หนึ่งฉบับ และได้รีบเร่งร่างกฎหมายที่เหลืออีก 3 ฉบับ

พ.ศ. 2475 เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกแก่ปวงชนชาวไทย การดำเนินการในเรื่องเอกราชทางการศาลได้กระทำอย่างต่อเนื่องจนกระทั่ง พ.ศ. 2478 จึงได้ประกาศใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

พ.ศ. 2477 ครบถ้วนเป็นฉบับสุดท้าย

พ.ศ. 2481 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ประเทศต่าง ๆ จึงได้ยกเลิกสนธิสัญญาโดยให้เอกราชทางการศาลไทยจนหมดสิ้นซึ่งเร็วกว่ากำหนด 2 ปี พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

พ.ศ. 2477 ได้เปลี่ยนศาลมณฑลเป็นศาลจังหวัด และเรียกศาลในสังกัดกระทรวงยุติธรรมว่า ศาลยุติธรรม แบ่งเป็น 3 ชั้น คือ ศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ และศาลชั้นต้น

ต่อมาได้มีการจัดตั้งศาลขึ้นอีกหลายศาล กล่าวคือ พ.ศ. 2495 จัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางที่กรุงเทพฯ เป็นแห่งแรก และต่อมาได้ขยายไปต่างจังหวัดด้วย

พ.ศ. 2523 จัดตั้งศาลแรงงานในกรุงเทพฯ พ.ศ. 2525 จัดตั้งศาลแพ่งธนบุรีและศาลอาญาธนบุรี เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนย่านฝั่งธนบุรี

พ.ศ. 2529 จัดตั้งศาลภาษีอากรกลางในกรุงเทพฯ พ.ศ. 2535 เปลี่ยนแปลงศาลคดีเด็กและเยาวชนเป็นศาลเยาวชนและครอบครัว เพื่อขยายการคุ้มครองเด็กและเยาวชนให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ในปี พ.ศ. 2535 เป็นวาระครบ 100 ปี กระทรวงยุติธรรม มีศาลสังกัดกระทรวงยุติธรรมดังนี้

ศาลฎีกา เป็นศาลสูงสุดของประเทศมีศาลเดียว ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร มีหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษา หรือคำสั่งศาลอุทธรณ์ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการฎีกา

ศาลอุทธรณ์ เป็นศาลสูงชั้นกลางมี 4 ศาล ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลชั้นต้น ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีเขตอำนาจในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่าง ๆ ในภาคกลาง และภาคตะวันออก ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีเขตอำนาจในเขตพื้นที่ภาคตะวัตออกเฉียงเหนือ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีเขตอำนาจในเขตจังหวัดภาคเหนือ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีเขตอำนาจในเขตจังหวัดภาคใต้

ศาลชั้นต้น เป็นศาลที่รับฟ้องในเรื่องชั้นคดี ทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญา เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ ประกอบด้วย ศาลชั้นต้นในกรุงเทพมหานคร เช่น ศาลแพ่ง ศาลอาญา ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ศาลแรงงานกลาง ศาลภาษีอากรกลาง และศาลแขวงต่าง ๆ กับศาลชั้นต้นในจังหวัดอื่น ๆ นอกจากกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ศาลจังหวัด ศาลแขวง และศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดทางด้านการยุติธรรมนับตั้งแต่จัดตั้งกระทรวงยุติธรรมเมื่อ 100 ปีที่แล้ว ก็ได้สร้างความเจริญให้แก่ศาลและวงการตุลาการของไทยในการพัฒนาก้าวหน้าควบคู่กันมาโดยตลอดจนกระทั่งเป็นศาลที่ทันสมัยทัดเทียมนานาอารยประเทศในปัจจุบันนี้กระทรวงยุติธรรม ก็มีบทบาทในการสนับสนุนงานยุติธรรมของศาลด้านงบประมาณ งานด้านอาคารสถานที่ และงานธุรการต่าง ๆ เพื่ออำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน เช่น จัดตั้งสำนักงานคุมประพฤติกลางและสำนักงานคุมประพฤติประจำศาลต่าง ๆ เพื่อแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดให้กลับตนเป็นพลเมืองดี ทำให้ลดจำนวนคดีลง เป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างยิ่งจึงขยายงานคุมประพฤติ ตั้งเป็นกรมคุมประพฤติ ใน พ.ศ. 2535 จัดตั้งสำนักงานอนุญาโตตุลาการ เพื่อเผยแพร่การระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการโดยไม่ต้องขึ้นศาลในด้านการพัฒนาที่ทำการของศาลนั้น กระทรวงยุติธรรมก็ได้ดำเนินการจัดตั้งที่ทำการศาลเพิ่มเติมตลอดมา เพื่อให้เพียงพอต่อการพิจารณาคดีและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในโอกาสครบ 100 ปีกระทรวงยุติธรรมใน พ.ศ. 2535 กระทรวงยุติธรรมได้ดำเนินการเปิดอาคารที่ทำการใหม่ สำหรับศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค ศาลแพ่ง ศาลอาญา และศาลภาษีอากรกลาง จะเห็นได้ว่ากระทรวงยุติธรรมนั้นได้ปรับปรุงพัฒนาตลอดเวลา เพื่อให้สามารถรองรับงานยุติธรรมของศาลได้ ใน พ.ศ. 2534 แบ่งเป็น 4 หน่วยงาน การบริหารงานราชการของกระทรวงยุติธรรมมีจุดมุ่งหมายในการสนับสนุนให้การดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีของศาลเป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็วและเป็นธรรม อำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายเดียวกันกับศาลยุติธรรม ดังนั้นศาลและกระทรวงยุติธรรม จึงมีความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้นตลอดระยะเวลา 100 ปี

สถาบันหนึ่งที่มีส่วนสำคัญต่องานศาลและกระทรวงยุติธรรม คือ องค์พระมหากษัตริย์ อันเป็นต้นกำเนิดของศาลยุติธรรมและมีบทบาทสำคัญที่สุดในการพัฒนาระบบศาลและงานยุติธรรม ดังที่ทราบกันมาแล้วแม้ในระยะหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตยแล้ว องค์พระมหากษัตริย์ยังทรงให้ความสำคัญต่องานยุติธรรมมิได้ยิ่งหย่อนกว่าบูรพกษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล แม้จะมีพระชนม์น้อยแต่ทรงสนพระทัยในกิจการศาลเป็นอันมาก ทรงเสด็จเหยียบศาลหัวเมือง 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2489 ณ ศาลจังหวัดนครปฐม และครั้งที่ 2 วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 ณ ศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา การเสด็จเหยียบศาลถึง 2 ครั้ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลได้เสด็จประทับบัลลังก์ร่วมกับพระอนุชา ในการพิจารณาพิพากษาคดีกับผู้พิพากษา คดีที่ทรงเป็นประธานในการพิจารณาพิพากษาทั้ง 2 ครั้ง เป็นคดีลักทรัพย์ซึ่งจำเลยไม่เคยทำความผิดมาก่อน ศาลพิพากษาให้รอการลงโทษตามพระบรมราชวินิจฉัย เป็นผลให้จำเลยทั้ง 2 คดีมีโอกาสกลับตัวเป็นพลเมืองดีต่อไป เป็นที่ซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ก็ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อวงการศาลยุติธรรมมิได้ยิ่งหย่อนกว่ากัน ดังกระแสพระราชดำรัสในวโรกาสเสด็จพระราชดำเนินเหยียบกระทรวงยุติธรรม และศาลยุติธรรม นับตั้งแต่เสวยราชสมบัติเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2495 “ข้าพเจ้ามีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ท่านทั้งหลายได้มีไมตรีจิตมาร่วมชุมนุมต้อนรับข้าพเจ้าอย่างพร้อมเพรียงกัน การศาลยุติธรรมมีความสำคัญยิ่งประการหนึ่ง เพราะเป็นหลักประกันความปลอดภัยและความเที่ยงธรรมของคนทั้งประเทศ และเป็นอำนาจอธิปไตยส่วนหนึ่งตามรัฐธรรมนูญ ประเทศชาติจะเจริญก้าวหน้าไปได้ก็ต่อเมื่อมีความยุติธรรมสม่ำเสมอเป็นหลักอันคนทั้งปวงพึงยึดถือเป็นที่พึ่งได้เนืองนิจ ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นหน้าที่ส่วนหนึ่งที่จะได้ช่วยเหลือส่งเสริมให้การประสาทความยุติธรรมเจริญรุ่งเรืองสมควรแก่กาลสมัย ข้าพเจ้ามีความพอใจในประวัติของกระทรวงยุติธรรมและชื่อเสียงของศาลยุติธรรมที่ได้เป็นมา และความสามัคคีกลมเกลียวเป็นสมานฉันท์ของบรรดาข้าราชการกระทรวงยุติธรรม” ศาลยุติธรรมในสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรภูมิพลอดุลยเดชมหาราช มีความเจริญรุ่งเรืองทัดเทียมนานาอารยประเทศและด้วยพระบรมเดชานุภาพของพระองค์ ทำให้ศาลในพระปรมาภิไธยมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี โดยปราศจากการแทรกแซงของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ทำให้สามารถประสิทธิ์ประสาทความยุติธรรมได้อย่างเต็มที่ยิ่งกว่านั้นในคดีอาญา เมื่อคดีถึงที่สุดแล้วผู้ต้องคำพิพากษาและผู้ที่เกี่ยวข้องยังมีโอกาสสุดท้ายที่จะยื่นเรื่องราวต่อองค์พระมหากษัตริย์ เพื่อขอรับพระราชทานอภัยโทษได้อีก องค์พระมหากษัตริย์จึงทรงเป็นผู้อำนวยความยุติธรรม และเป็นที่พึงสุดท้ายของประชาชนอย่างแท้จริงสืบมาแต่โบราณกาล

สรุปเหตุการณ์กบฎ ปฏิวัติและการรัฐประหารในประเทศไทย

สรุปเหตุการณ์กบฎ ปฏิวัติและการรัฐประหารในประเทศไทย

การปฏิวัติ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕


" คณะราษฎร " ซึ่งประกอบด้วยทหารบก ทหารเรือ และพลเรือนบางกลุ่ม จำนวน ๙๙ นาย มีพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นหัวหน้าคณะ ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศ จาก พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พ ร ะ ป ร มิ น ท ร ม ห าป ร ะ ช า ธิ ป ก พ ร ะ ป ก เ ก ล้ าเ จ้ า อ ยู่ หั ว รั ช ก า ลที่ ๗   เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีรัฐธรรมนูญใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศสืบต่อไป พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พ ร ะ เ จ้ า อ ยู่ หั ว ทรงมีพระราชดำริ ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ ให้แก่ปวงชนชาวไทยอยู่ก่อนแล้ว จึงทรงยินยอมตามคำร้องขอของคณะราษฎร ที่ทำการปฏิวัติในครั้งนั้น



**********************************************************************

รัฐประหาร ๒๐ มิถุนายน ๒๔๗๖


พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา พร้อมด้วยทหารบก ทหารเรือ และพลเรือนคณะหนึ่ง ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศอีกครั้งหนึ่ง เพื่อขอให้พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นลาออกจากตำแหน่งซึ่งเป็นการริดรอนอำนาจภายในคณะราษฏร ที่มีการแตกแยกกันเอง ในส่วนของการใช้อำนาจ ต้องมีมาตรการป้องกันมิให้ใช้อำนาจในทางที่ละเมิดต่อกฎหมาย ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสังคมและประเทศชาติ เช่น ให้มีศาลคดีการเมือง ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการรัฐสภา สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินที่มีอิสระอย่างเต็มที่ การประกาศทรัพย์สินของนักการเมืองทุกคนทุกตำแหน่ง การออกกฎหมายผลประโยชน์ขัดกัน ฯลฯ



**********************************************************************

กบฏบวชเดช ๑๑ ตุลาคม ๒๔๗๖


พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เป็นหัวหน้าฝ่ายทหารจากหัวเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ก่อการเพื่อล้มล้างอำนาจของรัฐบาล โดยอ้างว่าคณะราษฎรปกครองประเทศไทยโดยกุมอำนาจไว้แต่เพียงแต่เพียงผู้เดียว และปล่อยให้บุคคลกระทำการหมิ่นองค์พระประมุขของชาติ รวมทั้งจะดำเนินการปกครองโดยลัทธิคอมมิวนิสต์ ตามแนวทางของนายปรีดี พนมยงค์ คณะผู้ก่อการได้ยกกำลังเข้ายึดดอนเมืองเอาไว้ ฝ่ายรัฐบาลได้แต่งตั้ง พ.ท.หลวง พิบูลสงคราม เป็นผู้บัญชาการกองกำลังผสม ออกไปปราบปรามจนประสบผลสำเร็จ



**********************************************************************

กบฏนายสิบ ๑ สิงหาคม ๒๔๗๘


ทหารชั้นประทวนในกองพันต่างๆ ซึ่งมีสิบเอกสวัสดิ์ มหะมัด เป็นหัวหน้า ได้ร่วมกันก่อการเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยจะสังหารนายทหารในกองทัพบก และจับพระยาพหลพลพยุหเสนาฯ และหลวงพิบูลสงครามไว้เป็นประกัน รัฐบาลสามารถจับกุมผู้คิดก่อการเอาไว้ได้ หัวหน้าฝ่ายกบฏถูกประหารชีวิต โดยการตัดสินของศาลพิเศษในระยะต่อมา



**********************************************************************

กบฏพระยาทรงสุรเดช ๒๙ มกราคม ๒๔๘๑


ได้มีการจับกุมบุคคลผู้คิดล้มล้าง รัฐบาล เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง ให้กลับไปสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ดังเดิม นายพันเอกพระยาทรงสุรเดชถูกกล่าวหาว่าเป็นหัวหน้าผู้ก่อการ และได้ให้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ต่อมารัฐบาลได้จัดตั้งศาลพิเศษขึ้นพิจารณา และได้ตัดสินประหารชีวิตหลายคน ผู้มีโทษถึงประหารชีวิตบางคน เช่น พ ร ะ เ จ้ า บ ร ม ว ง ศ์ เ ธ อ กรมขุนชัยนาทนเรนทร นายพลโทพระยาเทพหัสดิน นายพันเอกหลวงชานาญยุทธศิลป์ ได้รับการลดโทษเป็นจำคุกตลอดชีวิต เนื่องจากศาลเห็นว่าเป็นผู้ได้ทำคุณงามความดีให้แก่ประเทศชาติมาก่อน



**********************************************************************

รัฐประหาร ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐


คณะนายทหารกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมี พลโทผิน ชุณหะวัณ เป็นหัวหน้าสำคัญ ได้เข้ายึดอำนาจรัฐบาล ซึ่งมีพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ แล้วมอบให้นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี จัดตั้งรัฐบาลต่อไป ขณะเดียวกัน ได้แต่งตั้ง จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทย



**********************************************************************

กบฏแบ่งแยกดินแดน ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๑


จะมีการจับกุมสมาชิกสภาผู้แทนรา ษฏรของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหลายคน เช่น นายทิม ภูมิพัฒน์ นายถวิล อุดล นายเตียง ศิริขันธ์ นายฟอง สิทธิธรรม โดยกล่าวหาว่าร่วมกันดำเนินการฝึกอาวุธ เพื่อแบ่งแยกดินแดนภาคอีสานออกจากประเทศไทย แต่รัฐบาลไม่สามารถดำเนินการจับกุมได้ เนื่องจากสมาชิกผู้แทนราษฏรมีเอกสิทธิทางการเมือง

**********************************************************************



รัฐประหาร ๖ เมษายน ๒๔๙๑


คณะ นายทหารซึ่งทำรัฐประหารเมื่อ ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ บังคับให้นายควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แล้วมอบให้จอมพล ป. พิบูลสงคราม เข้าดำรงตำแหน่งต่อไป



**********************************************************************

กบฏเสนาธิการ ๑ ตุลาคม ๒๔๙๑



พลตรีสมบูรณ์ ศรานุชิต และพลตรีเนตร เขมะโยธิน เป็นหัวหน้าคณะนายทหารกลุ่มหนึ่ง วางแผนที่จะเข้ายึดอำนาจการปกครอง และปรับปรุงกองทัพจากความเสื่อมโทรม และได้ให้ทหารเข้าเล่นการเมืองต่อไป แต่รัฐบาลซึ่งมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ทราบแผนการ และจะกุมผู้คิดกบฏได้สำเร็จ



**********************************************************************

กบฏวังหลวง ๒๖ มิถุนายน ๒๔๙๒


นายปรีดี พนมยงค์ กับคณะนายทหารเรือ และพลเรือนกลุ่มหนึ่ง ได้นำกำลังเข้ายึดพระบรมมหาราชวัง และตั้งเป็นกองบัญชาการ ประกาศถอดถอน รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม และนายทหารผู้ใหญ่หลายนาย พลตรีสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยกาปราบปราม มีการสู้รบกันในพระนครอย่างรุนแรง รัฐบาลสามารถปราบฝ่ายก่อการกบฏได้สำเร็จ นายปรีดี พนมยงค์ ต้องหลบหนออกนอกประเทศอีกครั้งหนึ่ง



**********************************************************************

กบฏแมนฮัตตัน ๒๙ มิถุนายน ๒๔๙๔


นาวาตรีมนัส จารุภา ผู้บังคับการเรือรบหลวงสุโขทัยใช้ปืนจี้จอมพล ป. พิบูลสงคราม ไปกักขังไว้ในเรือรบศรีอยุธยา นาวาเอกอานน บุญฑริกธาดา หัวหน้าผู้ก่อการได้สั่งให้หน่วยทหารเรือมุ่งเข้าสู่พระนครเพื่อยึดอำนาจ และประกาศตั้งพระยาสารสาสน์ประพันธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี เกิดการสู้รบกันระหว่างทหารเรือ กับทหารอากาศ จอมพล ป. พิบูลสงคราม สามารถหลบหนีออกมาได้ และฝ่ายรัฐบาลได้ปรามปรามฝ่ายกบฏจนเป็นผลสำเร็จ



**********************************************************************

รัฐประหาร ๒๙ พฤศจิกายน ๒๔๙๔


จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ทำรัฐประหารยึดอำนาจตนเอง เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถควบคุมเสียงข้างมากในรัฐสภาได้ ต้องใช้วิธีการให้ตำแหน่งและผลประโยชน์ต่างๆ แก่บรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนอยู่เสมอ ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการที่รัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๔๙๒ ซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้น มีวิธีการที่เป็นประชาธิปไตยมากเกินไป จึงได้ล้มเลิกรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวเสีย พร้อมกับนำเอารัฐธรรมนูญฉบับลงวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕ มาใช้อีกครั้งหนึ่ง



**********************************************************************

กบฏสันติภาพ ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๗


นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ (ศรีบูรพา) และคณะถูกจับในข้อหากบฏ โดยรัฐบาลซึ่งขณะนั้นมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี เห็นว่าการรวมตัวกันเรี่ยไรเงิน และข้าวของไปแจกจ่ายแก่ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งขณะนั้นกำลังประสบกับความเดือดร้อน เนื่องจากความแห้งแล้งอย่างหนัก เป็นการดำเนินการที่เป็นภัยต่อรัฐบาล นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ กับคณะถูกศาลตัดสินจำคุก ๕ ปี



**********************************************************************

รัฐประหาร ๑๖ กันยายน ๒๕๐๐


จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นหัวหน้าคณะนายทหารนำกำลังเข้ายึดอำนาจของรัฐบาลซึ่งมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ภายหลังจากเกิดการเลือกตั้งสกปรก และรัฐบาลได้รับการคัดค้านจากประชาชนอย่างหนัก จอมพล ป. พิบูลสงคราม และพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ต้องหลบหนีออกไปนอกประเทศ



**********************************************************************

รัฐประหาร ๒๐ ตุลาคม ๒๕๐๑


เป็นการปฏิวัติเงียบอีกครั้งหนึ่ง โดยจอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ในขณะนั้น ลากออกจากตำแหน่ง ในขณะเดียวกันจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้น ได้ประกาศยึดอำนาจการปกครองประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากเกิดการขัดแย้งในพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล และมีการเรียกร้องผลประโยชน์หรือตำแหน่งหน้าที่ทางการเมือง เป็นเครื่องตอบแทนกันมาก คณะปฏิวัติได้ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยกเลิกพระราชบัญญัติพรรคการเมือง และให้สภาผู้แทน และคณะรัฐมนตรีสิ้นสุดลง



**********************************************************************

รัฐประหาร ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๔


จอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการทหารสูงสุด ทำการปฏิวัติตัวเอง ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยุบสภาผู้แทนราษฎร และจัดตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ขึ้นทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ และให้ร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายในระยะเวลา ๓ ปี



**********************************************************************

ปฏิวัติโดยประชาชน ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖


การเรียกร้องให้มีรัฐธรรมนูญของนิสิต นักศึกษา และประชาชนกลุ่มหนึ่งได้แผ่ขยายกลายเป็นพลังประชาชนจำนวนมาก จนเกิดการปะทะสู้รบกันระหว่างรัฐบาลกับประชาชน เป็นผลให้จอมพลถนอม กิตติขจร นายักรัฐมนตรี จอมพลประภาส จารุเสถียร และพันเอกณรงค์ กิตติขจร ต้องหลบหนีออกนอกประเทศ



**********************************************************************

ปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙


พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ และคณะนายทหารเข้ายึดอำนาจการปกครองประเทศ เนื่องจากเกิดการจลาจล และรัฐบาลพลเรือนในขณะนั้นยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้โดยทันที คณะปฏิวัติได้ประกาศให้มีการปฏิวัติการปกครอง และมอบให้นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี



**********************************************************************

กบฎ ๒๖ มีนาคม ๒๕๒๐   พลเอกฉลาด หิรัญศิริ และนายทหารกลุ่มหนึ่ง ได้นำกำลังทหารจากกองพลที่ ๙ จังหวัดกาญจนบุรี เข้ายึดสถานที่สำคัญ ๔ แห่ง คือ ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบกสวนรื่นฤดี กองบัญชาการกองพลที่ ๑ รักษาพระองค์ กองบัญชาการทหารสูงสุดส่วนหน้า สนามเสือป่า และกรมประชาสัมพันธ์ ฝ่ายทหารของรัฐบาลพลเรือน ภายใต้การนำของ พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลอากาศเอกกมล เดชะตุงคะ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และพลเอกเสริม ณ นคร ผู้บัญชาการทหารบก ได้ปราบปรามฝ่ายกบฏเป็นผลสำเร็จ พลเอกฉลาด หิรัญศิริ ถูกประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งอาศัยอำนาจตามมาตรา ๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๒๐
 


**********************************************************************

รัฐประหาร ๒๐ ตุลาคม ๒๕๒๐  พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ เป็นหัวหน้าคณะนายทหารเข้ายึดอำนาจของรัฐบาล ซึ่งมีนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากรัฐบาลได้รับความไม่พอใจจากประชาชน และสถานการณ์จะก่อให้เกิดการแตกแยกระหว่างข้าราชการมากยิ่งขึ้น ประกอบกับเห็นว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในการปฏิรูปการปกครอง ซึ่งมีระยะเวลาถึง ๑๒ ปีนั้นนานเกินไป สมควรให้มีการเลือกตั้งขึ้นโดยเร็ว


**********************************************************************

กบฎ ๑ เมษายน ๒๕๒๔


พล เอกสัณห์ จิตรปฏิมา ด้วยความสนับสนุนของคณะนายทหารหนุ่มโดยการนำของพันเอกมนูญ รูปขจร และพันเอกประจักษ์ สว่างจิตร ได้พยายามใช้กำลังทหารในบังคับบัญชาเข้ายึดอำนาจปกครองประเทศ ซึ่งมีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเกิดความแตกแยกในกองทัพบก แต่การปฏิวัติล้มเหลว ฝ่ายกบฏยอมจำนนและถูกควบคุมตัว พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา สามารถหลบหนีออกไปนอกประเทศได้ ต่อมารัฐบาลได้ออกกฏหมายนิรโทษกรรมแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องการกบฏในครั้งนี้

**********************************************************************



การก่อความไม่สงบ ๙ กันยายน ๒๕๒๘


 พัน เอกมนูญ รูปขจร นายทหารนอกประจำการ ได้นำกำลังทหาร และรถถังจาก ม.พัน ๔ ซึ่งเคยอยู่ใต้บังคับบัญชา และกำลังทหารอากาศโยธินบางส่วน ภายใต้การนำของนาวาอากาศโทมนัส รูปขจร เข้ายึดกองบัญชาการทหารสูงสุด และประกาศให้ พลเอกเสริม ณ นคร เป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองของประเทศ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ในขณะที่ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี และพลเอกอาทิตย์ กำลังเอก ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการทหารบก อยู่ในระหว่างการไปราชการต่างประเทศ กำลังทหารฝ่ายรัฐบาลโดยการนำของพลเอกเทียนชัย สิริสัมพันธ์ รองผู้บัญชากรทหารสูงสุด ได้รวมตัวกันต่อต้านและควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ในเวลาต่อมา พันเอกมนูญ รูปขจร และนาวาอากาศโทมนัส รูปขจร หลบหนีออกนอกประเทศ การก่อความไม่สงบในครั้งนี้มีอดีตนายทหารผู้ใหญ่หลายคน ตกเป็นผู้ต้องหาว่ามีส่วนร่วมอยู่ด้วย ได้แก่ พลเอกเสริม ณ นคร พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ พลอากาศเอกพะเนียง กานตรัตน์ พลเอกยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา และพลอากาศเอกอรุณ พร้อมเทพ รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด



**********************************************************************




รัฐประหาร ๒๓กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔


โดย คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติซึ่งประกอบด้วย ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ เจ้าหน้าที่-ตำรวจ และพลเรือน ภายใต้การนำของพลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด หัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ พลเอกสุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบก พลเรือเอกประพัฒน์ กฤษณ-จันทร์ ผู้บัญชาการทหารเรือ พลอากาศเกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศ พลตำรวจเอกสวัสดิ์ อมร-วิวัฒน์ อธิบดีกรมตำรวจ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ และพลเอกอสิระพงศ์ หนุนภักดี รองผู้บัญชาการทหารบก เลขาธิการคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองจากพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๒๑ ตั้งนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี



**********************************************************************




รัฐประหาร ๑๙กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙


รัฐ ประหาร ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นรัฐประหารในประเทศไทยซึ่งเกิดขึ้นในคืนวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ โดย คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ซึ่งมีพลเอก สนธิ บุญยรัตกลินเป็นหัวหน้าคณะ

และขณะ เดียวกัน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งได้ข่าวการรัฐประหารโดยได้พยายามติอต่อช่อง ๑๑ กรมประชาสัมพันธ์ เพื่อการออกโทรทัศน์ แต่เนื่องจากไม่ได้มีการเตรียมไว้จึงทำให้การออกโทรทัศน์ไม่ได้และมีการโฟน อินไปยังช่อง ๙ ประกาศใช้ พ.ร.ก สถานการณ์ฉุกเฉิน เฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ

ต่อ มาเมื่อมีการยึดพื้นที่ได้ทำให้ พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ได้ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี แล้วประกาศกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร รัฐประหารครั้งนี้เกิดขึ้นก่อนการเลือกตั้งทั่วไปซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นในเดือน ตุลาคม หลังจากที่การเลือกตั้งเดือนเมษายนถูกตัดสินให้เป็นโมฆะ นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่ดำเนินมายาวนานนับตั้งแต่ เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘

 รัฐประหารดังกล่าวไม่มีการเสีย เลือดเนื้อและไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ ปฏิกิริยาจากนานาชาติมีตั้งแต่การวิพากษ์วิจารณ์โดยประเทศ เช่น ออสเตรเลีย การแสดงความความเป็นกลาง เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน ไปจนถึงการแสดงความผิดหวังอย่างสหรัฐอเมริกาซึ่งถือว่าประเทศไทยเป็น พันธมิตรนอกนาโต และกล่าวว่าการก่อรัฐประหารนั้น "ไม่มีเหตุผลที่ยอมรับได้"

ภาย หลังรัฐประหาร คปค.ได้จัดตั้งรัฐบาลชั่วคราว โดยมี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อมาวันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศเลิกใช้กฎอัยการศึกใน ๔๑ จังหวัด รวมกรุงเทพฯ และปริมณฑล แต่ยังคงไว้ ๓๕ จังหวัด

เอกสารอ้างอิง : ศาสตราจารย์ ดร.ลิขิต ธีรเวคิน, "การเมืองการปกครองไทยของไทย", สำนัก พิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2543, 482 หน้า, วิกิพีเดีย รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549